วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เสนอย้ายสนามบิน ไม่อยากย้านบ้าน

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

กรมท่าอากาศยาน จัดรับฟังความคิดเห็น ขยายสนามบินลำปาง ชาวบ้านใกล้เคียงตบเท้าเข้าร่วมเวที ขณะที่คนเฒ่าคนแก่หวั่นได้ย้ายที่อยู่ใหม่ อาศัยมานานหลายสิบปี เสนอขอให้หาที่ดินแห่งใหม่เพื่อสร้างสนามบิน

เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 61 ที่ห้องประชุมบุญชูตรีทอง โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย นายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการ จ.ลำปาง เป็นประธานเปิดประชุมปฐมนิเทศโครงการศึกษารายระเอียดการขอเปลี่ยนแปลงโครงการในรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาท่าอากาศยานลำปาง มูลค่า 3 พันล้านบาท   เนื่องจากท่าอากาศยาน จ.ลำปาง ในช่วงปี 2552-2560 มีแนวโน้มของกิจกรรมในด้านการบินเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยปี  2552 มีจำนวนผู้โดยสารจำนวน 36,268 คน  และมีเที่ยวบินจำนวน 1,145 เที่ยวบินต่อปี ล่าสุดปี 2560 มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 277,090 คน และมีเที่ยวบินจำนวน 4,623 เที่ยวบินต่อปี และคาดการณ์ว่าในปี 2568 นี้ จะมีผู้โดยที่มาใช้บริการเพิ่มสูงขึ้นถึง 509,482 คน ดังนั้น  เพื่อเพิ่มศักยภาพของท่าอากาศยานลำปางให้เพียงพอต่อการรองรับผู้โดยสารที่จะมาใช้บริการ จึงมีความจำเป็นต้องขยายความยาวระยะทางวิ่งจากเดิม 30 คูณ 1,975 เมตร เป็น 45 คูณ 2,500 เมตร ซึ่งมีการจำเป็นต้องจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม เพื่อก่อสร้างอาการผู้โดยสารแห่งใหม่ พร้อมทั้งส่วนประกอบอื่นๆ รวมถึงถนนทางเข้าออกท่าอากาศยานแห่งใหม่  จัดหาที่ดินเพื่อทดแทนอ่างเก็บน้ำดิบของการประปาภูมิภาคเดิมที่จะอยู่ในเขตท่าอากาศยาน และก่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยโดยรอบทางวิ่งให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และการปรับปรุงขยายทางวิ่งต้องจัดทำรายงายการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ซึ่งจะต้องทำการประเมินผลกระทบ เพื่อนำเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คณะกรรมพิจารณาประเมินผลและพิจารณาความเห็นชอบต่อไป

โดยการดำเนินการมีทางเลือก 3 ทาง  คือ แนวทางเลือกที่ 1 คงขนาดทางวิ่งไว้ที่ 1,975x30 เมตร ข้อดี คือ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบด้านเสียงหรือข้อร้องเรียนจากชุมชนเพิ่มขึ้นกว่าในปัจจุบัน ข้อเสียคือ ไม่สามารถรองรับอากาศขนาด 180 ที่นั่งได้ มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุของท่าอากาศยานเพราะสนามบินไม่ได้ปรับปรุง  แนวทางเลือกที่ 2 ขยายขนาดทางวิ่งเป็น 2,100x 45 เมตร ข้อดีคือ สร้างโอกาสในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดลำปาง และสามารถรองรับอากาศยานขนาด 180 ที่นั่งและจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มมากขึ้นได้ ข้อเสีย คือ อาจส่งผลกระทบด้านเสียงต่อชุมชนใกล้เคียงสนามบินเพิ่มขึ้น ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอากาศยานใหญ่ขึ้น    และแนวทางเลือกที่ 3 ขยายขนาดของทางวิ่งเป็น 2,500 x 45 เมตร ข้อดี คือ สร้างโอกาสในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดลำปางได้ดีกว่าทางเลือกที่ 2 สามารถรองรับอากาศยานขนาด 180 ที่นั่ง และจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มมากขึ้นได้มากกว่าทางเลือกที่ 2 ข้อเสีย คือ อาจส่งผลกระทบด้านเสียงต่อชุมชนใกล้เคียงสนามบินเพิ่มขึ้น ในกรณีที่มีการเปลี่ยนขนาดอากาศยานให้ใหญ่ขึ้นและเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน โดยจะมีผลกระทบด้านเสียงในระดับที่ต่ำกว่าทางเลือกที่ 2 เนื่องจากมีความยาวเพิ่มมากขึ้น แต่จำเป็นต้องซื้อที่ดินโดยรอบสนามบินเพิ่มเติม ประมาณ 530 ไร่

