วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

สิ่งแวดล้อมภาค 2 ย้ำยึดค่าฝุ่นจากเครื่องควบคุมมลพิษ ระบุเครื่องดัทบอยระบบประมวลผลต่างกัน วัดค่าละอองทั้งหมดในอากาศ ยังไม่ใช่ค่าฝุ่นแท้จริง เกรงประชาชนสับสน

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

สิ่งแวดล้อมภาค 2  ย้ำยึดค่าฝุ่นจากเครื่องควบคุมมลพิษ   สสจ.ระบุเครื่องดัทบอยใช้ระบบประมวลผลต่างกัน เพราะใช้หลักการหักเหของแสง ทำให้ค่าที่วัดได้จึงเป็นค่าโดยรวมของละอองทั้งหมดในอากาศทั้งฝุ่นควัน PM10 PM2.5 ละอองน้ำ ฯลฯ ค่าที่ปรากฏจึงยังไม่ใช่ค่าฝุ่นPM2.5ที่แท้จริง


จากกรณีที่มีสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่ง  นำเสนอข่าวการตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 ที่ จ.ลำปาง เมื่อวันที่ 26 ม.ค.63 ที่ผ่านมา โดยอ่านค่าจากเครื่องดัทบอย (Dustboy)ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่นำมาติดตั้งไว้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ต.ชมพู อ.เมืองลำปาง  ซึ่งมีค่าสูงถึง  411 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขณะที่เครื่องตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษ ที่ตั้งอยู่ ต.พระบาท อ.เมืองลำปาง วัดค่าได้ 111 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเท่านั้น  สร้างความสับสนใจประชาชนและผู้ที่ติดตามข่าวสาร ทางนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง จึงสั่งการให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 2 ลำปาง ชี้แจง พร้อมกับทำความเข้าใจกับประชาชนด้วย

 หลังจากมีการนำเสนอข่าวดังกล่าว ได้มีการนำเรื่องเข้าพูดคุยในที่ประชุม ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน (War Room) จ.ลำปาง วันที่ 27 มกราคม 63 ที่อุทยานแห่งชาติเขลางค์บรรพต โดยมีการอ้างถึงการตรวจวัดของเครื่องดัทบอยที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเคยมีการวัดค่าในหลายจังหวัดและค่าสูงเกินความเป็นจริง เช่น จ.พิษณุโลก และ จ.เพชรบูรณ์ 

 

ในเรื่องนี้ นายระพีศักดิ์ มาลัยรุ่งสกุล ผอ.สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 2 ลำปาง  กล่าวว่า การเผยแพร่ข้อมูลค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก จะใช้ค่ามาตรฐานของประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งของกรมควบคุมมลพิษค่ามาตรฐานคือไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ถ้าเกินค่าถือว่าได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ  ตอนนี้เกิดการสับสนว่ามีค่ามาตรฐานออกมาหลายแห่ง  ทางสำนักงานสิ่งแวดล้อมฯได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่องแล้ว  ปัจจุบันนี้เครื่องไม้เครื่องมือวัดคุณภาพอากาศสามารถหาซื้อได้ง่าย มีตั้งแต่ราคา 1000-2000 บาท ซึ่งการตรวจวัดจะเป็นค่าเรียลไทม์(คือการตรวจจับค่าทุกชนิด เช่น ฝุ่น ละอองน้ำ หมอกฯลฯ)  ยังไม่ใช่เป็นค่าเฉลี่ยที่แท้จริงของพื้นที่ เพราะฉะนั้นขณะนี้เรามีเครื่องตรวจวัดที่เป็นมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษอยู่จำนวน 4 สถานี เป็นระบบการคัดแยกละอองน้ำออกจากฝุ่น เพื่อทราบปริมาณฝุ่นที่แท้จริง จึงขอให้ติดตามข่าวสารจากค่าการวัดฝุ่นจากเครื่องของกรมควบคุมมลพิษเป็นหลัก

 
ด้านนายแพทย์ประเสริฐ กิจสุวรรณรัตน์  สาธารณสุขจังหวัดลำปาง  กล่าวเพิ่มเติมว่า เครื่องวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษกับเครื่องดัทบอย หรือเครื่องตรวจวัดขนาดเล็กทั่วไปนั้นใช้เทคนิคการวัดคนละแบบ ถ้าวัดแบบมาตรฐานของกรมาควบคุมมลพิษ จะมีฟิวเตอร์หรือกระดาษกรอง เวลาดูดอากาศเข้าไป ตัวกรองจะทำการกรองฝุ่นขนาดเล็ก และนำตัวฝุ่นจริงมาวิเคราะห์   โดยจะตัดละอองน้ำและหมอกเล็กๆออกไป ส่วนเครื่องดัทบอย รวมถึงเครื่องวัดขนาดเล็กอื่นๆ(เสี่ยวมี่) จะใช้การหักเหของแสงเพื่ออ่านค่าในสเกลสะท้อนแสง เมื่อละอองน้ำหรือหมอกกระทบกับแสง การหักเหของแสงก็อาจจะมีบางมุมทำให้ใกล้เคียงกับฝุ่นขนาดเล็กได้ จึงอ่านค่าทั้งหมด(ฝุ่น ละอองน้ำ หมอก ควันฯลฯ) โดยไม่ได้แยกฝุ่นที่แท้จริงออกไป ไม่มีการตัดตัวแปรอื่นๆออก ดังนั้นค่า PM2.5 ก็จะไม่ชัดเจน  แต่การนำเสนอข้อมูลไม่ได้มีการชี้แจงถึงตรงนี้ การอ่านค่าตามหน้าจอจึงทำให้ค่าของเครื่องต่างกันมากกับค่าของเครื่องกรมควบคุมมลพิษ  ประชาชนจึงเข้าใจผิด และคิดว่าราชการรายงานผลไม่เป็นความจริง   โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าเจตนาของเครื่องดัทบอย เพื่อต้องการให้ชาวบ้านได้รับทราบผลกระทบ รู้สถานการณ์ที่แท้จริง และตื่นตัวในการป้องกันมลพิษ ค่าจะเป็นเรียลไทม์มากกว่าของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งของกรมจะเป็นการรายงานค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง

ขณะที่ทางเพจ CCDC: Climate Change Data Center ของ ม.เชียงใหม่ ได้ชี้แจงว่า การอ่านข้อมูล PM2.5การดูจากเซ็นเซอร์ หรือ ดูจากเครื่องวัดใดๆ โดยตรง จะเป็นค่าชั่วขณะ ณ ปัจจุบัน เรียลไทม์ (รายวินาที หน่วยไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) การดูจากเว็บ https://www.cmuccdc.org/ โดยเซ็นเซอร์ DustBoy เป็นการวิเคราะห์จากข้อมูลเรียลไทม์ เฉลี่ยเป็น ค่าเฉลี่ยรายชั่วโมง หรือ ค่าเฉลี่ยรายวัน (มี 2 เมนู) และมีแยกเป็นค่าฝุ่น (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และ ค่า AQI ทั้งการคิด AQI เฉพาะ PM2.5 ของประเทศไทย และแบบ US EPA AQI การดูแอพพ์ Air4Thai เป็นค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 24 ชม.ตัวเลขในวงกลม จะเป็นค่าฝุ่น (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) บางคนที่ยังไม่ทราบตรงนี้เลยมักจะเข้าใจผิด


Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์