
เมื่อรถหมุนเข้าสู่วงเวียน
เขาย่อมรู้ว่านี่เป็นสิทธิที่เขาจะได้ไปก่อน ขณะที่รถทางตรงต้องชะลอ
เป็นการให้ความเคารพสิทธิของคนอื่น และเมื่อรถตัวเองเข้าสู่วงเวียน ก็แปลว่า
รถทางตรงคันอื่น ก็ต้องรอให้เขาไปก่อนเช่นเดียวกัน แต่ความเป็นจริง
เป็นเช่นนี้หรือไม่ ต้องไปดูวงเวียนห้าแยกหอนาฬิกา
อาจมีวงเวียนในกรุงเทพ
และปริมณฑล ที่ถนนทั้งสี่ด้าน เป็นถนนขนาด 4 เลน 6
เลน เมื่อมาบรรจบกันที่วงเวียน อาจวุ่นวายสับสน
ด้วยนิสัยคนไทยที่ขาดระเบียบวินัย ไม่รู้สิทธิคนอื่น ไม่รู้จักหน้าที่ แม้ถนนที่ไม่กว้างมาก
เช่น วงเวียนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ก็ยังต้องติดตั้งไฟเขียว ไฟแดง เพื่อจัดระเบียบ
และควบคุมสันดานของคนบางคนที่เห็นแก่ตัว
แต่กับถนน 2 เลนเล็กๆ ที่แยกหอนาฬิกา เป็นเรื่องแปลกประหลาด มหัศจรรย์มาก
ถ้าจะมีไฟเขียว ไฟแดงบังคับ
ถนนใหญ่พอเข้าใจ
ว่าต้องบังคับกันด้วยไฟเขียว ไฟแดง
เพราะประเทศไทยตามใจฉัน ไม่สนใจกติกา
ไม่ใส่ใจวิธีใช้รถใช้ถนนในวงเวียนที่ถือเป็นหลักสากลว่าให้รถในวงเวียนไปก่อน
ปรากฏการณ์นี้กันที่ห้าแยกหอนาฬิกา
มาช้าแต่เหยียบคันเร่งให้เข้าถึงวงเวียนก่อน
เพื่อจะได้ไปก่อนโดยไม่เคารพสิทธิรถในวงเวียน
ว่ากันว่าวงเวียนเป็นระบบการจราจรที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนเส้นทาง
ทั้งปลอดภัยกว่า และง่ายต่อการดูแลรักษา
ไปจนถึงยังช่วยลดมลภาวะจากการจราจรให้รถไม่ติดขัดและสามารถคล่องตัวได้ดี
เป็นระบบจราจรสากลที่ไม่ใช้ไฟแดง ที่ใช้หลักการไหลเป็นวงกลม
โดยให้รถในวงเวียนไปก่อน
ทั่วทั้งโลกก็เป็นเช่นนี้
แต่วงเวียนในประเทศไทย
ถ้าจะให้รถในวงเวียนไปก่อน ต้องบังคับด้วยไฟเขียว ไฟแดง ฉะนั้น วงเวียนใหญ่ 2 แห่งในกรุงเทพ คือวงเวียนอนุสาวรีย์ชัย และวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ที่แต่เดิมใช้กติกานี้ ก็เปลี่ยนมาใช้สัญญาณไฟจราจรบังคับแทนเนิ่นนานมาแล้ว
ประเทศอังกฤษได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการใช้วงเวียนมากที่สุดในโลก
ผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการขับรถผ่านแยกที่นำการจราจรแบบวงเวียนอาจจะรู้สึกว่ายาก
แต่หากได้ทดลองใช้จะพบว่าการขับรถผ่านวงเวียนที่มีผู้ใช้รถใช้ถนนเคารพกติกา
เคารพกฎจราจร จะสะดวกมาก เพราะเมื่อเข้าใกล้วงเวียนเพียงให้ทางรถที่วิ่งอยู่ในวงเวียน
รวมทั้งชำเลืองหรือมองไปดูรถที่วิ่งมาทางขวา
หากไม่มีรถหรือมีแต่กำลังวิ่งเข้ามาในระยะที่ปลอดภัย
เขาก็สามารถขับรถเข้ารอบวงเวียน และได้สิทธิในการยึดครองทางเอก (รถในวงเวียน)
เป็นการชั่วคราว โดยที่รถคันอื่นๆ จะต้องคอยสังเกตและให้ทางแก่เรากันต่อไป
กลายเป็นหลักกติกาสากลทั่วโลกว่า
“ให้รถในวงเวียนไปก่อน”
บ้านเรา
ห้าแยกหอนาฬิกา เป็นจุดกลางเมืองลำปางที่เชื่อมต่อไปหลายเส้นทาง
ก่อนหน้านั้นมีการใช้สัญญาณไฟจราจร แต่เมื่อราวปี 2550 ได้มีการจัดทำโครงการปรับภูมิทัศน์ข่วงนคร
โดยใช้งบประมาณสูงถึง 75 ล้านบาท
