
ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี
2560 กำหนดให้การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นระบบเลือกตั้งแบบ
“จัดสรรปันส่วนผสม” ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการเลือกตั้งที่มีบัตรเลือกตั้งใบเดียว
ประชาชนไม่สามารถแยกเลือกคนที่ชอบและพรรคที่ต้องการให้เป็นรัฐบาล และมีการปรับสัดส่วน
ส.ส. ในทั้ง 2 ระบบใหม่
จากเดิมปี 2554 มี ส.ส. เขต 375 คน และบัญชีรายชื่อ 125 คน แต่ปี 2562 ส.ส. เขตลดลงเหลือ 350 คน และเพิ่มบัญชีรายชื่อเป็น
150 คน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็ทำให้ พรรคการเมืองจะต้องลงสมัครในทุกเขตเพื่อรวบรวมเสียงให้ได้เก้าอี้ที่นั่งในรัฐสภา
จากข้อมูลทางสำนักทะเบียนกลาง
กรมปกครอง กระทรวงมหาดไทย อ้างข้อมูล ณ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมาให้ข้อมูลว่าจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
2562 มีประมาณ 51,564,284 คน หนึ่งในคะแนนเสียงที่มีอิทธิพลต่อการเมืองไทย
คือเสียงของคนรุ่นใหม่ผู้ไม่เคยสัมผัสสนามการเมืองมาก่อน
พลังที่ไม่ควรถูกลืม
นายฐิติพล ทศรฐ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดลำปาง
กล่าวว่าคนรุ่นใหม่จะกลายเป็นพลังสำคัญที่สร้างสีสันให้การเลือกตั้งครั้งนี้ ด้วยคนรุ่นใหม่ไม่ได้มีความผูกพันกับนักการเมืองรุ่นคนรุ่นเก่าเลย
บุญคุณก็ไม่ได้มีต่อกัน เพราะไม่ได้สัมผัสอะไรเลยตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อถึงเวลาที่ต้องลงคะแนนเสียงจริงจะตัดสินใจเลือกใคร เยาวชนทั่วประเทศกว่า
5 ล้านกว่าคน หากคิดง่าย ๆ 5 ล้านเสียงหารด้วย
7-8 หมื่น จะได้ส.ส.กว่า
50 คนที่เลือกโดยคนรุ่นใหม่ ทุกคะแนนจึงมีความสำคัญ ยิ่งคนรุ่นใหม่ไม่ได้เลือกเพราะคิดว่าครั้งที่แล้วใครเคยเป็น
ยิ่งน่าสนใจ
นักวิชาการชี้
นายภูมินทร์ บุตรอินทร์
ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์ลำปาง กล่าวว่าการเมืองในลำปางนั้น ฐานเดิมยังมีอิทธิพลอยู่มาก
คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยกล้าที่จะมาแข่งกับนักการเมือง อย่างพรรคใหม่ทาบทามผู้สมัครมาแข่งก็ยังยาก
แต่สำหรับการลงคะแนนเสียงที่สมัยก่อนผู้นำครอบครัวจะเป็นคนบอกให้สมาชิกเลือกตามหัวคะแนน
รูปแบบก็จะเปลี่ยนไป เด็กรุ่นใหม่ไม่ใช่แบบนั้นแล้ว เขามีความคิดเป็นของตัวเอง คนรุ่นใหม่เกิดมากับการไม่มีประชาธิปไตยเลยด้วยซ้ำในระยะที่ผ่านมา
พวกเขาเห็นความวุ่นวายทางการเมืองมาตลอด หลังรัฐประหารก็เห็นปัญหาตามมา ทำให้คนรุ่นใหม่พร้อมจะเลือกตั้ง
และเด็กรุ่นใหม่เติบโตมาพร้อมกับสื่อไม่โดนจำกัดการเข้าถึง รัฐไม่สามารถปกปิดข่าวสารได้ทำให้เขาค่อนข้างมีอิสระที่จะเลือกนักการเมืองด้วยตัวเอง
เสียงที่ว่าสส.ลำปางไม่ควรเมิน
นายยามารุดดิน ทรงศิริ
ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)
ศูนย์ลำปาง กล่าวว่า โดยส่วนใหญ่นักศึกษาในมธ.ลำปางเองไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเมืองท้องถิ่นลำปางกันสักเท่าไร
แต่จะคอยติดตามการเมืองในระดับประเทศมากกว่ามากกว่า ซึ่งสิ่งที่จะทำให้นักศึกษาให้ความสนใจ
