![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgEb0LAFlpF1ELGJT8LPCa-4RGd5ef6xkNxT2jBOTrNB3K4hAZaWqerKxKu5epSqjXNUVXmSANeDRuoiwdrVe-G4VDRtIqioeKJ0jgNY6QKvUKx_0H3u1uLzGAkY5oxRioqhq8ei_5sAiA/s640/06.jpg)
ศาลปกครองสั่งเพิกถอนมติ
ก.ท.จ. และคืนตำแหน่งปลัด ท.เขลางค์
พร้อมเงินเดือนและเงินตำแหน่งย้อนหลังทั้งหมด ด้านนายกเทศมนตรี ยันตั้งคณะกรรมการสอบสวนถูกต้องตามกฎหมาย
ยื่นศาลอุทธรณ์ต่อ ลั่นคดียังไม่ถึงที่สุด
เมื่อวันที่
17 ส.ค.61
ศาลปกครองเชียงใหม่ได้มีการอ่านคำพิพากษาคดี หมายเลขดำที่ บ.-39/2558 หมายเลขแดงที่ บ.31/2561 ระหว่างนายอมร ทองประดิษฐ์ ผู้ฟ้องคดี นายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1
คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดลำปาง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยศาลมีคำพิพากษา
ให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องที่ 1
ตามคำสั่งเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ลับ ที่ 1/2558 เรื่อง ลงโทษไล่ออกจากราชการ ลงวันที่ 29 พ.ค.58 ที่ลงโทษให้ออกจากราชการ และมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ในการประชุมครั้งที่ 7/2558 เมื่อวันที่ 27 ก.ค.58
ที่มีมติยกอุทธรณ์
โดยให้มีผลย้อนหลังไปนับตั้งแต่วันที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ออกคำสั่ง และให้ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งเดิม
นับแต่วันที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการจนถึงวันที่ผู้ถูกฟ้องมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
ทั้งนี้ นายอมร ทองประดิษฐ์
อดีตปลัดเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ได้ยื่นฟ้องนายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร
และคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดลำปาง โดยขอให้ศาลพิจารณา 4
ข้อด้วยกัน คือ 1.เพิกถอนคำสั่งเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ลับ
ที่ 1/2558 เรื่อง
ลงโทษไล่ออกจากราชการ ลงวันที่ 29 พ.ค.58
และให้ผู้ถูกฟ้องที่ 1 และผู้ถูกฟ้องที่ 2
รับผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการในสังกัดเทศบาลเมืองเขลางค์นครตามตำแหน่งเดิม 2.เพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่
2 ตามรายงานการประชุมครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 58 ที่มีมติให้ลงโทษผู้ฟ้องคดี
โดยให้ไล่ออกจากราชการ 3.เพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องที่ 2 ตามรายงานการประชุมครั้งที่
7/2558 เมื่อวันที่ 28 ก.ค.58 (ที่ถูกต้องคือ เมื่อวันที่ 27 ก.ค.58) แจ้งตามหนังสือจังหวัดลำปาง บัล ที่ ลป0023.2/19550 ลงวันที่ 18 ส.ค.58 และ 4.ให้ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งเดิมนับแต่วันที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการจนถึงวันที่ผู้ถูกฟ้องคดี
มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการ
นอกจากนี้ทางนายอมร
ยังได้ยื่นคำขอให้ศาลทุเลาการบังคัตามคำสั่งเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ลับ ที่ 1/2558 เรื่อง ลงโทษไล่ออกจากราชการ ลงวันที่ 29 พ.ค.58 และมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2
ตามรายงานการประชุมครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 58 ที่มีมติให้ลงโทษผู้ฟ้องคดี
โดยให้ไล่ออกจากราชการ และให้ผู้ฟ้องดคีกลับเข้ารับราชการในสังกัดเทศบาลเมืองเขลางค์นครตามตำแหน่งเดิม
และได้รับเงินเดือนและรับเงินประจำตำแหน่งเดิมจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
และทุเลาการสรรหาและแต่งตั้งปลัดเทศบาลเมืองเขลางค์นครแทนตำแหน่งของผู้ฟ้องคดีในระหว่างการพิจารณาคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด แต่ประเด็นนี้ศาลมีคำสั่งไม่รับคำขอของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณา
ทั้งนี้
นายอมร ได้ยื่นฟ้องกรณีทางเทศบาลเมืองเขลางค์นครได้มีคำสั่งที่ 763/2556 ลงวันที่ 14 พ.ย.56 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย
กรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยเรื่องการเบิกจ่ายน้ำมันเกินที่ต้องใช้ในการปฏิบัติหน้าที่จริง
ส่อไปในทางทุจริต ทำให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ
ได้นำรถยนต์ของทางราชการอกใช้งานในระหว่างมีคำสั่งพักราการเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ
และแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลใบสั่งจ่ายน้ำมันที่ไม่สุจริต และไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เนื่องจากมีการแต่งตั้งตำแหน่งรองปลัดเทศบาล (นักบริหารงานเทศบาล 9) มีตำแหน่งต่ำกว่าปลัดเทศบาล มาเป็นประธานกรรมการสอบสวนวินัย
และแต่งตั้งพนักงานจ้างให้เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดลำปาง เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไงในการสอบสวน
การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 3 ม.ค.45 ต่อมาทาง
ก.ท.จ.ได้มีมติให้นายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร
แก้ไขคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย เฉพาะประธานกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
แต่ปรากฏว่านายกเทศมนตรีได้เร่งรัดให้สอบสวนวินัยโดยเร็ว ไม่แก้ไขคำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยตามมิต
ก.ท.จ.แต่อย่างใด และได้ยื่นให้ทาง
ก.ท.จ.ทบทวนมติให้แก้ไขคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยใหม่
เนื่องจากได้มีการสอบสวนวินัยผู้ฟ้องคดีเสร็จสิ้นแล้ว
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงทำให้การสอบสวนเสียไป
ส่งผลให้มติ ก.ท.จ. ที่เห็นชอบให้ไล่ออกจากทางราชการ
และคำสั่งของนายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์ที่ลงโทษให้ปลัดเทศบาลออกจากราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ด้านนายไพฑูรย์
โพธิ์ทอง นายกเทศมนตรีนครลำปาง กล่าวว่า
จะมีการยื่นอุทธรณ์อย่างแน่นอน ซึ่งเรื่องนี้ยังต้องผ่านอีก 2 ศาล ต้องยื่นไปให้ถึงศาลปกครองสูงสุดให้คดีถึงที่สุดก่อน
ประกอบกับมีระเบียบจากทางราชการกำหนดว่า
ถ้าเทศบาลมีการฟ้องร้องต่อศาลจะต้องยื่นอุทธรณ์ให้คดีถึงที่สุด ซึ่งในกรณีนี้ศาลได้ให้ความเห็นว่าเทศบาลได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยถูกต้องแล้ว นอกจากนั้นยังเคยมีการวินิจฉัยของศาลปกครองในคดีอื่นๆเป็นตัวอย่างว่า
แม้จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการไม่ถูกต้อง
แต่การคืนตำแหน่งไล่ออกนั้นไม่สามารถคืนได้ อย่างไรก็ตาม
ทางเทศบาลจะได้รวบรวมหลักฐานต่างๆยื่นอุทธรณ์ภายใน 30
วันตามกฎหมาย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น