วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563

AIS ผนึก STeP เดินหน้านำเทคโนโลยี 5G ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเหนืออย่างยั่งยืน


จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

          AIS โดย นายพรรัตน์ เจนจรัสสกุล หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ พร้อมด้วย STeP โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (แม่ข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล สนับสนุนงานวิจัย พัฒนา นวัตกรรม ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเหนือเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

นายพรรัตน์ เจนจรัสสกุล หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “เอไอเอส ในฐานะผู้นำเครือข่าย 5G ชั้นนำระดับภูมิภาคและอันดับ 1 ในไทยที่มีคลื่นมากที่สุด และครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนืออย่างในจังหวัดเชียงใหม่ เราได้ขยายเครือข่าย 5G ในพื้นที่สำคัญหลายแห่ง ทั้งแหล่งท่องเที่ยว ช้อปปิ้งมอลล์ และสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นประตูท่าแพ, วัน นิมมาน, Think Park และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


สำหรับความร่วมมือกับอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในครั้งนี้ จึงถือเป็นอีกก้าวย่างที่สำคัญในการนำโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่แข็งแกร่งของเอไอเอส มาสร้างสรรค์ประโยชน์ สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เสริมขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ภาคอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือให้ก้าวสู่ยุค Industry 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ โดยล่าสุด เอไอเอส ได้เปิดให้บริการ 5G SA (Stand Alone) ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งก้าวย่างสำคัญของการต่อยอดนวัตกรรมเครือข่าย AIS 5G ที่จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อภาคอุตสาหกรรมไทย เนื่องจากการพัฒนานวัตกรรมเครือข่าย 5G จำเป็นต้องอาศัยคุณสมบัติของ 5G SA โดยเฉพาะ ด้วยประสิทธิภาพการใช้งานทั้งด้านความเร็ว ความหน่วงต่ำ และการเชื่อมต่อเทคโนโลยี IoT จำนวนมาก รวมถึง เทคโนโลยี 5G Network Slicing ที่ช่วยปรับแต่งคุณสมบัติเครือข่ายและทรัพยากร เพื่อให้สอดคล้องและยืดหยุ่นกับลักษณะการใช้งานแต่ละรูปแบบ ในแต่ละพื้นที่ของภาคธุรกิจได้อย่างคล่องตัว ทำให้สามารถรับประกันคุณภาพของการเชื่อมต่อและความเร็วได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเทคโนโลยี 5G Multi - access Edge Computing (MEC) ที่สามารถนำ Application Server ให้เข้าใกล้ผู้ใช้งานมากที่สุด ช่วยให้สามารถใช้งานเครือข่ายด้วยการเข้าถึงแบบไร้สาย เพื่อให้บริการประมวลผลในปริมาณมากและมีความปลอดภัยสูงสุด ก็ล้วนเป็นศักยภาพที่ทำได้เฉพาะใน 5G SA เท่านั้น ด้วยความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลเทียบเท่าระดับโลก ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล จะเป็นข้อได้เปรียบสำหรับการแข่งขันบนเวทีโลก  ทั้งนี้ ในปัจจุบัน เอไอเอส ถือเป็นโอเปอร์เรเตอร์เพียงรายเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้บริการ 5G Dual Mode ทั้งแบบ SA (Stand Alone) เครือข่าย 5G เฉพาะ และ NSA (Non-Stand Alone) เครือข่าย 5G ที่ทำงานร่วมกับ 4G บนคลื่นความถี่ 2600 MHz”


ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “เทคโนโลยี 5G จะเข้ามาสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในด้านโทรคมนาคมร่วมกันของภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐบาล โดยมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยผลักดันและสนับสนุนสภาวะแวดล้อม (Ecosystem) ที่เอื้อประโยชน์ให้เกิดการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการ Smart Building ของอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) และโครงการ Smart Factory ของโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหารครบวงจร (Innovative Food Fabrication Pilot Plant) ที่เทคโนโลยี 5G จะสร้างการผลิตและการบริการรูปแบบใหม่ในประเทศ ซึ่งเสริมสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลตามนโยบายของรัฐบาลไทย ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่า ด้วยความแข็งแกร่งในการผนึกกำลังด้านเทคโนโลยีครั้งนี้และด้วยวิสัยทัศน์ที่มีร่วมกันในการนำ 5G Digital Infrastructure มาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จะเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมทางด้านโทรคมนาคมในประเทศได้อย่างสมบูรณ์”

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์