
วิถีแห่ง
“สล่างานไม้แกะสลัก”
ยังคงเป็นภูมิความรู้ที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ ซึ่งชาวลำปาง
และคนไทยจะได้เห็นผลงานที่ถูกเก็บข้อมูลร้อยเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นรูปธรรม
สุรพล บุรินทราพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เผยว่า
จากการนำนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงวัฒนธรรมในการสร้างความอยู่ดีกินดีให้กับประชาชน
มาสู่การปฏิบัติโดยการนำทุนที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น
มาสร้างมูลค่าเพิ่มแก่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมล้านนาและการบริการเชิงสร้างสรรค์ให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืนและเกิดการส่งเสริม
สร้างสรรค์คุณค่า ความโดดเด่นของวัฒนธรรมล้านนาอย่างยั่งยืน และ
เพื่อเกิดการกระตุ้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมทางเศรษฐกิจ
ตลอดจนสร้างรายได้ให้กับพื้นที่ ชุมชนอย่างยั่งยืน ในแบบของโครงการเสริมสร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคเหนือกิจกรรมตามรอยอารยธรรมล้านนาตะวันตกเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1
(ลำปาง เชียงใหม่ ลำพูน และแม่ฮ่องสอน)
โดยวิถีวัฒนธรรมด้านช่างฝีมือช่างแกะสลักไม้
ที่เชื่อมโยงอัตลักษณ์วัฒนธรรมล้านนาตะวันตก ได้แก่
บ้านหลุก อ.แม่ทะ จังหวัดลำปาง บ้านหนองยางฟ้า
อ.แม่ทา จ.ลำพูน ส่วนที่เชียงใหม่คือ บ้านกิ่วแลน้อย
อ.สันป่าตอง และ จ.แม่ฮ่องสอนมีงานแกะสลักฝีมือดีออยู่ในพื้นที่อำเภอสบเมย
บ้านหลุก อ.แม่ทะ ลำปางก็เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางดังกล่าว
ที่เชื่อมโยงอัตลักษณ์วัฒนธรรมล้านนาตะวันตกให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวที่เกิดการเรียนรู้วิถีของช่างฝีมืองานแกะสลักไม้ ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวเข้าชุมชน
ซึ่งระหว่างวันที่
21 – 23 มิถุนายน 2562 จะมีงาน
“มหกรรมไม้แกะสลักล้านนา
ปูมผญาสล่าเมือง”
ณ
สวนสาธารณะห้าแยกหอนาฬิกา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
เป็นส่วนหนึ่งของโครงการดังกล่าว
บพิตร
วิทยาวิโรจน์ วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง เผยว่า โครงการเสริมสร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์การท่องเที่ยว
กิจกรรมตามรอยอารยธรรมล้านนาตะวันตกเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประกอบไปด้วย 5 กิจกรรมคือ กิจกรรมแรกการสร้างองค์ความรู้เรื่องช่างฝีมือแกะสลักไม้
จัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กิจกรรมที่ 2 คือ การจัดงาน “มหกรรมไม้แกะสลักล้านนา
ปูมผญาสล่าเมือง” ซึ่งกำหนดจัดในระหว่างวันที่ 21 – 23
มิถุนายน 2562 ณ สวนสาธารณะห้าแยกหอนาฬิกา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
กิจกรรมที่ 3
การอบรมนักสื่อความหมายวัฒนธรรมนำเที่ยว
พร้อมทั้งการจัดคณะทัวร์และสื่อมวลชนลงพื้นที่ 4 หมู่บ้านเป้าหมาย กิจกรรมที่ 4
การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่เส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ
และ กิจกรรมที่ 5 การออกแบบเส้นทางการตามรอยอารยธรรมช่างแกะสลักไม้เชื่อมโยงทั้ง 4
จังหวัด
ส่วนในงาน “มหกรรมไม้แกะสลักล้านนา
ปูมผญาสล่าเมือง” ประกอบไปด้วยกิจกรรมต่าง
ๆ เช่น การสาธิตและนิทรรศการงานไม้แกะสลักหรือ “ข่วงสาธิตทางวัฒนธรรม” ซึ่งเป็นการนำ ”สล่าเมือง” หรือ ปราชญ์ภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแกะสลักไม้ระดับชั้นครู
มาร่วมสาธิตและถ่ายทอดภูมิปัญญาการแกะสลักไม้ให้กับผู้ที่มาร่วมงานซึ่งได้แก่ประชาชนในจังหวัดลำปาง
นักท่องเที่ยว รวมถึงนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ โดยจำลองเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรม 4 จังหวัด สาธิตเทคนิคการแกะสลักไม้
และการ จำหน่าย มีกาดหมั้วคัวเมือง
การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากชุมชนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ
สุวิน
เชื้อคำลือ ครูภูมิปัญญาการแกะสลักไม้บ้านหลุก
อ.แม่ทะ หนึ่งในสล่าแกะสลักไม้ กล่าวว่า การแกะสลักไม้ถือว่าเป็นงานศิลปกรรมที่เก่าแก่ของจังหวัดภาคเหนือ
สำหรับการแกะสลักไม้ในอดีตจะมีความเกี่ยวข้องกับศาสนา
โดยเฉพาะงานแกะสลักไม้ประกอบโบสถ์ วิหาร ศาลาวัด หอพระไตรปิฎก ตู้พระไตรปิฎก พระเจดีย์ ฯลฯ
ซึ่งมีการสรรค์สร้างอย่างสวยงามและประณีตบรรจง
และในปัจจุบันยังคงมีการสืบทอดภูมิปัญญาเชิงช่างแกะสลักที่มีฝีมือ มาจากบรรพบุรุษ
และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของแต่ละชุมชนลงบนแผ่นไม้ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของ
วัฒนธรรมล้านนาที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี การทำมาหากิน
ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวล้านนา ที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ
ส่วน อัตลักษณ์การแกะสลักไม้ของ
บ้านหลุก ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ได้สืบทอดการทำไม้แกะสลักจากบรรพบุรุษ
งานแกะสลักของที่นี่มีความโดดเด่นอยู่ที่การแกะสลักไม้เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ
แบบสามมิติที่มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่เท่าของจริง
ซึ่งจะมีทั้งแบบแกะสลักเต็มตัว และเฉพาะหัวของสัตว์ต่าง ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ
นอกจากนี้ชาวบ้านหลุกยังมีความชำนาญ
และมีเทคนิคการต่อไม้ให้เข้ากันได้สนิท แข็งแรง คงทน ปัจจุบันกลุ่ม สล่าแกะไม้สลักได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินหารจัดหา
“ครูภูมิปัญญา” ในการถ่ายทอดองค์ด้านการแกะสลักไม้ แก่ผู้ที่สนใจอยากจะมาฝึกหัดการแกะสลักไม้เพื่อสร้างอาชีพ
และ กลุ่มเยาวชนในชุมชน โดยเริ่มต้นจาก การเรียนรู้เรื่องไม้สำหรับแกะสลัก
เครื่องมือต่าง ๆ เทคนิคการแกะไม้เบื้องต้น
ไปจนถึงเทคนิคการแกะไม้ในระดับสูงเพื่อประกอบเป็นอาชีพสืบทอดภูมิปัญญาต่อไป
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1233 วันที่ 14 - 20 มิถุนายน 2562)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น