
มีพจนานุกรมสักเล่มเอาไว้ขยายความหมายของคำๆนั้น
คงจะดีไม่น้อย เพราะบางคำเราคงเข้าใจความหมายอย่างเช่นคำว่า สามารถ
แต่พอจะให้อธิบายความหมายก็คงตอบไม่ได้
คงมีหลายคำที่ใช้คำนั้นๆ
แต่พอจะให้อธิบายความหมายก็อึดอัดใจ ไม่รู้จะพูดจะอธิบายอย่างไรกันดี
ดังนั้นควรมีพจนานุกรมสักเล่ม เพื่อจะได้ความกระจ่างในความหมายของคำนั้นๆ
และเข้าใจคำนั้นได้ดีกว่าเดิม
พจนานุกรม ก็คือ
หนังสือค้นคว้าความหมายของคำต่างๆ โดยลำดับตามอักษรตามภาษาไทย เริ่มจาก ก.ไก่ ถึง
ฮ. นกฮูก เอาทีเดียวและยังเพิ่มอีก 2 คำ คือ ฤ กับ ฤา
อย่างคำว่า 'สามารถ' พอเปิดหนังสือพจนานุกรม
ก็ได้ทราบความหมายและก็เข้าใจคำนี้ได้ดีกว่าเดิม 'สามารถ'
หมายถึง เก่ง มีคุณสมบัติเหมาะจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งกัน
ในสมัยที่เราได้เรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยริมสายน้ำเจ้าพระยา ที่แห่งแรกก็คือ ผ่านท่าพระจันทร์ ตั้งแต่เข้าเรียน
พ.ศ.2505 โน่น ก็หลายสิบปีที่ผ่านมายังคงรำลึกถึงถิ่นที่เราเรียน
และที่แห่งนี้ทุกคน ดูเหมือนจะมีความเท่าเทียมกับสมัยนั้นและสมัยต่อ ๆ
มาจนปัจจุบันนี้ ทุกคนที่เป็นนักศึกษาต่างก็เน้นว่าเป็นเพื่อนกันตลอด
ในที่แห่งนี้มีสิทธิเสรีภาพเท่ากันทุกตารางนิ้ว ไม่มีประเพณีรับน้องใหม่
แต่มีการรับเพื่อนใหม่แทน ซึ่งดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้พูดว่าการรับเพื่อนใหม่ของ
มธ.(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) นั้นไม่ใช่ประเพณี
เป็นการที่ลูกแม่โดมรุ่นก่อนมีความดีใจที่ได้ต้อนรับเพื่อนใหม่และก็เป็นลูกแม่โดมคนใหม่ด้วย
ในการนี้คงจะให้เพื่อนคนใหม่ขึ้นเวทีแนะนำว่าจบจากที่ใดจังหวัดไหน และถามทีละคน อีกคำถามหนึ่งที่ต้องถามทุกคนว่า
ทำไมมาเข้าธรรมศาสตร์ ก็มีหลาย ๆ คนตอบต่าง ๆ
กันบ้างก็ว่าชอบความเสรีภาพของที่นี่ที่รุ่นก่อนไม่แกล้ง เล่นสนุก
เล่นเกมส์แปลกๆกับรุ่นหลัง จนได้รับบาดเจ็บเข้า รพ. หรือถึงกับตายอย่างที่อื่นๆ
บางคนก็ว่าแค่ชื่อก็อยากเข้าแล้วบางคนเข้าตามเพื่อนฝูง
และในการเลี้ยงมีแต่น้ำเปล่า ๆ น้ำหวาน น้ำอัดลม ไม่มีเครื่องดื่มมึนเมา
และมีขนมขบเคี้ยวกันเท่านั้นและค่าใช้จ่ายในครั้งนั้นจำได้ว่า ดร.ป๋วย อึ้งภรกรณ์
เป็นคนออกเพียงผู้เดียว ก็คงเป็นเพราะ ดร.ป๋วย
ก็คงดีใจที่รับเพื่อนคนรุ่นใหม่กันด้วย เพราะ ดร.ป๋วย
นั้นก็เป็นศิษย์เก่าของธรรมศาสตร์ด้วยเช่นกัน
และในรุ่นของเราที่แยกย้ายมาเรียนคณะเศรษฐศาสตร์กันในปีที่ 3 เพราะ 2 ปีแรก
ทุกคนเรียนรวมกันที่คณะศิลปะศาสตร์ เป็นโครงการใหม่ของธรรมศาสตร์ยุคนั้น
ที่รุ่นเราเองก็คงเป็น มธ.ศิลปศาสตร์ รุ่นแรก ปี พ.ศ.2505 กว่าจะเข้าเรียนคณะที่รักที่ชอบก็ปาไปปี
3 แล้ว และรุ่นเรามีชายหนุ่มรุ่นสูงโย่งมาจากจังหวัดสุพรรณบุรี ชื่อ ตังกวย แซ่ลี้
และก็มีฝ่ายหญิงชื่อ อมรา รูปร่างเธอสูงโย่ง ทั้งนามสกุลเธอ เสาธง ทั้งตังกวย
และอมราก็เป็นดาราหนังคู่นิยมสมัยนั้น คือมิตรกับเพชรา พอตังกวยใกล้จะจบเขาได้ไปเปลี่ยน
ชื่อ –
สกุล ใช้ว่า สมุทร หัตถสังห์
ซึ่งชื่อของพวกเขาพวกเราต่างไม่รู้ความหมายแม้เราจะรู้จักคำว่าทะเล มหาสมุทรนั้น
แต่สมุทรคำโดด ๆ
ตัดมหาออกเราไม่รู้ไม่เข้าใจเลยก็เห็นจะต้องเพิ่งหนังสือพจนานุกรรมกัน
เปิดดูตามลำดับอักษร ค้นดูคำว่า “สมุทร” ก็ถึงบางอ้อกันในหนังสือนั้น สมุทร ก็คือ ทะเลนั้นเอง
และคำว่า อัมผวา
เราและใคร ๆ ก็รู้ว่าคำนี้ไพเราะดี
แต่ถามหาคำหมายก็ดูเหมือนจะไม่มีใครตอบได้กันสักคนเลย
ก็เลยต้องพึ่งหนังสือพจนานุกรมกันอีก ก็ได้ความหมายว่าสวนป่ามะม่วงกันไป
แล้วมาดูคำว่า 'เคารพ' เราพอจะรู้แต่ก็อธิบายไม่ได้ต้องพึ่งหนังสือเล่มนี้อีกก็ได้ความหมายว่า
นับถือไม่ล่วงเกินและมาค้นดูความหมายคำนับถือ ก็คือยกย่อง ศรัทธา เชื่อถือ
ดังนั้นคำว่าเคารพกับนับถือ ความหมายคงจะเป็นอันเดียวกัน บางที่จึงรวม 2 คำเป็น “เคารพนับถือ” กันเสียเลยและคำว่าไหว้
ก็คือทำความเคารพ ทักทายด้วยการยกมือไหว้นั่นเอง
ดังนั้นมีหนังสือพจนานุกรมสักเล่มก็จะทำให้เรา
ๆ ท่าน ๆ ได้แตกฉาน เข้าใจและรู้คำแต่ละคำอย่างลึกซึ้งกันได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น