คือ วิธีการสื่อสารของพรรคที่สามารถแสดงให้เห็นภาพนโยบายต่างๆได้ชัด ผ่านการใช้สื่อต่างๆ
ด้วยนักศึกษาไม่ผูกติดกับพรรคไหน ใช้ตรรกะพื้นฐานเลยว่าจะเสนออะไรให้ได้บ้าง คนรุ่นใหม่จึงมักเลือกจากนโยบายที่แต่ละพรรคเสนอ
แต่ค่านิยมที่มักมีร่วมกันคือ ต้องการความสดใหม่
นายยามารุดดิน กล่าวต่อว่า
สิ่งหนึ่งที่หลายพรรคการเมืองในลำปางมักมองข้าม คือ นักศึกษาส่วนหนึ่งซึ่งมีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดจะเป็นต้องย้ายทะเบียนบ้านเข้าสู่จังหวัดลำปางเพื่อสิทธิเรื่องสวัสดิการนักศึกษา
เท่ากับว่าพวกเขาเป็นคนลำปางเช่นเดียวกัน นักศึกษามธ.ลำปางที่อาศัยอยู่ในภูมิศาสตร์ที่มีป่าล้อมรอบ จึงมักมองหาหน่วยงานที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัย
และสิ่งอำนวยความสะดวก หากพรรคการเมืองเข้ามาเสนอผลประโยชน์ให้กับนักศึกษาว่าจะช่วยพัฒนาเรื่องดังกล่าวก็จะเรียกความสนใจจากนักศึกษาได้มาก
นโยบายที่คนรุ่นใหม่ต้องการ
นายธรากร แก้วคำปัน ประธานสภานักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฎจังหวัดลำปาง กล่าวว่า กลุ่มพรรคการเมืองที่เยาวชนให้ความสนใจในตอนนี้
มุ่งไปทางพรรคการเมืองหน้าใหม่มากกว่า เพราะส่วนใหญ่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง
ปัจจุบันหลายฝ่ายเล็งเห็นว่าเยาวชนจะเป็นตัวชี้ขาดอนาคตของ ประเทศ เสียงของกลุ่มเยาวชนในตอนนี้น่าจะสามารถขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลงได้
และคิดว่าโอกาสที่คนรุ่นใหม่จะพลิกหน้าการเมืองมีสูงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
นายธรากร ให้สัมภาษณ์ต่อว่า
ส่วนปัญหาหลักที่อยากให้คนที่เข้ามาบริหารแก้ไขเป็นอันดับแรกคือ เรื่องการศึกษา รัฐบาลใหม่ควรมีการจัดการเรื่องการศึกษาให้มีการ
กระจายอำนาจในการทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และควรจะปรับปรุงให้สถานศึกษามีอิสระในการออกแบบหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนให้มากขึ้น
ความคิดเห็นเรื่องการเลือกตั้งลำปางจากสายตาประชาชน
ผู้ช่วยอธิการบดี
ฝ่ายวิชาการและวิจัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์ลำปาง
“คนรุ่นใหม่พร้อมจะเลือกตั้ง และเด็กรุ่นใหม่เติบโตมาพร้อมกับสื่อไม่โดนจำกัดการเข้าถึง
รัฐไม่สามารถปกปิดข่าวสารได้ทำให้เขาค่อนข้างมีอิสระที่จะเลือกนักการเมือง”
นายธรากร แก้วคำปัน
ประธานสภานักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏ
จังหวัดลำปาง
“อยากให้รัฐบาลใหม่จัดการเรื่องการศึกษา ยึดความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
และคิดว่าโอกาสที่คนรุ่นใหม่จะพลิกหน้าการเมืองมีสูงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์”
นายยามารุดดิน
ทรงศิริ
ประธานสภานักศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์ลำปาง
“มธ.ลำปางมีนักศึกษาที่ย้ายทะเบียนบ้านมา
พวกเขาก็นับเป็นคนลำปางเช่นกัน พวกเรามองหาหน่วยงานที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัย
โดยเฉพาะไฟส่องสว่าง”
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น