จำนวนผู้เข้าชม
อุทธรณ์กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คุก 5 ปีไม่รอลงอาญา ‘นรินทร์’อดีตนายกฯเทศบาลนครลำปาง
คดีละเว้น ทุจริตซื้อบ่อขยะบ้านกล้วยแพะ พ่วงอีก 9 ข้าราชการ
3 ชาวบ้าน รับโทษคุก 5 - 20 ปี
ส่งเข้าเรือนจำ จำเลยฎีกาต่อ รอศาลฎีกาสั่งประกัน
เมื่อวันที่
30 ต.ค.61 ศาลจังหวัดลำปาง
ได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ภาค 5
คดีพนักงานอัยการยื่นฟ้อง นายนรินทร์ มโนกูลอนันต์ อดีตนายกเทศมนตรีนครลำปาง
จำเลยที่ 1
พร้อมพวกรวม 14 คน ประกอบด้วย นายวินัย ภู่งาม
อดีตปลัดเทศบาล จำเลยที่ 2 , นางรัศมีไข่มุก
พร้อมเพียง อดีต ผอ.กองคลัง จำเลยที่ 3 , นายสมบูรณ์
เกตุศิระ อดีตผู้อำนวยการกองอนามัย จำเลยที่ 4 , ร้อยเอกกิตตินันท์ นิวาศะบุตร อดีตหัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข
จำเลยที่ 5 , นายจำเนียร
ทองกระสัน อดีตผู้อำนวยการส่วนควบคุมอาคาร จำเลยที่ 6 , นายชาตรี คำลือ อดีตเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน จำเลยที่ 7 , นายเฉลิม แก้วกระจ่าง อดีตรองปลัดเทศบาล
จำเลย 8 , นางวัชรี
จินดามัง อดีตหัวหน้างานพัสดุและทรัพย์สินจำเลย 9 , นายสุวิทย์ ศิริไกรวัฒนาวงศ์
จำเลย 10 , นายสุทธิพันธ์
รัตนรังสรรค์ จำเลย 11 , นายศุภกิจ หอมแก่นจันทร์ จำเลย 12 ,
นายสุพรรณ นันต๊ะภาพ จำเลย 13
และ นายลาด อินนันชัย จำเลย 14 กรณีการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะ
บริเวณบ้านกล้วยแพะ อ.เมืองลำปาง
มีราคาสูงกว่าราคาจริงที่ชาวบ้านขายและราคาประเมิน
ในข้อหา
เป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและเป็นเจ้าหน้าที่เข้าหน้าที่ซื่อ
ทำจัดการหรือรักษาทรัพย์ใดๆใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียแก่รัฐ
เทศบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น
เดิมในคดีนี้
เมื่อปี 2560 ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้ นางรัศมีไข่มุก พร้อมเพรียง จำเลยที่ 3 มีโทษจำคุก 10 ปี และนายศุภกิจ หอมแก่นจันทร์
จำเลยที่ 12
รับโทษจำคุก 2 ใน 3 คือ 7 ปี ส่วนจำเลยที่เหลือยกฟ้องทั้งหมด
แต่ทางฝ่ายโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คดี
โดยศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืน
จำเลยที่ 2 และ จำเลยที่ 3 คือ ยกฟ้อง นายวินัย ภู่งาม
อดีตปลัดเทศบาล ส่วนนางรัศมีไข่มุก
พร้อมเพรียง อดีต ผอ.กองคลัง มีโทษจำคุก 10 ปี
และกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
ให้บุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกอบด้วย จำเลยที่ 1 และ 4
5
6 7 8 9 10
