
“ท้อทุกวัน แต่ไม่คิดจะเลิกทำ ถ้าเรามีความพยายาม
สักวันจะผ่านความท้อนั้นไปได้”
จำรูญ
กาวีวัฒน์ จากกลุ่มเกษตรอินทรีย์หมอสม-วังแคว้ง
เล่าว่า ส่วนตัวปลูกพืชผักมานานกว่า 10 ปี
แล้วเพราะอยากให้ลูกได้ทานผักที่ปลอดภัย และปลูกฝังทัศนคติในการกินผักให้กับครอบครัว
เพราะผักเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ จึงได้เดินตามแนวพระราชดำริ
ในหลวง ร.9 ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ โดยคิดอยู่เสมอว่า เมื่อพระองค์ให้มาหมดแล้ว
สิ่งที่เราต้องทำคือตีความให้ดีและทำให้ถูกต้อง
นายจำรูญ
เล่าความเป็นมาของกลุ่มว่า จากที่ตนได้ปลูกผักทานเอง ก็เริ่มรวมกลุ่มของเกษตรกร
ที่สนใจด้านเกษตรอินทรีย์ และหาโครงการมาทำร่วมกันในชุมชน แต่ก็มีชาวบ้านคิดว่ารวมกลุ่มแล้วจะได้อะไร ในตอนแรกจึงรวมกันได้กลุ่มเล็กๆ ที่ชอบปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานกันเองประมาณ
7 คน ปัจจุบันทำมา 2 ปี เป็นสิ่งที่ดีที่ได้มีการพูดคุยกันมากขึ้น
ได้ออกสัมมนากับภาควิชาเกษตรต่างๆ เพื่อหาความรู้มาแลกเปลี่ยนกันในกลุ่ม
ทำเกษตรอินทรีย์ดีอย่างไร ?
นายจำรูญ
บอกว่า ข้อดีคือเราปลอดภัยจากสารเคมี ซึ่งสารที่ใช้บางตัวก็อาจจะไม่ใช่สารพิษ
แต่เวลาที่ต้นไม้ดูดเข้าไปในลำต้นก่อนจะถูกสังเคราะห์เป็นวิตามิน
มีโอกาสทำให้เราได้รับการสะสมสารในร่างกาย ซึ่งมีผลต่อเนื่องอาจให้เกิดโรคมะเร็ง
แต่หากใช้อินทรีย์เป็นปุ๋ยหมักที่ทำขึ้นเอง ถึงแม้ว่าจะมีสารปนเปื้อนอยู่บ้าง
แต่ก็จะถูกจุลินทรีย์กำจัดออกไปในระดับที่ปลอดภัยที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม
เรายังคงต้องการความรู้มากขึ้น การศึกษาเรื่องเกษตรอินทรีย์ที่ครบวงจร
เพื่อแลกเปลี่ยน และช่วยกันพัฒนาผักให้มีคุณภาพ
ขณะเดียวกันก็มีอุปสรรคไม่น้อย โดยนายจำรูญ
ยอมรับว่าเกษตรอินทรีย์ทำได้ยากมาก
ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่สามารถจูนเข้าระบบได้
อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า 1
รุ่น 2 รุ่น แต่ถ้าเรายังเดินต่อ ก็หวังว่ารุ่นที่ 3 และรุ่นต่อๆไป จะดีขึ้น การทำเกษตรก็ต้องติดตามสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
ว่าช่วงไหนสภาพอากาศเป็นอย่างไร เช่นบางปีเกิดแอลนิลโญ่ เจออากาศร้อนมาก
จะเจอลมพายุ ก็อาจจะต้องเปลี่ยนการปลูกพืชใหม่ ถ้าเห็นว่าช่วงนี้ยังไม่ควรก็ต้องลองหาวิธีใหม่ที่ดีกว่า
แน่นอนว่าการทำงานทุกด้าน
มีทั้งประสบความสำเร็จ และผิดหวัง จนเกิดความท้อถอย
นายจำรูญเป็นอีกคนหนึ่งที่บอกว่า ท้อทุกวันในการทำเกษตรอินทรีย์ แต่ในความท้อนั้น ทำให้เกิดการตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้
จนบางครั้งก็โทษว่าสาเหตุมาจากคนอื่น กระทั่งเล็งเห็นว่าความท้อถอย
เป็นบททดสอบหนึ่งที่ทำให้คนเราต้องมีความอดทน ทำให้นายจำรูญได้ปรับเปลี่ยนความคิด และใช้โอกาสนั้นพูดคุยปรึกษาแลกเปลี่ยนกันกับเพื่อนสมาชิก
โดยตั้งเป้าหมายกับตัวเองว่า ถ้าเราพยายามอยู่ทุกวันก็จะดีขึ้น
สักวันความท้อก็จะผ่านไป และไม่เคยคิดจะเลิกทำ
“การปลูกผักแล้วเห็นผักมีสีสันที่หลากหลาย
เมื่อนำมาจัดรวมๆกันแล้วเป็นสิ่งที่สวยงาม อีกทั้งยังประโยชน์ รับประทานได้ เมื่อใครเห็นได้การตอบรับในเชิงบวกมากกว่าลบ
และซื้อสินค้าของเรา ทำให้มีกำลังใจมากขึ้น” นายจำรูญ กล่าว
นอกจากนี้
ทางกลุ่มกลุ่มเกษตรอินทรีย์หมอสม-วังแคว้ง ได้มีแนวทางจะขยับขยายนำผลผลิตของสมาชิกออกไปวางจำหน่ายตามตลาดต่างๆ เนื่องจากยุคนี้เป็นยุคใหม่มีอาหารถุงและอาหารสำเร็จรูปวางขายมากมาย
การขายผักสดอาจจะทำให้ยอดขายลดลง จึงแนวคิดที่จะทำการแปรรูปเป็นอาหารเพื่อเสริมให้กับผู้บริโภคอยู่
ควบคุมกับการขายผักสดไปด้วย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น