จำนวนผู้เข้าชม
เคยตั้งข้อสังเกตกับผู้จัดการสถานีวิทยุสถานีหนึ่งว่า
รายการข่าว ที่ใช้ชื่อว่า เจาะข่าวเช้านี้ (ช่วงวิเคราะห์เจาะลึก)
ไม่น่าจะใช้คำว่าเจาะข่าว หรือเจาะลึก เพราะข่าวไม่ได้มีมิติของความลึกตรงไหนเลย เพียงโฟนอิน
กับข้าราชากรคนหนึ่ง เรื่องเศรษฐกิจ
แล้วก็อธิบายแบบกว้างๆ ผิวเผิน ไม่ต้องสัมภาษณ์ ก็ไม่ได้มีสาระสำคัญลึกซึ่งที่ชาวบ้านควรจะรู้มากกว่าที่เขาติดตามได้จากสื่ออื่นๆ
หลายวันถัดมา
วิเคราะห์เจาะลึก
ก็ยังฉาบฉวยอยู่กับการพูดคุยกับแขกรับเชิญ ไม่ได้มีเนื้อหาที่แสดงถึงการวิพากษ์
วิจารณ์ วิเคราะห์อะไรทั้งสิ้น
ก็คงเป็นเช่นเดียวกับรายการข่าว รายการวิเคราะห์ข่าว รายการเล่าข่าวทั้งหลาย ที่ต่างโฆษณาชวนเชื่อว่าลึกกว่าใคร
เด็ดกว่าใคร แต่ก็เหมือนๆกันไปหมด
เลวร้ายไปกว่านั้น บางสถานีก็ยังใช้พิธีกร ที่สะกดภาษาไทย ผิดๆ ถูกๆ มาอ่านข่าวธรรมดาๆนั้นด้วย
ยังไม่ต้องถึงกับวิเคราะห์
เจาะลึก เอาเพียงคุณค่าข่าว หรือ News Values พื้นๆเสียก่อน
อย่างน้อยก็พอได้เข้าใจว่าข่าวลึก ข่าวร้อน ข่าวเด็ด หรือข่าวดัง
ไม่ใช่แค่ภาพที่เห็น เสียงที่ได้ยิน เช่น เห็นผู้หญิงคนหนึ่งเดินมาบนถนน ก็ประกอบสร้างเรื่องราวเสียจนเป็นละครชีวิตเรื่องหนึ่ง
และข่าวเปิดงาน
ข่าวประชุมแถลง ข่าวเปิดตัวสินค้า รวมทั้งข่าวภัยธรรมชาติ ข่าวอุบัติเหตุ
อุบัติภัย ข่าวอาชญากรรม ยิง ชิงปล้น ฆ่า
ดีที่สุดก็เป็นข่าวร้อนๆที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แต่ไม่อาจเรียกได้แน่นอนว่า เป็นข่าวเด็ด
ข่าววิเคราะห์เจาะลึก
ในการบริหารข่าวของ “ลานนาโพสต์”
ครั้งหนึ่งมีข้อเสนอให้ Lead
ข่าวจับยาบ้า ล็อตใหญ่ ซึ่งมีการจับกุมได้ในเขตจังหวัดลำปาง
ต่อเนื่อง 2 ครั้งแล้ว คำถามก็คือถ้าเป็นการจับยาบ้า
ในระหว่างการขนส่งผ่านเขตจังหวัดลำปาง ไม่ได้มีความเกี่ยวโยงกับสถานที่
บุคคลที่มีชื่อเสียง หรือมีความสำคัญอย่างไร ข่าวนี้ก็เป็นข่าวธรรมดาๆเรื่องหนึ่ง
เป็นข่าวเล็กๆได้
ยกเว้นเนื้อหาข่าวไปเชื่อมโยงกับคนที่มีชื่อเสียง
มีความสำคัญ มีความเด่น หรือ Prominence เช่น มีการสืบค้นได้ถึงต้นตอของยาบ้า หรือมีดาราเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น
