วันที่
22 พฤษภาคม 66 เป็นวันครบรอบ 9 ปี ของการรัฐประหารในประเทศไทยครั้งล่าสุด ยุครัฐบาล
ที่มีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้เพียง 15 วัน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา
16:30 น. โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เป็นหัวหน้าคณะ รัฐประหาร นับเป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย
-ต้านรัฐประหารต่อเนื่อง
ช่วงต้นปี
57 ก่อนการเกิดรัฐประหารในครั้งนั้น ในพื้นที่
จ.ลำปาง มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น การรวมตัวกันของกลุ่มเสื้อแดงลำปาง
หรือ นปช. ประมาณ 500 คน ที่สวนสาธารณะ ห้าแยกหอนาฬิกา
วันที่ 13 ม.ค. 57 ร่วมกันจุดเทียนรณรงค์ต่อต้านการรัฐประหารและยุติความรุนแรง พร้อมใจกันปล่อยลูกโป่งสีขาวขึ้นฟ้าเพื่อสันติภาพ
และแห่ขบวนรถต่างๆไปทั่วเมือง โดยการจัดกิจกรรมของกลุ่ม นปช. ได้มีขึ้น ที่
อ.เกาะคา และ อ.เถิน ด้วย
จุดเทียนห้าแยกหอนาฬิกา ภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์ |
ภาพโดย Silhouette Democrazy |
เช่นเดียวกับกลุ่มอาจารย์และนักศึกษา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้จัดกิจกรรม "จุดเทียนย้อนแสง” เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 57 เพื่อสนับสนุนเลือกตั้งและต่อต้านรัฐประหาร โดยการล้อมวงและจุดเทียนย้อนแสง
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ร่วมกันกับผู้ต้องการการเลือกตั้งทั่วประเทศ
โดยย้ำว่าการเคลื่อนไหวนี้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดไม่ใช่ศัตรู
ยกเว้นแต่รัฐประหารและการใช้อำนาจอันบิดเบี้ยว จากนั้นทุกคนก็นำเอาเทียนไปปักไว้ที่โคนต้นโพธิ์และจัดขึ้นอีกหลายครั้งในเดือนเดียวกัน
เสื้อแดงลำปางเข้ายื่นหนังสือ กฟผ.แม่เมาะ ภาพจาก ผู้จัดการออนไลน์ |
เสื้อแดงลำปางเข้ายื่นหนังสือ กฟผ.แม่เมาะ ภาพจาก ผู้จัดการออนไลน์ |
-แดงลำปางแสดงสัญลักษณ์
วันที่
3 มี.ค. 57 กลุ่มคนเสื้อแดงลำปาง
แสดงสัญลักษณ์ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ ริมถนนสายลำปาง-ตาก โดยการนำป้ายผ้า ธงสีแดง
รวมถึงหุ่นกระดาษ เขียนข้อความต่างๆ มาติดตั้งไว้ เป็นการแสดงพลังให้ประชาชนที่ขับรถผ่านไปมาตามเส้นทางดังกล่าวได้เห็น
และก็ได้รับความสนใจไม่น้อย
วันที่ 7 พ.ค. 57 กลุ่มคนเสื้อแดงลำปาง ในนาม “ภาคีประชาชนผู้รักประชาธิปไตย
เพื่อประชาธิปไตย จ.ลำปาง” ได้รวมตัวกัน
บริเวณลานอเนกประสงค์ ด้านข้างอาคารประชาสัมพันธ์ กฟผ.แม่เมาะ เพื่อเข้าพบผู้บริหารของ กฟผ.แม่เมาะ เพื่อขอความร่วมมือ
และยื่นหนังสือแถลงการณ์ เรื่องขอความร่วมมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แม่เมาะ ในการปฏิวัติ-รัฐประหาร
โดยขอความร่วมมือทำการอารยะขัดขืน
คือ หยุดการส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังกรุงเทพฯ อันเป็นการขัดขวางการทำงานของกลุ่มบุคคล
คณะที่ทำการปฏิวัติ ให้เกิดความไม่สะดวก
เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเข้าสู่สภาวะความสงบเรียบร้อยเป็นปกติ ทางการไฟฟ้าฯ
