
การรับฟังที่ดี
การรับฟัง
คือการเปิดโอกาสและเวลาให้คนอื่นได้พูด โดยเราต้องใช้อวัยวะ 2 อย่างในการรับฟัง
ก็คือ หูของเรา ต้องฟังว่าเขานั้นพูดอะไร ฟังให้ได้ใจความกัน ไม่ใช่ฟังหูซ้ายแล้วไปทะลุหูขวา
เพราะฟังอย่างนี้ไม่ฟังจะดีกว่า เพราะนอกจากเป็นการเสียเวลาของผู้พูดด้วย แล้วยังเป็นการไม่ให้เกียรติแก่คนพูดอีกด้วยถือว่าเสียมารยาทอย่างมาก
และขณะรับฟังเขาพูดนั้นควรจะให้เขาพูดอย่างอิสระ อย่าได้ไปขัดจังหวะการพูดของเขา
เท่ากับการฟังครั้งนั้นสะดุดไปแล้ว อาจทำให้เขาคนพูดไม่พอใจเอาได้
ปล่อยให้เขาได้พูดจบกระบวนการก่อน แล้วค่อยถามนั้นก็ยังไม่สายไป และจะได้อะไรดี ๆ ที่จะเป็นแนวคิด
สิ่งใหม่เกิดขึ้นจากความคิดของคนฟัง ในขณะฟังนั้นควรจะใช้สมองไตร่ตรอง วิเคราะห์
ถ้อยคำ ข้อความ ของคนฟังน่าเชื่อถือ น่าเลื่อมใส มีเหตุผลกันหรือไม่
หรือที่เขาพูดนั้นโกหกทั้งเพเอาเรื่องมาโม้ เพื่อให้เกิดความสนุกสนานกันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ที่จะมีความเพลิดเพลินใจที่อยู่พื้นฐานของคำโม้ ๆ ตลอดเรื่อง
การรับฟังแสดงถึงการให้ความเคารพ
นักจิตวิทยากล่าวว่า “การรับฟังต่างหากที่มีรูปแบบของการแสดง การชื่นชมสรรเสริญที่จริงใจที่สุด หาใช่เลียนแบบไม่”
เมื่อไหร่ก็ตามที่ท่านไม่ใส่ใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด
ท่านกำลังบอกพวกเขาว่าท่านไม่เห็นคุณค่าของพวกเขา แต่เมื่อท่านรับฟังผู้อื่น
ท่านกำลังส่งสารถึงพวกเขาว่าท่านเคารพพวกเขา ยิ่งไปหว่านั้นท่านแสดงว่าท่านเอาใจใส่
ท่านสามารถสร้างเพื่อนในเวลา 2 สัปดาห์ โดยพยายามเป็นนักฟังที่ดีได้มากกว่าการพยายามสร้างเพื่อนในเวลา 2 ปี ด้วยการพยายามดึงความสนใจให้ผู้อื่นมาฟังท่าน
ผู้คนที่มุ่งแต่ความสนใจของตนเองมากและพูดคุยเกี่ยวกับพวกเขาเองหรือความกังวลของตัวเองตลอดเวลา จะสามารถพัฒนา สัมพันธภาพที่เข้มแข็งกับผู้อื่นได้ยากมาก
“ทุกคนต้องการใครสักคน ซึ่งเขารู้สึกว่ารับฟังเขาจริงๆ ”
“เมื่อท่านเป็นผู้รับฟังที่สำคัญ
ท่านกำลังช่วยเหลือบุคคลนั้น
และกำลังมีพัฒนาการที่สำคัญก้าวสู่เป็นบุคคลผู้มีบทบาทในชีวิตของเขาเหล่านั้น”
การรับฟังช่วยเพิ่มพูนความรู้
การฟังที่ดีไม่เพียงเป็นที่นิยมในทุก
ๆ ที่เท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปช่วงหนึ่งเราจะเรียนรู้บางอย่างด้วย
“พึงระวังตัวของท่านในสถานการณ์ที่ทำให้ท่านคิดว่าท่านรู้คำตอบทั้งหมดทุกครั้งที่ท่านทำเช่นนั้น
ท่านกำลังวางตัวเองในห้วงอันตราย”
“เป็นไปไม่ได้เลยในขณะที่ท่านคิดว่าตัวเองเป็น
“มืออาชีพ” แล้วจะสามารถเติบโต จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในขณะเดียวกันได้”
“ผู้เรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ทุกคน
ย่อมเป็นผู้รับฟังที่ยิ่งใหญ่เช่นกัน”
“ปัญหาธรรมดาอย่างยิ่ง เมื่อคนได้รับอำนาจมากขึ้นก็คือ
การรับฟังผู้อื่นน้อยลง โดยเฉพาะการรับฟังผู้ใต้บังคับบัญชา”
การรับฟังก่อให้เกิดความคิด
“เมื่อท่านรู้ว่าฟังอย่างไร
ท่านจะได้กำไรจากการฟัง
แม้คนพูดจะไม่เอาไหน”
“ความคิดใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน จะช่วยให้เราพบว่าแนวทางใหม่
ๆ ในการแก้ปัญหาเก่า ๆ ช่วยก่อให้รบกวนการทำงานใหม่ ๆ”
“เมื่อท่านรับฟังผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง
ท่านจะไม่มีทางขาดแคลนความคิดดี ๆ เลย”
“ถ้าท่านให้โอกาสได้แบ่งปันความคิดและรับฟังพวกเขาด้วยจิตใจที่เปิดกว้าง
ความคิดใหม่ ๆ ก็จะเกิดขึ้นได้เสมอ”
การับฟังเป็นวิธียิ่งใหญ่ที่ช่วยเหลือผู้อื่นและท่านเอง
จงให้ผู้อื่นเชื่อใจจนเล่าเรื่องทุกอย่างให้ท่านฟังได้
ซึ่งมันอาจไม่เป็นประโยชน์ต่อท่านแต่มันเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นอย่างแน่นอน
ฉะนั้นการฝึกฝนเกิดทักษะในการรับฟังที่ดีจะดึงผู้คนเข้ามาสู่ท่าน
เพราะมันไม่ต่างจากที่เรามักจะเข้าไปหาเพื่อนที่รับฟังเราและอยากนั่งใกล้ ๆ
ในรัศมีพวกเขา
นี่แหละคุณของการรับฟังที่ดี
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น