
ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า
2 ยันการประมูลเถ้าลอยต้องยึดตามระเบียบ
จากกรณีที่กลุ่มชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอแม่เมาะ
นำโดยนายถนอม กุลพินิจมาลา ประธานชมรมฯ ได้รวมตัวกันยื่นหนังสือต่อนายนิมิตร
ผดุงศิลป์ไพโรจน์ นายอำเภอแม่เมาะ ขอให้ กฟผ.แม่เมาะระงับการเปิดประมูลจำหน่ายขี้เถ้าลอย
และระงับการทำ ค.1 โครงการโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8-9 เมื่อวันที่ 21 พ.ค.62 ที่ผ่านมา
โดยได้ระบุว่า
การยื่นหนังสือข้อเรียกร้องในครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 พ.ย.59 ได้ข้อตกลงนำไปสู่ข้อสรุปคือ กฟผ.ไม่ขัดข้องที่จะนำเศษหินไปใช้กับประโยชน์ของส่วนรวม ผวก.เห็นชอบและต้องการให้ทำแผนทั้ง 3 ตำบลเป็นแผน 10 ปี
ส่วนกรณีการขอซื้อเถ้าลอยต่อ กฟผ.แม่เมาะในราคาส่วนลดมากกว่า 10% จำนวนโควตา 30% ของยอดแต่ละปีนั้น ทาง
กฟผ.ได้เสนอต่อคณะกรรมการ กฟผ.แล้ว โดยมีหนังสือให้ กฟผ.แม่เมาะกลับมาทบทวนใหม่ ไม่ให้ตามข้อตกลง
และยังขายให้คู่ค้ารายอื่นที่ไม่ใช่ประชาชนในพื้นที่
เท่ากับหลอกให้ประชาชนให้การสนับสนุน ค.1-ค.3
การสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-7
กำลังการผลิต 655 เมกกะวัตต์
ดังนั้นเพื่อแสดงความจริงใจในการช่วยเหลือแก้ปัญหาของ
กฟผ.แม่เมาะ ทางชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อ.แม่เมาะ จึงขอให้ทาง
กฟผ.แม่เมาะระงับการเปิดประมูลจำหน่ายขี้เถ้าลอย และระงับการทำ ค.1
โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 เอาไว้ก่อน
เพื่อหาข้อสรุปและหาทางออกในการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดกับชุมชน รวมไปถึงการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
โดยขอให้มีการดำเนินการซื้อขี้เถ้าลอยต่อ กฟผ.แม่เมาะในราคาส่วนลดมากกว่า 10% จำนวนโควตา 30% ของยอดที่มีในแต่ละปี
ผลกำไรจะนำมาพัฒนาชุมชน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความยั่งยืนทั้งอำเภอแม่เมาะ
และลดผลกระทบจากคนเดือดร้อนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการขายขี้เถ้าลอยต่อไป
นายพลศรี
สุวิศิษฏ์อาษา ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 เปิดเผยในเรื่องนี้กับลานนาโพสต์ว่า โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่
8-9 อยู่ในแผน PDP ซึ่งได้ผ่านมติ
ครม.เมื่อวันที่ 30 เม.ย.62 ที่ผ่านมา
ซึ่งได้กำหนดสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนให้เสร็จและเดินเครื่องได้ในปี 2569 แต่เนื่องจากพื้นที่ อ.แม่เมาะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินใช้เวลาก่อสร้างนาน
ต้องมีกระบวนการทำ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EHIA) อีก
จึงต้องเริ่มทำในตอนนี้ เมื่อเสร็จแล้วก็จะเสนอ ครม.อนุมัติ
ซึ่งกว่าจะจบขั้นตอนการทำ EHIA ประมาณ 2 ปี และเริ่มก่อสร้างไปอีก 4 ปี จะจบในปี 2569 พอดี ตอนนี้จึงเป็นเพียงการเริ่มดำเนินการ
มีการเข้าพบทางส่วนราชการทั้งจังหวัด และท้องถิ่น เพื่อชี้แจงว่าจะมีการทำ EHIA
รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในครั้งแรก ในวันที่ 13 ก.ค.62 เพราะฉะนั้นในช่วงนี้อยู่ระหว่างการเข้าพื้นที่ลงไปชี้แจงให้ทราบ
ซึ่งเป็นไปได้ว่าประชาชนบางส่วนยังไม่ทราบว่าจะมีการจัดทำ ค.1
เนื่องจากทั้งอำเภอพื้นที่ค่อนข้างกว้าง ยังต้องลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า
2 กล่าวถึงกรณีชาวบ้านขอซื้อเถ้าลอยในราคาส่วนลดว่า กฟผ.
