วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562

จังหวัดลำปางขับเคลื่อนนโยบายการป้องกัน และแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

นายสุรพล บุรินทราพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า ด้วยนายกรัฐมนตรี มีข้อห่วงใยต่อสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และได้มีข้อสั่งการในคราวประชุมเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 ณ ทำเนียบรัฐบาลให้ทุกจังหวัดดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกันแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 โดยให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ดำเนินการตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ (การแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนและในช่วงวิกฤต)

            - ให้ทุกหน่วยงานติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยประสานการตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศกับกรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) หรือ GISTDA อย่างใกล้ชิด เพื่อใช้ในการประเมิน วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์แจ้งเตือน และสร้างการรับรู้ให้ประชาชน

            - เมื่อปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน(50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ให้ทุกหน่วยงานบูรณาการในการแก้ไขปัญหา โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย และเพิ่มความเข้มข้นในการแก้ไขปัญหาในแต่ละระดับ(ระดับ 1-4) ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองโดยเฉพาะการควบคุมพื้นที่หรือควบคุมแหล่งกำเนิดที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือมีผลกระทบต่อประชาชน โดยการบังคับใช้กฎหมายในการหยุดกิจกรรมที่มีผู้ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เพื่อให้สภาพอากาศกลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว


            - ประชาสัมพันธ์ข้อแนะนำในการปฏิบัติตนให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง (เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย) ในการหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง และสวมใส่หน้ากากอนามัยผ่านช่องทางสื่อสารต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยประสานข้อมูลกับกรมควบคุมมลพิษ และกระทรวงสาธารณสุขพร้อมทั้งระมัดระวังการสื่อสารถึงประชาชน อย่าให้เกิดการตื่นตระหนก และกำหนดสถานที่พักชั่วคราว พร้อมทั้งบูรณาการหน่วยงานในการจัดระบบที่พักชั่วคราวที่สามารถป้องกัน และมีระบบแจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ตลอดจนการบริการสาธารณสุข เพื่อรองรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน เช่น ห้องประชุมเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรืออื่น ๆ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงผลกระทบทางสุขภาพจากภาวะหมอกควัน


Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์