 โดยการปฐมนิเทศในครั้งในที่ 1 นี้ จะเป็นการประชาสัมพันธ์ชี้แจงข้อมูลของโครงการให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องให้รับทราบและร่วมแสดงความคิดเห็นในภาพรวม แนวทางเลือก และมาตรการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งท่าอากาศยาน จ.ลำปาง จึงมีความจำเป็นต้องว่าจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาศึกษาผลกระทบทั้งในด้านทรัพยากรทางกายภาพ ทรัพยากรทางชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ คุณภาพชีวิต ผลกระทบจากการศึกษาการขยายพื้นที่ท่าอากาศยาน มาตรการป้องกันด้านสิ่งแวดล้อมและแผนการติดตามตรวจสอบกับสิ่งแวดล้อม เป็นระยะเวลา 300 วัน  

ซึ่งการจัดโครงการปฐมนิเทศดังกล่าว ได้มีประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากการขยายท่าอากาศยานลำปางโดยรอบสนามบิน ตลอดถึงประชาชนที่มาบ้านเรือนอยู่ในรัศมี 5 กม.มาเข้าร่วมรับฟังการความคิดเห็นกว่า 200 คน โดยส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้านที่จะต้องถูกเวนคืนที่ดินไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาท่าอากาศยานที่ทันสมัย สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่อย่างเครื่องโบอิ้ง 737 ได้ เพื่อรองรับผู้โดยสารในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยประชาชนส่วนใหญ่ที่จะได้รับผลกระทบต่างลุงขึ้นแสดงความคิดเห็นในหลายรูปแบบ โดยสรุป คือ ไม่ต้องการให้ทางท่าอากาศยานลำปางปรับปรุงหรือก่อสร้างท่าอากาศยานอีกต่อไป เนื่องจากทุกคนจะต้องมีปัญหาเพราะต้องไปหาที่อยู่แห่งใหม่ ซึ่งจะไม่เหมือนที่ ที่อยู่ปัจจุบันถึงแม้ว่าทางท่าอากาศยานจะให้เงินชดเชยค่าที่ดินสูงถึง 3 เท่าครึ่งของราคาประเมินจากกรมที่ดิน พร้อมทั้งเสนอให้ทางท่าอากาศยานไปหาที่ดินแห่งใหม่เพื่อก่อสร้างสนามบินต่อไป

ทั้งนี้ ช่วงเดือน มกราคม 2562 จะจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 เพื่อนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อวิตกกังวลที่ได้มาปรับปรุงมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อไป 

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1203 วันที่ 2 - 8 พฤศจิกายน 2561)
Share:

1 ความคิดเห็น:

  1. 1 เห็นด้วยกับการย้ายสนามบินไปสร้างที่แห่งใหม่เพื่อรองรับสายการบินที่มากกว่าในอนาคต และเป็นจุดศูนย์รวมการขนส่งของภาคเหนือซึ่งกระจายออกไปได้หลายจังหวัด
    2 หากเข้าไปดูในกรูเกิลแมปในภาพกว้างๆ จะเห็นว่าสนามบินถูกล้อมรอบด้วยชุมชนซึ่งอนาคตจะขยายอีกได้ยาก

    ตอบลบ

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์