ได้มีการนำเสนอเรื่องนี้ให้คณะกรรมการพิจารณาแล้ว แต่ไม่สามารถทำได้
เนื่องจากติดปัญหาขัดกับระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐ ซึ่งเรื่องการขายให้ชาวบ้านในราคาถูกได้ก็ต้องเป็นทางภาครัฐเป็นผู้สั่งการ
เพราะ กฟผ.ทำเองไม่ได้ เนื่องจากเป็นผู้ปฏิบัติและเป็นหน่วยงานในสังกัดของรัฐ สำหรับการประมูลเถ้าลอยนั้นก็ยังไม่มีเหตุที่จะสั่งให้ระงับการประมูลได้
เนื่องจากหากครบกำหนดการยื่นซองประมูลแล้ว แต่ไม่มีการเปิดซองทาง กฟผ.ก็จะโดนดำเนินคดี
ส่วนประเด็นที่ชาวบ้านบอกว่าได้รับผลกระทบจากการขนเถ้าลอย
คือ เสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ และถนนพัง
กฟผ.ก็ได้มีการปรับทีโออาร์ในการประมูลเถ้าลอย ให้มีการคุ้มครองกรณีการเกิดอุบัติเหตุ
เช่น ให้มีการทำประกัน และจ่ายค่าชดเชย กรณีการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่เป็นกรณีไป
เพื่อให้มีการเยียวยาอย่างสมเหตุสมผล
ส่วนเรื่องถนนหนทางได้เสนอไปยังผู้มีอำนาจดำเนินการ
อยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่
นายพลศรี
กล่าวต่อไปว่า หลังการยื่นหนังสือผ่านนายอำเภอแม่เมาะ
ทางอำเภอก็ได้ส่งมาให้ทาง กฟผ.แม่เมาะพิจารณา
จึงได้ส่งหนังสือไปยังผู้บริหารระดับสูงเพื่อหารือร่วมกันในการแก้ไขปัญหาในกระบวนการต่างๆ ว่าสามารถทำตามระเบียบได้มากน้อยแค่ไหน จากกรณี 3 ข้อที่ชาวบ้านได้เรียกร้องมา
คือเรื่องการขอใช้หินคลุก ก็ได้ดำเนินการใกล้จะสำเร็จแล้ว รวมทั้งเรื่องการของบ CSR
เพิ่มเติม ก็ได้มีการสนับสนุนให้เพิ่มตามกรอบที่สามารถทำได้ โดยสนับสนุนให้ปีละ 40 ล้านบาท
เป็นงบที่เยอะพอสมควร ส่วนเรื่องเถ้าลอยไม่สามารถทำได้เนื่องจากขัดต่อระเบียบ
จึงต้องหาวิธีและทางออกร่วมกันต่อไป
ถึงแม้ว่าเรื่องการทำ
ค.1 กับเรื่องเถ้าลอย
เป็นเรื่องคนละประเด็นกัน แต่ความเดือดร้อนของชาวบ้านเป็นสิ่งที่ กฟผ.ต้องดูแล
จึงอยากให้เรื่องเหล่านี้ไปอยู่บนเวที ค.1 เพื่อจะได้นำไปหาแนวทางแก้ปัญหา
ซึ่งจะมีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมเก็บข้อมูล จากนั้นก็จะได้มีเวที ค.2 ค.3 ต่อไป แต่ถ้าหากไม่มีการทำ ค.1
แล้วก็จะไม่ได้มีการพูดคุยปัญหา โรงไฟฟ้าก็จะไม่ได้สร้าง
ผลกระทบก็จะเกิดกับชุมชน เช่น
โรงไฟฟ้าเครื่องที่ 8-9 จะหมดอายุในปี 2567 เมื่อหยุดผลิตไฟฟ้าก็จะไม่มีเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า
รวมไปถึงการใช้ไฟฟ้าซึ่งจะส่งผลกระทบไปทั่วประเทศ
ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า2
กล่าวทิ้งท้ายว่า เห็นใจชาวบ้านชุมชน และเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติที่มีเรื่องเดือดร้อนแล้วเสนอขึ้นมา
โดยชาวบ้านก็อาจจะไม่เข้าใจถ่องแท้ในเรื่องระเบียบ กฟผ.ก็ต้องรับฟังและอธิบายให้เข้าใจกันต่อไป
ต้องพูดคุยกันว่าควรใช้วิธีใดหรือช่องทางใดได้บ้าง
เชื่อว่าจะมีช่องทางหนึ่งที่สามารถตกลงกันได้
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1230 วันที่ 24 - 30 พฤษภาคม 2562)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น