วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ลำปางต้องเส้นเปียก

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นช่วงที่ไทยมีการติดต่อกับชาวต่างชาติมากมาย รวมทั้งชาวจีนด้วย โดยชาวจีนได้นำเอาก๋วยเตี๋ยวเข้ามากินกันในเรือ มีการต้มในน้ำซุป ใส่หมู ใส่ผักและเครื่องปรุงเพื่อความอร่อย สำหรับคนไทยในยุคนั้น จึงสันนิษฐานว่าเส้นก๋วยเตี๋ยวในประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงนี้เป็นแน่แท้

ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ถือเป็นช่วงยุคทองของเส้น เพราะมีการคลอดนโยบายรัฐนิยมที่สนับสนุนให้ประชาชนบริโภคก๋วยเตี๋ยว ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล จอมพล ป. เห็นว่าหากประชาชนหันมาร่วมกันบริโภคก๋วยเตี๋ยว จะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติในตอนนั้น เพื่อให้เงินหมุนเวียนในประเทศนั่นเอง (วิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์, 2562, [ออนไลน์])

ประเภทของเส้น


จากการสอบถามพ่อค้า แม่ค้าที่คลุกคลีกับเส้นต่างๆ มาหลายสิบปี ก็ทำให้ได้รู้ว่าเส้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ เส้นแบบเปียก และเส้นแบบแห้ง โดยเส้นแบบเปียกจะเป็นเส้นที่มีความเปียก และนุ่มในตัวอยู่แล้วแม้ยังจะไม่ผ่านกรรมวิธีการต้มหรือลวก ซึ่งมีอยู่ 5 เส้น ได้แก่ เส้นแผ่น เส้นใหญ่ เส้นเปียก ข้าวเปียกเส้น (ก๋วยจั๊บญวน) เส้นก๋วยเตี๋ยวพม่า (หมี่เหลือง) ส่วนเส้นแบบแห้งคือเส้นที่ปกติจะแข็ง ถ้าผ่านการต้มหรือลวกจะเหนียวนุ่ม ก็จะมีอยู่ 2 เส้นเช่นกัน ได้แก่ เส้นเล็ก เส้นหมี่ขา

ไม่ใช่เส้นใหญ่แต่ไม่ถึงขั้นเส้นเล็ก

เส้นเปียก เป็นชื่อที่รู้จักกันในโซนของภาคเหนือ (หากไปสั่งแถวกรุงเทพฯ ต้องบอกแม่ค้าว่า เส้นผัดซีอิ๊ว จึงจะถึงบางอ้อ) เนื่องจากต้นตระกูลของเส้นนี้อยู่ที่เชียงใหม่เมืองแห่งอารยธรรมที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือนั่นเอง


เส้นเปียกของเชียงใหม่ ถือเป็นเส้นโบราณ ที่มีความเหนียวนุ่ม มีเอกลักษณ์ เป็นที่ชื่นชอบของผู้เฒ่าผู้แก่ ด้วยความพิเศษของเส้นนี้ทำให้เมืองที่มองไปทางไหนก็เจอแต่ร้านก๋วยเตี๋ยวอย่างลำปาง จนต้องสั่งเส้นเปียกจากเชียงใหม่ มาเป็นวัตถุดิบในการทำก๋วยเตี๋ยวด้วย อาจจะเป็นเพราะเมืองลำปางเป็นเมืองที่มีร้านก๋วยเตี๋ยวลือชื่ออยู่หลายแห่ง และมีการนำเส้นเปียกมาใช้ทำก๋วยเตี๋ยวมาเป็นเวลานาน จึงทำให้มีการเข้าใจผิดว่าเส้นเปียกเป็นเส้นที่มีต้นกำเนิดมาจากลำปาง จนบ้างก็เรียกกันติดปากว่า “เส้นลำปาง”

เมื่อสั่งก๋วยเตี๋ยวมักเจอสองสิ่งนี้อยู่คู่กัน

เวลาไปร้านก๋วยเตี๋ยวหากใครลองสังเกตก็จะเจอว่าบางร้านมีน้ำส้มมาให้เลือกถึง 2 แบบด้วยกัน คือน้ำส้มแบบพริกตำ หรือพริกส้มแดง และพริกหั่นดอง เจอแบบนี้แล้วบางคนก็จะแอบ “เอ๊ะ?” ในใจว่าทำไมกัน ลานนาโพสต์จึงไปสืบค้นข้อมูลมาไขข้อข้องใจให้แก่ทุกท่าน จนไปเจอกระทู้พันทิปกระทู้หนึ่ง จากสมาชิกหมายเลข 902068 ที่ถามว่า 'เวลาไปกินก๋วยเตี๋ยวที่ร้านเคยสังเกตไหมว่าทำไมต้องมีน้ำส้ม 2 แบบให้เราเลือก' ในการนี้ก็ได้คำตอบจากสมาชิกที่ใช้ชื่อว่าคุณใบยี่หร่า ที่ได้รับการยืนยันจากสมาชิกที่ใช้ชื่อว่า ฉันคือความหวังของวันพรุ่งนี้ :ที่บอกว่าว่า “ความเห็นนี้ถูกต้องจ้าคอนเฟิร์มจากประสบการณ์เป็นเด็กขายของอยู่ตลาดโต้รุ้งมา 10 กว่าปีจ้า” ซึ่งคำตอบของคุณใบยี่หร่าสามารถสรุปได้ดังนี้


น้ำส้มแบบตำ จะใส่พวก ก๋วยเตี๋ยวลุกชิ้นเนื้อ ลูกชิ้นหมู ก๋วยจั๊บ ก๋วยเตี๋ยวหลอด  ส่วนแบบพริกหั่นดอง จะใส่ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา บะหมี่ ราดหน้า ผัดซีอิ๊ว โดยบางร้านจะมีให้สองแบบเพราะลูกค้าบางคน ไม่ทานพริก ต้องการแต่รสเปรี้ยว ก็จะตักน้ำส้มที่อยู่ในโถพริกหั่นดองได้ เพราะน้ำส้มแบบนี้ไม่เผ็ด มี่แต่เปรี้ยว  ส่วนแบบตำ น้ำส้มจะมีรสเผ็ดด้วย 

นอกจากนี้จากที่ได้สังเกตมาก็จะเห็นว่าร้านที่เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวน้ำใสโดยเฉพาะจะมีเพียงพริกหั่นดอง เช่น ร้านโกเด้งโฮเด้ง ร้านชายสี่บะหมีเกี๊ยว เป็นต้น


เกษณี ตั๋นตุ้ย นักศึกษาฝึกงานสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง



ภาพ : http://www.aurareefood.com/portfolio-item/07-pickled-chilli/https://twitter.com/thelemarac/status/982177944263995398


Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์