ก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามเดิม
ขณะที่นายพลฤทธิ์ เศรษฐกำเนิด
ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 ในขณะนั้น ได้ออกมาชี้แจงว่า กฟผ.แม่เมาะมีหน้าที่ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อเลี้ยงประชาชนในภาคเหนือ
7 จังหวัดเท่านั้น
ไม่เพียงพอที่จะส่งไปสนับสนุนส่วนกลางอยู่แล้ว
ดังนั้นสิ่งที่ขอมาจึงไม่ได้มีการกระทบต่อการทำงานหรือการผลิตแต่อย่างใด และขอให้เข้าใจระบบการทำงานของ
กฟผ.ด้วย
-ทหารกระจายกำลังทั่วเมืองลำปาง
เมื่อถึงวันที่ 22
พ.ค. 57 ที่มีการรัฐประหาร เจ้าหน้าที่ทหารจาก
มทบ.32 ได้เตรียมพร้อมสรรพกำลังกันอย่างเต็มที่
โดยได้กระจายกำลังเข้าประจำการอยู่ในสถานที่ราชการสำคัญต่างๆ เช่น กฟผ.แม่เมาะ
คลังปิโตรเลียมลำปาง คลังน้ำมันอื่นๆ และศูนย์ราชการจังหวัดลำปาง
-ตรวจสอบวิทยุเสื้อแดง
ด้านวิทยุการเมืองกว่า
10 สถานีของ จ.ลำปาง งดออกอากาศทันที
รวบไปถึงสถานีวิทยุอื่นๆ ได้โดนตรวจสอบใบอนุญาตการออกอากาศด้วย ขณะที่กลุ่มแกนนำเสื้อแดงลำปาง
บางคนก็หนีหายบางคนก็เข้ารายงานตัวในค่ายทหาร
โดยสถานีวิทยุหลักที่โดนเพ่งเล็งเป็นอันดับแรกๆ
ก็คือ สถานีวิทยุชุมชนของคนล้านนา คลื่นความถี่ 106.25
เมกกะเฮิร์ต ตั้งอยู่ที่สถาบันกวดวิชาโล่เงิน ถ.ลำปาง-แม่ทะ ต.พระบาท
อ.เมืองลำปาง ซึ่งเป็นของนายณัฐชัย
อินทราย แกนนำเสื้อแดงคนสำคัญ และสถานีวิทยุเสียงประชาชนเพื่อคนท้องถิ่น
คลื่นความถี่ 96.25 เมกกะเฮิร์ต ตั้งอยู่ ถ.พหลโยธิน
ต.สวนดอก อ.เมืองลำปาง โดยมีเต่านินจา เป็นเจ้าของสถานี
ได้มีการหยุดออกอากาศไปก่อนหน้านี้แล้ว ไม่พบตัวเจ้าของสถานีแต่อย่างใด
-เรียกสื่อมวลชนเข้าค่าย
วันที่ 26 พ.ค. 57 ผู้บัญชาการกองรักษาความสงบเรียบร้อย มทบ.32 ในขณะนั้น คือ พล.ต.อุกฤษ อากาศวิภาต ผบ.มทบ.32 ได้เรียกสื่อมวลชนทุกแขนง
ทั้งสื่อสิงพิมพ์ สื่อวิทยุ- โทรทัศน์ ขอความร่วมมือให้งดประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่จะส่งผลกระทบต่อชาติ
หรือปลุกระดมให้เกิดความแตกแยก
พร้อมกันนี้ได้ร่วมกับ
กสทช.ลำปาง เข้าตรวจสอบสถานทีวิทยุต่างๆใน จ.ลำปาง
พบว่าไม่มีสถานีที่ไม่ได้รับอนุญาตออกอากาศแล้ว และได้แนะนำให้สถานีที่ยังคงออกอากาศอยู่
ห้ามจาบจ้วงสถาบันฯ โดยเด็ดขาด
สำหรับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง ที่ ครองอำนาจเป็นระยะเวลายาวนานมากกว่า 5 ปี 1 เดือน 3 สัปดาห์ 3 วัน จนกระทั่งมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 และวันที่ 5 มิถุนายน 62 รัฐสภามีมติเลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี อีกสมัย และได้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องยาวนานมากว่า 8 ปี
กระทั่งล่าสุดมีการเลือกตั้งไปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ซึ่งพรรคก้าวไกล นำโดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้คะแนนสูงที่สุดและอยู่ระหว่างการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ด้วยเสียง ส.ส.ที่มีอยู่ในมือ 313 เสียง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น