
“จะลอยใจ
หรือลอยกระทง อย่าหลงทางนะพี่” วลีลอยๆ ชวนให้คิดถึง วลี เสี่ยวๆ แต่โดน
ใจใครหลายคน ในช่วงเทศกาลลอยกระทงของทุกปี
สีสันของการลอยกระทงเล็ก
กระทงใหญ่ เป็นเหมืองดวงไฟที่ล่อแมลงให้ไปเล่นกับแสง ที่จังหวัดลำปางก็มีการประกวดสะเปาลอยน้ำ เป็นอัตลักษณ์ของประเพณีท้องถิ่น และเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวได้
ไม่ว่าจะ
มีนักท่องเที่ยว จากต่างถิ่นมาหรือไม่ ก็ไม่ทีผลกับความอยากจะออกมาลอยกระทงของคนท้องถิ่น
แต่งานท่องเที่ยว มาเกี่ยวข้องก็ตอนยุคหลังๆที่เกิดการเชื่อมโยงเรื่องราวของงานลอยกระทงให้
คนภายนอกมาเที่ยวชมประเพณีท้องถิ่น นำรายได้มาจับจ่าย ให้คนท้องถิ่นบ้างก็เท่านั้น
ย้อนกลับไปเมื่อสมัยเด็กๆ(ก็ราวๆ20ปีก่อน)
ยังจำได้เมื่อถึงเทศกาลลอยกระทงจะอยากออกไปดูขบวนรถกระทง ที่หลายภาคส่วนร่วมกันจัดขึ้น
จะว่าไปแล้วการประกวดกระทงหรือสะเปาก็ถือเป็นกิจกรรมที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างความ
สามัคคี ของแต่ละหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา ชุมชน เพราะเป็นการเอาความสามารถของคนในองค์กรมาออกกันความคิด
ร่วมแรงรวมใจกันตกแต่งรถกระทงออกมาแห่มาโชว์แล้วเอาให้ประชาชนที่มาคอยดูขบวนแห่ได้ชื่นชม
แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่า
การประกวดขบวนสะเปาทั้งใหญ่และเล็ก ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธุรกิจไปเสียแล้ว เพราะต้องเอางบประมาณไปจ้างออแกไนซ์มาช่วยออกแบบ
ตกแต่งรถกระทงและขบวน ชิงรางวัล ว่ากันว่า
ค่าจ้างหลายหมื่น บางขบวนตกแต่งด้วยโฟมแกะสลักเกือบทั้งคัน เหยียบหลักแสนก็มี ภาพบรรยากาศที่เคยเห็นครูศิลป์ออกแบบ
นักเรียน นักศึกษาช่วยกันประกอบสะเปาแทบไม่มีให้เห็นกันอีกแล้ว
จะเห็นก็แต่ร้านรับจ้างรับงานกันมือขวิด
เพื่อ... รางวัล..
และชื่อเสียง..ขององค์กร
การทำขบวนกระทงลักษณะนี้
อาจเรียกได้ว่ามิใช่เป็นแนวทางการมีส่วนร่วมที่แท้จริง คนในองค์กร หรือท้องถิ่นนั้น.. จะสำคัญอะไร ในเมื่อ
"ใช้เงิน" จ้างคนนอกสร้างเบ็ดเสร็จแล้ว
งบประมาณหลวงที่เคยแจกจ่ายลงไปช่วยชุมชน
ทำรถขบวน กลายเป็นงบฯที่ลอยไป แบบ "หลงทาง"
ถ้าจะให้ดี
เจ้าภาพงบฯ ควรจะจัดระเบียบนโยบายกันใหม่ ให้ใช้เงินกระจายไปอย่างสร้างสรรค์ เทศกาลลอยกระทง
ก็เห็นจะมีส่วนในการการวัดความเข้มแข็ง ของท้องถิ่นนั้น.. อย่างมีนัยสำคัญ ที่ต้องทบทวน
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1206 วันที่ 23 - 29 พฤศจิกายน 2561)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น