ในหลายกรณีที่ผ่านมา ที่ดารามีส่วนพัวพันกับยาเสพติด ประเด็นข่าวก็จะโฟกัสไปที่ตัวบุคคล
ซึ่งน่าสนใจมากกว่า การจับยาบ้า ไม่ว่าปริมาณจะมากน้อย เพียงใด
นอกจากความมีชื่อเสียงแล้ว
ความสดใหม่และทันเหตุการณ์ ก็มีคุณค่าที่ควรนำเสนอเช่นกัน เช่น
การรายงานการแข่งขันฟุตบอลโลก ที่รัสเซีย ข่าวการเจรจาสันติภาพระหว่างผู้นำสหรัฐอเมริกา
และเกาหลีเหนือ ความใกล้ขิด หรือ Proximity เช่น คนลำปางอาจสนใจเรื่องความทุกข์ร้อนของพระอธิการสุชาติ จนทสโร แห่งวัดเกาะ จากการเปิดตลาด “กาดกองต้า”
มากกว่าอยากจะรู้ว่าจะตามจับอดีตพระพรหมเมธีได้หรือไม่
ความใกล้ชิดในความหมายนี้
อาจหมายถึงความใกล้ชิดทั้งในเชิงกายภาพ คือสถานที่ตั้งของวัดเกาะ บริเวณกาดกองต้า
หรือทางความรู้สึก เมื่อพระไม่สามารถไปปฏิบัติกิจนิมนต์ตามปกติได้ ด้วยติดตลาดค้าขายของชาวบ้าน ก็อาจทำให้ชาวพุทธ
ที่นับถือศรัทธาพระ มีความรู้สึกว่าการทำมาหากินทางโลก
กำลังจะไปเบียดเบียนหน้าที่ทางธรรมของพระสงฆ์
ถามต่อไปว่า
ข่าวนั้นมีความต่อเนื่อง หรือส่งผลกระทบกระเทือนสิ่งใดหรือไม่ เช่น
การแถลงข่าวการจัดงาน ทั้งงานแสดงสินค้า งานประเพณีวัฒนธรรมพื้นถิ่นต่างๆ
ก็เป็นข่าวเชิงสังคม
ยิ่งอยู่ห่างไกลคำว่าวิเคราะห์ เจาะลึกอย่างยิ่ง
หลายครั้งเราจะเห็นข่าวประเภทนี้แทรกอยู่ในช่วงรายการข่าววิเคราะห์
เจาะลึกทางโทรทัศน์ เป็นโฆษณาแอบแฝง ที่ขัดต่อสัญญาใบอนุญาต กับ กสทช
ผู้บริโภคข่าวสาร
คงไม่ได้สนใจมากนักว่า รายการข่าวทั้งหลาย ที่มีเนื้อหาซ้ำๆกันนั้น
จะเรียกชื่อว่าอะไร แต่สำหรับบรรณาธิการ โปรดิวเซอร์ หรือผู้จัดรายการ
ผู้ประกาศข่าว ควรเริ่มตั้งคำถามตัวเองได้หรือไม่ว่า การย้ำคำว่าเป็นข่าวเจาะ
ข่าวลึก แต่กลับเป็นเรื่องผิวเผิน และไม่ได้มีแม้แต่คุณค่าข่าวพื้นฐานธรรมดาๆ
ถือเป็นโฆษณาเกินจริงหรือไม่
และควรจะต้องทำให้ถึงคำว่า
วิเคราะห์เจาะลึก ข่าวเด็ด ข่าวดัง
เพื่อไม่ให้คำเหล่านี้เสียราคา เอามาใช้ผิดที่ ผิดทาง และกลายเป็นคำสามัญที่เห็น
ที่ได้ยินดาษดื่น หาคุณค่าอันใดมิได้
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1183 วันที่ 15 - 21 มิถุนายน 2561)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น