วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ดนตรี VS เพลง เหมือนหรือต่างกัน??


จำนวนผู้เข้าชม best free website hit counter


ดนตรีกับเพลง เป็นสิ่งที่แทบจะแยกกันไม่ออก หลายคนเข้าใจว่ามันก็เหมือนๆกัน ดูจะเป็นสิ่งคู่กันไป เรามาดูคำนิยามความหมายของ 2 คำนี้กัน

 

ดนตรี คือ เครื่องบรรเลงที่เป็นเครื่องเล่นให้เกิดเสียง เพื่อจะให้มีการร้องรำทำเพลง ในการเล่นสนุกทางเสียงกัน มีความสุขในการร้อง การทำดนตรีเครื่องเสียง เป็นการบันเทิงทางเสียง

 

เพลง คือ สำเนียงขับร้องของคนร้องตามทำนองของเครื่องเสียงของดนตรีที่มีชิ้นส่วนเครื่องเล่นหลาย ๆ ชิ้น ที่มีเสียงกลอง และเสียงเบสค่อยกำกับให้จังหวะในการเล่น การร้อง ให้เป็นเสียงเพลงเสียงร้อง เกิดเป็นความไพเราะทางเสียง ที่สร้างความสุขสนุกสนานตามงานรื่นเริง งานพิธี งานกีฬาการแข่งขันต่าง ๆ งานเศร้า ๆ ประกอบพิธีทางศาสนาก็เอาเครื่องดนตรี เสียงร้องมาประกอบในงานอีกด้วย

 

ดนตรีเป็นศิลปะของการใช้เสียง เกิดขึ้นมาในโลกพร้อม ๆ กับมนุษย์นั่นเอง การแสดงออกทางดนตรีของมนุษย์เป็นไปตามธรรมชาติ เช่น การเคาะไม้ เคาะหิน เป่าปาก เป่าเขา การตบมือ ฯลฯ โดยทำไปเพื่อรวมกลุ่มให้สัญญาณ อ้อนวอนพระเจ้า หรือเพื่อความบันเทิงผ่อนคลาย ต่อมาดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญ และความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ การเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของดนตรี จะช่วยให้เรามีวามเข้าใจซาบซึ้ง และเห็นคุณค่าทางดนตรี

 

ประวัติดนตรีไทย

ชนชาติไทยมีดนตรีมาแต่โบราณ ดนตรีถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เวลาทำบุญที่มีพระสงฆ์สวดมนเย็น ก่อนจะเริ่มงานก็มีปี่พากย์โหมโรง และตีกลองดังตุ้ม ๆ  บอกให้รู้ว่างานเริ่มขึ้นแล้ว

 

เครื่องดนตรีไทยประกอบด้วย เครื่องดีด สี ตี เป่า

1. เครื่องดีด ได้แก่ เครื่องดนตรีจำพวกที่มีสาย มีกะโหลกเสียง และใช้นิ้วหรือไม้ดีดให้เกิดเสียง

2. เครื่องสี เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้สายและคันชักติดขนหางม้าสำหรับตี เช่น ซอชนิดต่าง ๆ

3. เครื่องตี มีทั้งประเภททำด้วยไม้ โลหะ และหนัง เช่น ระนาด กรับ ฉิ่ง ฉาบ กลอง เป็นต้น

4. เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ลมเป่าเป็นส่วนมาก ได้แก่ ขลุ่ย ปี่ แคน แตร สังข์

           

เพลงดนตรีไทย มีทำนองต่าง ๆ  บางชนิดมีทำนองเรียบ เรียกว่า เพลงพื้น บางชนิดเดินทำนองเป็นเสียงยาว โดยใช้เครื่องตีตีกรอเสียงให้ยาว เรียกว่าเพลงกรอ เป็นต้น เพลงไทยแบ่งตามลักษณะของเพลงได้เป็น 4 ประเภท คือ

 

1. เพลงหน้าพากย์ ได้แก่ เพลงที่ประกอบกริยาเคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งของมนุษย์ สัตว์ วัตถุต่าง ๆ

2. เพลงรับร้อง คือ เพลงที่บรรเลงประกอบรับจากการร้องจะเล่นกับเพลงสามชั้น

3. เพลงละคร  คือ เพลงที่บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร มหรสพต่าง  ๆเล่นกับเพลงสองชั้น

4. เพลงเบ็ดเตล็ด ได้แก่ เพลงเล็ก ๆ สั้น ๆ บรรเลงเพื่อความสนุกสนาน

           

การขับร้องเพลงไทย ผู้ขับร้องจะต้องนั่งพับเพียบตัวตรง ท่าทางสำรวม หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส การร้องจะต้องเปล่งเสียงให้ชัดถ้อยชัดคำ ถูกจังหวะและทำนอง มีการเอื้อนเสียง

เพลงไทยสากล จะมีเนื้อร้องเต็มทำนองไม่มีการเอื้อนสียง การขับร้องจะง่ายกว่าการขับร้องเพลงไทยเดิม การขับร้องเพลงไพเราะ ผู้ขับร้องต้องร้องให้เต็มเสียง ชัดถ้อยชัดคำร้องได้ถูกจังหวะและทำนอง อาจมีการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพื่อถ่ายทอดอารมณ์เพลง

           

ประวัติดนตรีสากล ดนตรีสากลในระยะแรกมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้น เรียกว่า “Melody” ไม่มีการประสานเสียง ต่อมาจึงเริ่มใช้เสียงต่าง ๆ มาประสานกันอย่างง่าย ๆ

 

การเล่นดนตรี ดนตรีมีทั่วไปทุกหนทุกแห่งในโลก บางครั้งเครื่องดนตรีชนิดเดียวกันแต่ประกอบด้วยวัสดุแตกต่างกันไปตามสภาพของแต่ละท้องที่ ตัวอย่างเช่น กลอง บางแห่งจะขุดขอนไม้ให้เป็นโพรงแล้วใช้หนังสัตว์ขึงรอบขอนไม้ แต่บางแห่งก็ใช้โลหะ กลองแต่ละเทศเวลาตีก็มักให้เสียงที่แตกต่างกันออกไป  

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์