หลังการเปิดเผยรายชื่อคณะกรรมการสรรหาวุฒิสมาชิก
และอธิบายกระบวนการได้มาซึ่งวุฒิสมาชิก ของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
แม้จะเป็นการแสดงความโปร่งใส ตรวจสอบได้ แต่ก็ก่อให้เกิดคำถามถึงความชอบธรรมขอองวุฒิสมาชิก
ซึ่งต่างก็อ้างความเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งระบบเขต
และบัญชีรายชื่อมาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งประเทศ
สมาชิกวุฒิสภาทั้งระบบมาจากการสรรหา
แบ่งเป็นมาจากการดำเนินการเลือกของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 50 คน
มาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาจำนวน 194 คน
รวมกับผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก
ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
กกต.จะเลือกมา
200
คน แล้วส่งให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เลือกให้เหลือ 50
คน ส่วนกรรมการสรรหา จะเลือกมา 400 คน
แล้วส่งให้ คสช.เลือกเหลือ 194 คน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
ทั้งระบบ จึงมีคสช.เป็นผู้เคาะครั้งสุดท้ายทั้งสิ้น
คณะกรรมการสรรหา
มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน กรรมการล้วนสรรหาเครือญาติ พวกพ้อง
และบุคคลใกล้ชิดมาเป็นวุฒิสมาชิกทั้งสิ้น พล.อ.ประวิตร เลือกพล.ร.อ.ศิษฐวัชร
วงษ์สุวรรณ น้องชาย และพล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา
น้องชาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเป็นวุฒิสมาชิก
นอกจากนั้น
กรรมการสรรหา ยังเลือกอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติ เช่น นายพรเพชร วิชิตชลชัย
นายพีระศักดิ์ พอจิต นายสมชาย แสวงการ นายวันชัย สอนศิริ รวมทั้งนายเสรี
สุวรรณภานนท์ อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ (สปท.)
ซึ่งเติบโตมาด้วยระบบอุปถัมภ์โดยตลอด
แม้พวกเขาพยายามจะอธิบายว่า
เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับสมาชิกวุฒิสภา
แต่วิธีการได้มา วิธีการเลือกโดยใช้ระบบอุปถัมภ์
วิธีการเลือกที่พยายามปิดบังอำพรางกรรมการสรรหา วุฒิสมาชิกทั้งสภา
ก็คือกลุ่มคนที่เลือกมาโดย คสช.และตอบแทน คสช.ด้วยการเลือก หัวหน้า
คสช.เป็นนายกรัฐมนตรี
ความเป็นจริง
ในจำนวนวุฒิสมาชิก 250
คน ก็คงเป็นคนดี มีความสามารถอยู่บ้าง
ไม่ใช่เรื่องผิดที่พวกเขาถูกเลือกมา อย่างน้อยก็อ้างว่ามาตามกติกาของรัฐธรรมนูญได้
แม้จะไม่มีความชอบธรรม ไม่มีความสง่างาม ที่จะยืดอกว่าเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยก็ตาม
ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
ก็ควรสำนึกได้ว่า เราเป็น “ข้าวนอกนา” สมควรต้องสงบปากสงบคำ
ไม่พยายามสรรหาเหตุผลมาอธิบายความชอบธรรม ให้คนอื่นเขาสมเพช เช่น ไปเรียกว่า
หัวหน้าคสช.ที่ตัวเองโหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรี คือเผด็จการประชาธิปไตย
ซึ่งไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร และเป็นความคิดที่ย้อนแย้งกันอย่างสิ้นเชิงระหว่างคำว่า “เผด็จการ”
และ “ประชาธิปไตย”
และที่น่าผิดหวังไปกว่านั้น
คือความสำคัญผิดว่า ความสงบที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น
เกิดจากอำนาจการปฎิวัติ เพราะไม่ว่าอย่างไร การกดดัน บีบบังคับ
ด้วยอำนาจเบ็ดเสร็จที่ใครโต้แย้งไม่ได้ สังคมก็จำยอมต้องสงบเพราะกลัวอำนาจอยู่แล้ว
มิใช่เพราะเผด็จการทำให้สงบ
เราอาจจะได้เห็นพฤติกรรมข้าวนอกนา
ในการอุ้มชู ปกป้อง รักษาผู้นำที่แปรรูปมาจาก คสช.อีกยาวนาน
เพราะมันคือสัญญาต่างตอบแทน ระหว่างคนแต่งตั้ง และถูกแต่งตั้ง
ที่ยังจะต้องเป็นบุญเป็นคุณกันต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น