วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2563

พระพุทธรูป

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

พระพุทธรูป เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนใจให้ชาวพุทธ ได้ระลึกถึง เพื่อเป็นพุทธานุสสติ ให้น้อมไปในพระคุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็น “สยัมภู” ตรัสรูชอบได้โดยพระองค์เอง

พระพุทธรูปทรงคุณค่าดังนี้
1.   เป็นองค์แทนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
2.   ถ้ามีพระพุทธลักษณะถูกต้องตามตำราทำให้เกิดศรัทธาความเชื่อความ ความเลื่อมใส จากพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
3.   พระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์ของการเผยแพร่พระพุทธศาสนา คือ พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่อยู่ ณ ที่ใด ที่แห่งนั้นพระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรื่อง
4.   พระพุทธรูปเป็นเหตุน้อมนำให้คลายกังวล ความเครียดลดลงจิตใจสงบเย็น
5.   พระพุทธรูปคือความมั่นคง พระพุทธศาสนานำพาสันติสุขสู่โลก พระพุทธรูปศิลปะไทยต่าง ๆ

พระพุทธรูป สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16)
          ลักษณะพระพุทธรูปได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดีย คือศิลปะอมราวดี ศิลปะคุปตะ ศิลปะหลังคุปตะ ศิลปะปาละ ที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ ศิลปะคุปตะ การครองจีวรห่มคลุม จีวรเรียบไม่มีริ้ว

พระพุทธรูป สมัยศรีวิชัย  (พุทธศตวรรษที่ 13 - 14)
          เป็นศิลปะที่พบทางภาคใต้ ซึ่งในสมัยศรีวิชัย การนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานเป็นส่วนใหญ่เช่น การสร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพุทธรูปรุ่นแรก ๆ จึงพบอิทธิพลของศิลปะอมราวดี และศิลปะคุปตะจากอินเดียปนอยู่

พระพุทธรูป ศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย (12 – 18)
งานศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทยนั้น ส่วนมากพบในภาคอีสานตอนใต้ แต่แพร่หลายปาภคอีสานตอนเหนือ และภาคกลางเป็นงานศิลปกรรมที่สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู โดยสร้างเทวรูปเป็นส่วนใหญ่ การสร้างรูปเคารพในพระพุทธศาสนาเป็นส่วนน้อย

พระพุทธรูป ศิลปะสมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 18 - 20)
งานศิลปกรรมสมัยสุโขทัยเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทที่รับอิทธิพลมาจากลังกาและพม่า นิยมแบ่งพระพุทธรูป 4 หมวด คือ
1.    หมวดแรก เป็นพระพุทธรูปที่มีอิทธิพลของศิลปะปาละ
2.    หมวดใหญ่ หมายถึง หมวดที่มีการสร้างอย่างแพร่หลายได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกา
3.    หมวดกำแพงเพชร พบมากแถบเมืองกำแพงเพชร ลักษณะคล้ายหมวดใหญ่
4.    หมวดพระพุทธชินราช ได้แก่ พระพุทธรูปสกุลช่างเมืองพิษณุโลก มีลักษณะต่างจากหมวดใหญ่เล็กน้อย คือพระพักตร์อวบอ้วนมากกว่า และที่สำคัญคือการทำปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน

พระพุทธรูป สมัยล้านนา (พุทธศตวรรษที่ 19 - 23)
พระพุทธรูปในสมัยล้านนา มี 2 สาย
สายแรก แสดงอิทธิพลของศิลปะปาละ
สายที่ 2 แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย

พระพุทธรูป สมัยอู่ทอง (พุทธศตวรรษที่ 17 - 19)
          แบบอู่ทองเป็นชื่อเรียกศิลปะที่เกิดขึ้นในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย แถบเมืองลพบุรี และสุพรรณบุรี ในช่วงก่อนก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาที่เรียกว่าอู่ทอง

พระพุทธรูป สมัยอยุธยา (ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 24)
          นอกจากกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางทางการเมืองปกครอง ยังเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาที่สำคัญของภูมิภาคนี้ พระพุทธรูปสมัยนี้ เน้นศิลปะสืบต่อจากพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นแรกและรุ่นที่ 2

พระพุทธรูป สมัยรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษ 24 – ปัจจุบัน)
          ลักษณะสืบทอดมาจากพระพุทธรูปสมัยอยุธยา พระพุทธที่งดงามที่สุดของประเทศไทยคือ พระพุทธชินราชที่พระวิหารใหญ่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.เมือง จ.พิษณุโลก หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ  5นิ้ว สูง 7 ศอก พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย) รัชกาลที่ 5 กรุงสุโขทัยสร้าง พ.ศ.1900


Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์