11 มีโทษจำคุกกรรมละ 5 ปี โดยไม่รอลงอาญา ส่วนจำเลยที่ 12 13 14
ซึ่งเป็นชาวบ้าน ได้รับโทษจำคุก 2 ใน 3 คือ กรรมละ 3 ปี 4 เดือน ส่วนจำเลยที่ 5
ไม่ได้เดินทางมาฟังคำตัดสินจึงถือว่าหนีศาล
แหล่งข่าวระบุว่า
สำหรับการจัดซื้อที่ดินดังกล่าว มีการจัดซื้อถึง 4 ครั้ง จึงได้มีการยื่นฟ้อง 4
สำนวน และภายหลังได้รวมเป็นสำนวนเดียว
แต่การตัดสินคดีได้ดูเป็นรายสำนวนไปเนื่องจากแต่ละคนไม่ได้ถูกฟ้องทุนสำนวน เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ
โทษของแต่ละคนจึงไม่เท่ากัน โดยนายนรินทร์ มโนกูลอนันต์ อดีตนายกเทศมนตรี มีชื่อเป็นคณะกรรมการในการจัดซื้อที่ดินครั้งที่
4 เพียงครั้งเดียว จึงได้รับโทษจำคุก
5 ปี
ส่วนนางรัศมีไข่มุก พร้อมเพรียง อดีต ผอ.กองคลัง มีชื่อในการจัดซื้อที่ดินจำนวน 2 ครั้ง จึงมีโทษจำคุก 10 ปี นายจำเนียร ทองกระสัน อดีตหัวหน้าฝ่ายโยธา
มีชื่อในการจัดซื้อถึง 4 ครั้ง มีโทษจำคุก 20 ปี นายเฉลิม แก้วกระจ่าง
อดีตปลัดเทศบาล มีชื่อ 1 ครั้ง โทษจำคุก 5 ปี นางวัชรี จินดามัง อดีตหัวหน้างานพัสดุและทรัพย์สิน มีชื่อ 2 ครั้ง โทษจำคุก 10 ปี เป็นต้น ส่วนชาวบ้าน 3 ราย คือนายศุภกิจ หอมแก่นจันทร์ นายสุพรรณ นันตะภาพ และนายลาด อินนันชัย ซึ่งมีรายชื่อร่วมการจัดซื้อทั้งหมด 4 ครั้ง จะต้องโทษจำคุกคนละ
13 ปี 4 เดือน
หลังจากศาลอ่านคำพิพากษาแล้ว
ทางทนายฝ่ายจำเลยทั้งหมดได้ยื่นเรื่องขอปล่อยตัวชั่วคราวในทันที
แต่เนื่องจากต้องศาลฎีกาสั่งปล่อยตัว จึงดำเนินการไม่ทันในวันดังกล่าว ต้องนำตัวจำเลยทั้ง 12 คน
ฝากขังเรือนจำกลางลำปาง ซึ่งจากการสอบถาม
ในวันที่ 1 พ.ย.61 ทั้งหมดยังไม่ได้รับการปล่อยตัวแต่อย่างใด ขณะที่นายศุภกิจ หอมแก่นจันทร์ จำเลยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่ง สท.เมืองเขลางค์นครอยู่ในปัจจุบัน ต้องพ้นสภาพในทันที
เรื่องเดิม
ในปี 2539
เทศบาลเมืองลำปาง ในขณะนั้น ได้เกิดวิกฤตปัญหาเรื่องบ่อขยะที่บริเวณบ้านแพะหนองแดง
ต.ต้นธงชัย ทางไป อ.แจ้ห่ม ประมาณ 20
ไร่
เนื่องจากชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงไม่ยินยอมให้ทางเทศบาลนำขยะไปทิ้งต่อไป
เพราะบ่อขยะใช้มา 10 กว่าปี เต็มและส่งกลิ่นเหม็น ทางเทศบาลจึงต้องแก้ปัญหาโดยขอใช้ที่ดินของสุขาภิบาล
ต.ชมพู
ตรงข้ามหมู่บ้านล้านนาคันทรีปาร์ค บ้านห้วยหลอ ถ.ลำปาง-แม่ทะ และได้มีการนำขยะไปทิ้งระยะหนึ่ง ปรากฏว่าขยะเต็มอีก
ทำให้มีปัญหาการจัดเก็บขยะของเทศบาล
ดังนั้น นายเรือง เขื่อนแก้ว ซึ่งเป็นนายกเทศบาลเมืองลำปางขณะนั้น จึงแก้ปัญหาด้วยการประกาศจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะ ซึ่งมีผู้เสนอขายที่ดินมาหลายราย
