เมื่อวันที่ 23 เม.ย.64
นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วย
ว่าที่พันตรีอดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ นายจำลักษ์ กันเพ็ชร์
รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายประเสริฐ กิจสุวรรณรัตน์
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง นางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร นายก อบจ.ลำปาง ตรวจสอบความพร้อมของโรงพยาบาลสนามภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จำนวน 80 เตียง โดยมีการจำลองเหตุการณ์รับผู้ป่วยเข้าดูแลภายในโรงพยาบาลสนาม
พร้อมแถลงสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ของ จ.ลำปาง
ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
กล่าวว่า สำหรับความพร้อมของหน่วยบริการ โรงพยาบาลประจำอำเภอทุกอำเภอ
มีการปรับบทบาทในการรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 มีเตียงรองรับผู้ป่วยได้ถึง 290
เตียง จากจำนวนเตียงทั้งหมด 1,240 เตียง
เครื่องช่วยหายใจจำนวน 163 เครื่อง
โดยการเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลรับรอง Covid-19 ยังมีโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์
(โรงพยาบาลเวชชารักษ์ โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง) โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม
(โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี) และโรงพยาบาลเอกชน (โรงพยาบาลเขลางค์นคร-ราม)
ที่พร้อมรับสถานการณ์โควิดด้านการรักษาพยาบาลและตรวจตัวอย่างผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง
นอกจากโรงพยาบาลสนามภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางแห่งนี้
ทางจังหวัดยังได้เตรียมโรงพยาบาลสนามไว้อีก 2 แห่ง
ที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคเหนือ จำนวน 60 เตียง
และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 10 ลำปาง อีก 40 เตียง รวมทั้งสิ้น 180 เตียงสำหรับโรงพยาบาลสนาม
โดยได้รับงบประมาณอุปกรณ์การตรวจ ยาและเวชภัณฑ์ จากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำปาง
เตียงสนามจาก บริษัท SCG ลำปาง
ด้านนพ.ประเสริฐ
กิจสุวรรณรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง
กล่าวว่า ในระลอกเมษายน 2564 ตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย.64
ถึงปัจจุบัน จังหวัดลำปาง พบผู้ป่วยสะสม 163 ราย ลักษณะผู้ติดเชื้อเป็นผู้ติดเชื้อนำเข้าจากต่างจังหวัด
91 ราย คิดเป็น 55.83% สัมผัสผู้ติดเชื้อนำเข้าจากต่างจังหวัด 49 ราย 30.06%) และสัมผัสผู้ติดเชื้อในพื้นที่ลำปาง 23 ราย 14.11% กระจายเกือบทุกอำเภอ ยกเว้น อำเภอสบปราบ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง
ได้ดำเนินการความพร้อมในการรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยกำหนดบทบาทหน้าที่บุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการประกอบด้วย
ทีมแพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อให้การรักษาพยาบาล คัดกรองกลุ่มเสี่ยง การเก็บตัวอย่างนำส่งและตรวจตัวอย่าง
สอบสวนโรค การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงตามมาตรการที่ทางจังหวัดกำหนด โรงพยาบาลประจำอำเภอทุกอำเภอมีการปรับบทบาทในการรับการดูแลรักษาผู้ป่วย
Covid - 19 โดยไม่ทิ้งบทบาทหน้าที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ตามนโยบาย One province One hospital โดยมีการแบ่งโซนตามพื้นที่เพื่อช่วยเหลือกัน
และโรงพยาบาลทุกแห่งมีการจัดเตรียมห้องรองรับผู้ป่วย ตามระดับความรุนแรง ทั้งห้อง ICU
ห้อง Isolated และ Cohort ward
โดยมีผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ใน
11 โรงพยาบาล คือ โรงพยาบาลลำปาง 65 คน โรงพยาบาลเวชชารักษ์ 30 คน โรงพยาบาล แจ้ห่ม 17 คน โรงพยาบาลแม่เมาะ 7 คน โรงพยาบาลวังเหนือ 5 คน โรงพยาบาลงาว 4 คน โรงพยาบาลห้างฉัตร 4 คน โรงพยาบาลเสริมงาม 3 คน โรงพยาบาลแม่ทะ 3 คน โรงงพยาบาลเถิน 3 คน โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
3 คน
รวมผู้ป่วยในทั้งสิ้น 142 คน
และมีผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วจำนวน 21 คน จาก อ.เมืองลำปาง 14
คน และ อ.แจ้ห่ม 7 คน
ทั้งนี้
จังหวัดลำปางได้มีคำสั่ง ประกาศ หนังสือสั่งการไปแล้ว ไม่ต่ำกว่า 12 ฉบับ เช่น คำสั่งจังหวัดลำปาง
ที่ 1543/2564 ลงวันที่ 10 เมษายน 2564
ปิดสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคและการแพร่ของโรคไว้เป็นการชั่วคราว ประกอบด้วย
บริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ อาบอบนวด
ร้านเกม ร้านอินเตอร์เน็ต บิลเลียด
และสนุกเกอร์ ฯลฯ
ประกาศจังหวัดลำปาง เรื่อง
มาตรการเร่งด่วนในการควบคุมการเดินทางเข้ามายังพื้นที่จังหวัดลำปาง
เพื่อป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ลงวันที่
12 เมษายน 2564
ให้บุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการตรวจพบการระบาดและมีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคสูง
รวมทั้งพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดในลักษณะกลุ่มก้อนต้องรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่โดย
โดยไม่ปกปิดข้อมูลไทม์ไลน์ และบุคคลดังกล่าวจะต้องกักกันตัวเองที่บ้าน/ที่พักอาศัย
(Home Quarantine) หรือปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง
(Work from Home) เป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน
คำสั่งจังหวัดลำปาง
ที่ 1570/2564 เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019
(COVID-19)) ลงวันที่ 16 เมษายน 2564 ดังนี้ ห้ามการดำเนินการ หรือจัดกิจกรรม
หรือที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ปิดสถานบริการ
หรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร เป็นต้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น