นับวันขยะมูลฝอยจะมีมากขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี อันเนื่องมาจากการเติบโตทางสังคมทางเศรษฐกิจและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
หากไม่มีการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องและเหมาะสมย่อมเกิดผลกระทบต่างๆตามมาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมมีผลต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของ ระชาชน ปัญหาขยะมูลฝอยได้กลายเป็นปัญหาที่สังคมทั่วโลกต่างให้ความสำคัญและมุ่งเน้นในการกำจัดขยะตามหลักสุขาภิบาลเพื่อบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
เป็นแกนนำในการจัดตั้งศูนย์จัดการขยะมูลฝอยรวมของจังหวัดลำปาง
และเป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่ที่จะใช้ศูนย์จัดการขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น
เพื่อให้การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดลำปางเป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีประสิทธิภาพ
จึงได้ร่วมกันจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการคิดอัตราค่าบริการจัดการขยะโดยมีการจัดทำ
(MOU)ครั้งแรกเมื่อวันที่
25 กันยายน 2561ซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมลงนาม
จำนวนทั้งสิ้น 35 แห่ง มีหน่วยงานที่ร่วมเป็นพยาน อาทิ ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมปกครองท้องถิ่นจังหวัดลำปาง
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง
และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง
โดยกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการกำจัดขยะมูลฝอยในอัตรา 150บาท/ตัน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยณศูนย์จัดการขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
ตั้งอยู่ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
และเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2562 องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ได้จัดประชุมพิจารณาการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
(MOU) การคิดอัตราค่าบริการจัดการขยะของศูนย์จัดการขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจร
ระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง ณ
ห้องประชุมอบจ.ลำปาง ชั้น 3 โดยมีผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ร่วมลงนามจำนวน
7 แห่ง ประกอบด้วย
1. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝาย
อำเภอเมืองลำปาง
2.องค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ
3. องค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม
4.องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม
5.เทศบาลตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม
6. เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา
2.องค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ
3. องค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม
4.องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม
5.เทศบาลตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม
6. เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา
7.เทศบาลเมืองปาน อำเภอเมืองปาน
ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม และเทศบาลตำบลวังเหนือ
อำเภอวังเหนือ ซึ่งมีความประสงค์จะเข้าร่วมทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
ได้ส่งผู้แทนร่วมประชุม จึงต้องนำกลับไปให้ผู้บริหารเป็นผู้เซ็นลงนาม
ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางในฐานะที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกหลักที่มีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของประชาชนในท้องถิ่น
มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการผลกระทบที่เกิดต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
หรือสุขภาพอนามัยของประชาชน จึงเล็งเห็นความสำคัญในการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อให้การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดลำปางเป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีประสิทธิภาพเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยอย่างเป็นรูปธรรมและแผนปฏิบัติการการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด”
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสตืฉบัที่ 1215 วันที่ 1 - 7 กุมภาพันธ์ 2562)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น