ต่อมาทางเทศบาลได้มีการสำรวจความเหมาะสมของที่ดินร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค
10 เชียงใหม่ ซึ่งทางสำนักงานสิ่งแวดล้อมฯ
ได้มีความเห็นว่าพื้นที่ทิ้งขยะบริเวณ ต.กล้วยแพะ(ในปัจจุบัน) เป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุด
เนื่องจากเป็นพื้นที่ไกลจากชุมชน
เป็นพื้นที่ป่าและมีกรรมสิทธิ์ที่ดิน
อีกทั้งยังไม่ไกลจากตัวเทศบาลเมืองลำปางมากนักทำให้สะดวกในการขนย้ายขยะ
ต่อมาทางชาวบ้านเจ้าของที่ดินบริเวณดังกล่าว
ซึ่งมีจำนวน 100
กว่าราย ได้รวมตัวกันมอบอำนาจให้นายศุภกิจ หอมแก่นจันทร์
มาเป็นตัวแทนเจรจาเสนอราคาที่ดินกับเทศบาลฯ แต่ทางเทศบาลฯได้แจ้งว่าให้เรียกเจ้าของที่ดินมาซื้อขายโดยตรงกับเทศบาล
แต่ปรากฏว่าทางเจ้าของที่ดินเหล่านั้น ยืนยันที่จะมอบอำนาจให้นายศุภกิจ
เป็นตัวแทน
ดังนั้นทางเทศบาลฯจึงได้มีการหารือกับฝ่ายกฎหมาย เช่น อัยการ และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
(สตง.) ซึ่งได้ยืนยันมาว่าวิธีการมอบอำนาจของชาวบ้านนั้นไม่ผิดระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการหลายชุดเช่น
กรรมการต่อรองราคา ,กรรมการตรวจรับพื้นที่
,กรรมการตรวจสอบความเหมาะสม ฯลฯ
มีการซื้อขายและจ่ายเงินค่าที่ดินในปี 2540 แต่ปัญหาพื้นที่ทิ้งขยะยังไม่หมดเพราะต้องมีการปรับปรุงสถานที่ทางเข้าออกให้สะดวกมากขึ้น
จึงมีการจัดซื้อที่ดินเพิ่มใกล้เคียงกับพื้นที่เดิมถึง 3 ครั้ง
ในสมัยนายนรินทร์ มโนกูลอนันต์ เป็นนายกเทศมนตรีด้วย ปรากฏว่า หลังจากซื้อที่ดินเสร็จสิ้นแล้ว
ได้มีบัตรสนเท่ห์ไปร้องกับ สตง.ว่า การซื้อที่ดินดังกล่าวมีราคาสูงกว่าราคาจริงที่ชาวบ้านขายและราคาประเมินจากธนาคารของรัฐไปประมาณ
30,000 บาทต่อไร่ ทาง สตง.จึงได้มีการตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมดพบว่ามีมูลตามที่ได้รับร้องเรียนและได้มีการดำเนินการตามขั้นตอน
จนกระทั่งมีคำวินิจฉัยให้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดคืนเงินส่วนต่างประมาณ 20
ล้านบาท จากนั้นได้ส่งเรื่องนี้ไปยัง ป.ป.ช. ซึ่ง ป.ป.ช.ได้มีการวินิจฉัยปรับเป็นข้อกฎหมายและได้ชี้มูลความผิด
ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด ได้กระทำผิดในกฎหมายอาญามาตรา 157 ผิดระเบียบจัดซื้อจัดจ้างและเป็นเจ้าพนักงานหาประโยชน์ และให้ทางเทศบาลดำเนินการทางวินัยกับผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดอีกครั้ง
ก่อนที่พนักงานอัยการจะยื่นฟ้องต่อศาล และมีการพิพากษาคดีดังกล่าว
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1203 วันที่ 2 - 8 พฤศจิกายน 2561)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น