วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

กฟผ.แม่เมาะรับใบประกาศเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ในโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

กฟผ. แม่เมาะรับมอบใบประกาศเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ในโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วนพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนแม่เมาะ หวังให้พื้นที่แม่เมาะเป็นเมืองอัจฉริยะแห่งหนึ่งของประเทศในอนาคต ภายใต้แนวทาง 3 Smart ได้แก่ Smart Environment, Smart Energy และ Smart Economy

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง  ในฐานะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ กฟผ. และพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (Mae Moh Smart City) พร้อมด้วย นายนิมิตร ผดุงศิลป์ไพโรจน์ นายอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นผู้แทนรับใบประกาศเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ในโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ จากพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธี ในงานสัมมนาและนิทรรศการนานาชาติ Digital Thailand Big Bang 2019 ซึ่งจัดโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค กรุงเทพฯ

 นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 กล่าวว่า ด้วยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมือง เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญอย่างเท่าเทียมกันในทุกภูมิภาคของประเทศไทย และกระทรวงพลังงาน โดยรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้ กฟผ. ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ กฟผ. แม่เมาะ ให้เป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ Mae Moh Smart City เพื่อให้ประชาชนโดยรวมอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน ซึ่งได้มีการประสานความร่วมมือกับทางจังหวัด และชุมชนชาวแม่เมาะ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนา โครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ที่มีการบริหารจัดการด้านพลังงาน และด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เป็นเมืองอัจฉริยะแห่งหนึ่งของประเทศในอนาคต


นิมิตร ผดุงศิลป์ไพโรจน์
ด้าน นายนิมิตร ผดุงศิลป์ไพโรจน์ นายอำเภอแม่เมาะ กล่าวว่า รู้สึกดีใจและภูมิใจแทนชาวอำเภอแม่เมาะที่นอกจากภาครัฐแล้ว ยังมี กฟผ. ที่ให้ความสำคัญในการริเริ่มแนวนโยบายที่ดีและสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นด้านความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนแม่เมาะ อาทิ สนับสนุนการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในการทำเกษตรกรรมเพื่อสร้างรายได้ที่คาดการณ์ได้ สร้างหมู่บ้านป่าไม้ชุมชน รวมถึงใช้ในการบริหารจัดการฝายชุมชน สร้างสตาร์ทอัพเพื่อผู้สูงอายุ ตลอดจนทดลองใช้แพลตฟอร์มที่ช่วย

อำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ โดยทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงประชาชนจะร่วมกันขับเคลื่อนไปพร้อมกับ กฟผ. ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของชาวอำเภอแม่เมาะ

 

ทั้งนี้ การดำเนินการโครงการพัฒนา Mae Moh Smart City ภายใต้โครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ กำหนดแผนการพัฒนาเมืองระยะเวลา 20 ปี โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2562 เพื่อดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอแม่เมาะภายใต้กรอบหลักการศาสตร์พระราชาและ Sustainable Development Goals (SDGs) ได้มีการบูรณาการงาน Corporate Social Responsibility (CSR) ในอำเภอแม่เมาะอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายพันธมิตรที่ร่วมออกแบบพัฒนาโครงการ Smart City เกิดการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจเพื่อสังคมในภาพรวม และระยะเริ่มต้น เพื่อพัฒนาภายใต้แนวทาง 3 Smart ได้แก่ Smart Environment, Smart Energy, Smart Economy ซึ่งประกอบไปด้วย Smart Agriculture และ Smart Tourism โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมและขับเคลื่อนด้วยชุมชนเองได้ สำหรับแผนระยะยาว เมื่อการพัฒนาเมืองใน 3 Smart ข้างต้นแล้ว และเกิดความพร้อมในการพัฒนาต่อเนื่องจะมีการขับเคลื่อน Smart People, Smart Mobility, Smart Governance และ Smart Living ต่อไป


Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์