วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ยกแรกก็เลือดสาด ! พรุ่งนี้ของ‘ประยุทธ์’หวั่นไหวยิ่ง

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

พียงยกแรกของวาระโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เลือดสาดเสียแล้ว ด้วยคมหอก คมดาบของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ที่แม้จะไม่มีพรรคฝ่ายค้านอาชีพเช่นประชาธิปัตย์ แต่การอภิปรายแสดงเหตุ แสดงผลในความไม่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็แหลมคม และสะท้อนให้เห็นความอ่อนด้อยของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐ ที่ต่างดาหน้าเข้ามาอุ้มพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

วีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ ตั้งข้อสังเกตในระหว่างการประชุมว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คงเฝ้าดูการอภิปรายครั้งนี้ และควรจะรู้ว่าต่อไปจะหนักกว่านี้ ด้วยบาดแผลที่ถูกเปิดขึ้นมาทีละแผล ด้วยความอ่อนหัดของส.ส.รัฐบาล และด้วยสำนึกบุญคุณของคนที่ตั้งวุฒิสมาชิกขึ้นมา ทำให้วุฒิสมาชิกพยายามปกป้องผู้มีพระคุณของเขาเต็มที่ โดยไม่ละอายฟ้าดิน

นี่ยังไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี แต่เนื้อหา ข้อมูล ก็หนักแน่น เสียจนน่าสงสัยว่า เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งใช้อำนาจเบ็ดเสร็จปกครองบ้านเมืองนี้มายาวนาน 5 ปี จะทนทานต่อความกดดัน ซึ่งเป็นปกติของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ได้เพียงใด และเมื่อเขาอดทนไม่ได้ เหมือนพฤติกรรมที่ผ่านๆมา ในบรรยากาศที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย จะเกิดอะไรขึ้น

ประเด็นที่น่าสนใจ และเป็นเรื่องที่กล่าวขวัญกันมาก่อนหน้านี้ คือการไม่เคารพหลักนิติรัฐ การใช้อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการแบบเบ็ดเสร็จ ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือการใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2547

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ทั้งปลดคน ย้ายคน บังคับการในเรื่องต่างๆ นับร้อยฉบับ โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ว่า การใช้อำนาจตามมาตรา 44 นั้น ได้ส่งผลกระทบต่อใครบ้าง หรือจะมีผลกระทบจากการตัดสินใจใช้อำนาจกึ่งเผด็จการ นี้อย่างไร

ประเด็น การขาดคุณสมบัติ ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เรื่องการไม่เคารพหลักนิติธรรม ด้วยการอภิปรายของสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในประเด็นข้อพิพาทว่าด้วยบริษัทเหมืองอัครา ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินการคลังของประเทศในอนาคต แม้จะเป็นการคาดการณ์ แต่ก็เป็นการคาดการณ์ที่มีเหตุผลสนับสนุนชัดเจน

กรณีพิพาทระหว่างบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำชาตรี จังหวัดพิจิตร กับชาวบ้านในพื้นที่ที่ทำเหมือง เป็นปัญหายืดเยื้อมานานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนมาถึงยุครัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 สั่งระงับการทำเหมืองแร่ทองคำทั่วประเทศเป็นการชั่วคราว จนกว่าคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) จะมีมติเป็นอย่างอื่น

ต่อมา บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จำกัด ประเทศออสเตรเลีย ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทอัคราฯ ได้ยื่นข้อพิพาทดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศภายใต้กรอบ TAFTA

อนุญาโตตุลาการ พิจารณาข้อพิพาทบนฐานคิดว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นเพียงผู้ใช้อำนาจรัฐ และอำนาจตามมาตรา 44 ไม่ใช่กฎหมาย แนวโน้มของคดี ซึ่งจะตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการ จึงน่าจะแพ้คดีตามความคาดหมายของสุทิน คลังแสง

นี่เป็นประเด็นหนังตัวอย่าง ที่หากนายกรัฐมนตรีคนต่อไปคือพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และยังสำคัญตัวผิดว่า อยู่ในอำนาจเบ็ดเสร็จ ที่แวดล้อมด้วยบรรยากาศดีครับผม เหมาะสมครับท่าน พล.อ.ประยุทธ์ กระอักโลหิตอย่างแน่นอน

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1232 วันที่ 7 - 13 มิถุนายน 2536)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์