จนเมื่อข่วงนครสร้างเสร็จในปี 2551 จึงได้เปลี่ยนรูปแบบการจราจรมาเป็นใช้วงเวียน
พรบ.จราจร ลักษณะ 6 การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกหรือวงเวียน มาตรา 73 ในกรณีที่วงเวียนใดได้ติดตั้งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร
ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตาม สัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรนั้น
ถ้าไม่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรตามวรรคหนึ่ง
เมื่อผู้ขับขี่ขับรถมาถึงวงเวียน
ต้องให้สิทธิแก่ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอยู่ในวงเวียนทางด้านขวาของตนขับผ่านไปก่อน
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเพื่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจรจะให้สัญญาณจราจรเป็นอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองก็ได้
ในกรณีเช่นนี้ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้
นั่นคือ ให้รถในวงเวียนไปก่อน
หากนับจากห้าแยกหอนาฬิกา
กลายมาเป็นข่วงนคร ก็หลายปีแล้ว
เมืองลำปางคึกคักขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงของสังคม
จำนวนรถมอเตอร์ไซด์ และรถยนต์บนท้องถนนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้เกิดปัญหาการจราจรช่วงเวลาเร่งรีบ บริเวณวงเวียนข่วงนครก็เช่นกัน มีรถสัญจรผ่านไปมาก เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง หลายคนบอกว่าเป็นเพราะไม่มีสัญญาณไฟจราจร
ทั้งที่กฎจราจรทั่วโลกที่มีวงเวียนนั้นต่าง ต้องให้รถในวงเวียนไปก่อน
สัญญาณไฟจราจรอาจะเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น
เพราะเท่าที่สังเกตรู้ว่าเมื่อต้องให้รถในวงเวียนไปก่อนทำให้รถแต่ละคันพยายามเร่งความเร็วเพื่อให้เข้ามาอยู่ในวงเวียนเพียงเพื่อจะได้
“ไปก่อน” ดังนั้น
จากหลักสากล ให้รถในวงเวียนไปก่อนจึงกลายเป็น ให้รถ “ตู”ไปก่อน จึงไม่แปลกที่จะเกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้ง
การรณรงค์เรื่องการรักษากฎจราจรจึงเป็นสิ่งที่จะทำให้วงเวียนไม่ใช่เรื่องน่าวิงเวียนหรืองุนงงสงสัยอีกต่อไป
หากทุกคนร่วมใจกันปฏิบัติตามกฎจราจร มีน้ำใจบนท้องถนน
ปัญญาวงเวียนที่วนเวียนจนรถชนกันโครมครามคงหายไป
เราลงมาคิดถูกว่าหาบริเวณหอนาฬิกา
กลับมาใช้ระบบไฟแดงเหมือนเมื่อก่อน หารจราจรจะติดขัดเพียงใด ยิ่งโดยเฉพาะช่วงเวลาโรงเรียนเลิก
เพราะเส้นถนนนั้นเชื่อมต่อ หลายโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนเทศบาล 4 ประชาวิทย์
อัสสัมชัญ อรุโณทัย มัธยมวิทยา และยังไม่นับโรงเรียนอื่นๆที่รถรับส่ง
รถผู้ปกครองที่มารับลูกๆหลังเลิกเรียน
เราอาจต้องมาพิจารณากันบ้างว่าสิ่งที่หายไปนั้น
คือ “สัญญาณไฟจราจร” หรือ “จิตสำนึกคน”ในการใช้รถ ใช้ถนน
ที่สาบสูญไปจากสังคมเมืองลำปางกันแน่
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น