
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2557 ถูกทำให้เป็นโมฆะ
เพราะมีการขัดขวางไม่ให้ประชาชนบางเขตเลือกตั้ง เข้าไปใช้สิทธิ์
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า
พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
เพราะไม่สามารถเลือกตั้งให้แล้วเสร็จทั่วประเทศได้ภาบในวันเดียว คณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.) สรุปคำวินิจฉัยของศาลว่าไม่ถือว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะ
แต่ถือว่าการเลือกตั้งได้เกิดขึ้นแล้วหนึ่งครั้ง
เหตุผลที่มีการขัดขวางไม่ไห้คนไปเลิกตั้ง
ก็เพราะการสร้างกระแส “ปฎิรูปก่อนเลือกตั้ง” ของกลุ่มผู้ชุมนุม นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ
ซึ่งเริ่มต้นโดยเป้าหมายขับไล่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อันเป็นผลเนื่องมาจากการตรากฎหมายนิรโทษกรรม
เพื่อหวังช่วยพวกพ้อง รวมทั้งนายทักษิณ ชินวัตร ต่อมา จึงกลายเป็นข้ออ้างใน 3 ประเด็น คือ
1.ใช้กติกาประชาธิปไตยในรูปแบบของพวกมากลากไปออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมารวมเพื่อหวังช่วยพวกพ้อง
โดยเฉพาะทักษิณ ชินวัตรซึ่งเป็นนักโทษในคดีอาญา 2. ใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ
เช่น การทุจริตในการรับจำนำข้าว ซึ่งทำให้รัฐเสียหายหลายแสนล้านบาท และ 3. คัดค้านการเลือกตั้ง โดยเรียกร้องให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง
การปฎิรูปก่อนการเลือกตั้ง เป็นเงื่อนไขหนึ่ง
ที่ทำให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ภายใต้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก
ในขณะนั้น ยึดอำนาจจากรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และแสดงจุดยืนตอบรับแนวคิด
ปฎิรูปก่อนเลือกตั้ง เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญ ก่อนที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง
รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จัดตั้งคณะทำงานเตรียมการเพื่อการปฎิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ
มีพล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานคณะทำงาน คณะทำงานชุดนี้
ได้เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน ไปให้ข้อมูล ก่อนที่รัฐบาลจะกำหนดประเด็นการปฎิรูปดังนี้
ด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
ด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านเศรษฐกิจ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ
ด้านสังคม ด้านพลังงาน ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
เป้าหมายด้านการเมือง คือ การธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรย์ทรงเป็นประมุข
ที่มีความมั่นคง มีความชอบธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประเทศชาติ บ้านเมืองและประชาชน สร้างการมีส่วนร่วม
รู้จักยอมรับความเห็นที่แตกต่าง
เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งหมดนี้
รัฐบาลได้ตั้ง สภาปฎิรูปแห่งชาติ ต่อมา เป็นสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปรูปประเทศ
อีกทั้งคณะกรรมการปฎิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ)
ซึ่งเป็นการปฎิรูปที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ผ่านมาถึงวันนี้ การเลือกตั้งผ่านไปแล้ว ด้วยความยุ่งยากสับสนไม่มีการปฎิรูปด้านใดสำเร็จ
ปฎิรูปตำรวจล้มเหลว การเมืองเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม รัฐบาลคสช.ได้สร้างกลุ่มอำนาจที่ผูกขาดและสืบทอดอำนาจต่อไป
สถานการณ์เลวร้ายยิ่งกว่าก่อนการปฏิวัติหลายเท่า
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1230 วันที่ 24 - 30 พฤษภาคม 2562)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น