วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561

สื่อกับความเป็นกลาง

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

จากสื่อมวลชน โดยไม่รู้ว่า ความเป็นกลางในสื่อมวลชนนั้น  ไม่มีอยู่จริง เพราะความเป็นกลางในวิชาชีพสื่อมวลชน มิใช่ความเป็นกลางในเชิงคณิตศาสตร์ คือการให้พื้นที่ในการเสนอข่าวเท่ากัน ภาพขนาดเท่ากัน แต่ความเป็นกลางที่แท้จริง คือ “ความไม่ลำเอียง” คือไม่มีจิตใจเอนเอียงไปทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเมื่อต้องทำหน้าที่บนพื้นที่สาธารณะ

ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีความเป็นกลางระหว่างขาว กับดำ ไม่มีความเป็นกลางระหว่างความดี ความชั่ว ดังนั้น สิ่งที่ควรต้องพิจารณาจึงเป็นเรื่องการแยกแยะบทบาทของสื่อมวลชนว่า จะทำหน้าที่ได้เที่ยงตรงเพียงใด แม้จะมีความคิด มีทัศนคติในทางส่วนตัวสนับสนุน นักการเมือง หรือพรรคการเมืองใดเป็นพิเศษ ในกรณีที่ต้องทำหน้าที่รายงานข่าวการเมือง

มีคำถามว่า สื่อจะดำรงความเที่ยงธรรม ในการเสนอข่าวการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งใหม่อย่างไร โดยเฉพาะสื่อที่แสดงตัวตนชัดเจนว่าอยู่ฝ่ายใด ในห้วงเวลาแห่งความขัดแย้งระหว่าง กลุ่มนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)หรือกลุ่มคนเสื้อแดง

เมื่อกลุ่มนายสุเทพ เทือกสุบรรณ สามารถสร้างเงื่อนไข ปูทางไปสู่การยึดอำนาจได้สำเร็จ  สื่อมวลชนที่ร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับนายสุเทพ ก็กลับไปทำหน้าที่ของพวกเขา ในสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ภาพ กปปส.หรือ  คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ติดไปอยู่ในภาพเหล่านั้น

ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่จะมีทัศนคติ มีความเชื่อ มีความศรัทธาในตัวบุคคล หรือพรรคการเมืองใด แม้กระทั่งความรู้สึกของความเป็นมนุษย์ที่จะไม่ชอบแหล่งข่าวคนใด คนหนึ่ง แต่พวกเขาจะแสดงออกซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ เช่น ยั่วยุให้คนเกลียดฝ่ายที่เขาไม่ชอบ หรือใช้เฮดสปีชกับอีกฝ่ายหนึ่ง ในยามที่เขากำลังทำหน้าที่สื่อมวลชน

ไม่เพียงการเมืองระดับชาติ แม้แต่ในระดับท้องถิ่น สื่อมวลชนก็ควรวางตนอย่างเหมาะสม ไม่ลำเอียงหรือแสดงออกว่าสนับสนุนนักการเมืองฝ่ายใด และยิ่งไม่ชอบด้วยหลักการในการทำหน้าที่บนพื้นที่สาธารณะยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อเข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองกับนักการเมือง แล้วใช้อคติรายงานข่าว

ในทางทฤษฏี การที่สื่อมีวาระแฝงเร้น เช่น อคติส่วนตัวต่อบุคคล ต่อปรากฏการณ์ใด แล้วเสนอข่าวซ้ำๆ แสดงความเห็นซ้ำๆ เพาะเชื้อแห่งความเกลียดชังด้วยการทำซ้ำ โดยที่ผู้รับสารไม่สามารถแยกแยะได้ เพราะเป็นการเสนอข่าวฝ่ายเดียว ไม่ได้ยึดหลักการการเสนอข่าวบนข้อเท็จจริง อย่างครบถ้วน และรอบด้าน ก็จะมีผลกระทบต่อสังคม หรือให้ผลร้ายต่อสังคม ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า การเสนอข่าวเท็จ ข่าวปลอม

ทฤษฎีเข็มฉีดยา หรือ hypodermic needle or bullet theory อธิบายผลกระทบของสื่อ บทบาทของสื่อที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร คือเมื่อฉีดยา หรือให้ข่าวสาร แก่ผู้รับสาร  ผู้รับก็จะมีทัศนคติและพฤติกรรมตามที่ผู้ฉีดกำหนด ทฤษฎีนี้เชื่อว่า สื่อมีอิทธิพลอย่างสูงต่อผู้รับสารแต่ละราย

ดังนั้น ความเป็นกลางจึงเป็นเพียง วาทกรรมที่สะท้อนภาพอันบิดเบี้ยวของสื่อมวลชน และสะท้อนมิติการมองของสังคมเลือกข้างที่เห็นว่า เมื่อสื่ออยู่ตรงข้าม หรือมีเนื้อหาในการนำเสนอไม่สอดคล้องกับความพึงพอใจของตัวเอง สื่อนั้นย่อมไม่เป็นกลาง


(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1195 วันที่ 7 - 13 กันยายน 2561)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์