วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ตามรอย“หนัง-โฆษณา-ละคร”ตะลอนปักหมุดโลเคชั่นเมืองลำปาง

 

 “จังหวัดลำปาง” ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองรอง” หรือ “เมืองผ่าน” ผ่านเพื่อไปยังจังหวัดหลักอย่างเชียงใหม่ ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมองเห็นความสวยงามที่ซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบๆ  ทั้งที่เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีของดีไม่น้อยหน้าพื้นที่อื่นใด ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรม ที่สำคัญไม่ได้มีดีแค่ชามตราไก่ และรถม้า อย่างที่บางคนเข้าใจ ซึ่งใครก็ตามหากเป็นแฟนเพจ ททท.สำนักงานลำปาง เมื่อหลายวันก่อนได้เห็นว่า เขานำเสนอโลเคชั่นอันสวยงาม ซึ่งบรรดาผู้จัดละครรวมไปถึงทีมถ่ายโฆษณาชื่อดังต่างพากันมาปักหมุดใช้พื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวของวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต เพื่อถ่ายทอดออกไปสู่สายตาประชาชน ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้นลองตามไปดูกัน



วัดศรีรองเมือง ใช้ถ่ายทำละครเรื่อง รากนครา (ช่อง3) โดย วัดศรีรองเมือง นับเป็นหนึ่งในวัดพม่าที่สวยงามของจังหวัดลำปาง วิหารศรีรองเมืองเป็นอาคาร 2 ชั้น มีหลังคาซ้อนกันแบบพม่า ส่วนที่เป็นชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ส่วนบนทำด้วยไม้พระพุทธรูปประธานประดิษฐานอยู่ที่เรือนยอด ซึ่งตั้งอยู่ตรงกึ่งกลางของอาคาร ภายในประดับตกแต่งด้วยลายไม้แกะสลักและปูนปั้นลงรักปิดทองประดับด้วยกระจกสีสงยงาม วิหารไม้แบบไทใหญ่ของวัดศรีรองเมืองแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.2524

 


หอศิลป์ลำปาง ใช้ถ่ายทำละครเรื่อง สองนรี (ช่อง7) สำหรับ หอศิลป์ลำปาง เป็นเรือนไทยทรงล้านนาประยุกต์ 32ปี แห่งความสง่างาม สร้างสรรค์โดยการนำงานไม้ที่รื้อถอนจากอาคารเดิมที่มีอายุเกือบ 1 ศตวรรษ อนุรักษ์เชิงสงวนรักษาใหม่ โดยมูลนิธินิยม ปัทมะเสวี ซึ่งยังคงรักษากลิ่นอายความเก่าแก่และเปี่ยมเอกลักษณ์ไว้อย่างครบถ้วนในฐานะที่เคยได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2550 ประเภทอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนา โดยกรรมาธิการสถาปนิกสยามล้านนา เพื่อเปิดเป็นหอศิลป์ลำปาง มูลนิธินิยม ปัทมะเสวี ในเดือนมกราคม 2553

 


วัดปงสนุก ใช้ถ่ายทำละครเรื่อง เพลิงพรางเทียน (ช่อง3) วัดปงสนุก ตั้งอยู่ในเขตเมืองเขลางค์รุ่นที่ 2 ประกอบด้วยวัดแฝด 2 วัดคู่กัน ได้แก่ วัดปงสนุกด้านเหนือ กับ วัดปงสนุกด้านใต้ และเนินสูงเป็นที่ตั้งของเจดีย์มณฑปปราสาทและพุทธไสยาสน์ สำหรับมณฑปวัดปงสนุกมีลักษณะเป็นมณฑปหลังคาซ้อน 3ชั้น มีการผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนา พม่า จีน ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นฝีมือช่างชาวเชียงแสน เลียนแบบ หอคำเมืองเซียงเกี๋ยง (เชียงเจิ๋ง) ในสิบสองปันนา ประเทศจีน

 


บ้านป่องนัก ใช้ถ่ายทำละครเรื่อง หนึ่งในทรวง (ช่อง3) บ้านป่องนัก หรือ พิพิธภัณฑ์มณฑลทหารบกที่ 32 เป็นบ้านในค่ายสุรศักดิ์มนตรี ตั้งอยู่ในเขตตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2468 โดยกรมยุทธการทหารบก และควบคุมการก่อสร้างโดย พันโท พระมหาณรงค์เรืองเดช ผู้บังคับกองทัพที่ 1 กรมทหารราบที่ 17 ซึ่งใช้งบประมาณในการก่อสร้างไปกว่า 16,000 บาท เป็นบ้านที่มีหน้าต่างจำนวนมากถึง 469 บาน หน้าต่างในภาษาคำเมือง เรียกว่า “ป่อง” บ้านหลังนี้จึงถูกเรียกว่าบ้านป่องนัก ที่นี่เคยใช้เป็นพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมณฑลพายัพ ในเดือนมกราคม พ.ศ.2469 และต่อมาเดือนมีนาคม พ.ศ.2501 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมราษฎรในภาคเหนือ ได้จัดให้เป็นพลับพลาที่ประทับอีกครั้ง ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของมณฑลทหารบกที่ 32 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี

 


สะพานรัษฎาภิเศก ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง สตรีเหล็ก 1 สะพานรัษฎาภิเศก เป็นสะพานคอนกรีตอายุร้อยกว่าปีคู่นครลำปาง สร้างขึ้นครั้งแรกในรูปแบบสะพานไม้ สมัยเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตย์ ผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 สะพานมีความยาว 120 เมตร และชื่อ “รัษฎาภิเศก” มีที่มาจากการสร้างสะพานเพื่อน้อมเกล้า ถวายเป็นที่ระลึกในงานพระราชพิธีรัชดาภิเษกรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ท่านได้รับพระราชทานนาม “รัษฎาภิเศก” ให้กับสะพานแห่งนี้ และได้เปลี่ยนรูปแบบไปสู่สะพานไม้เสริมเหล็กและสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กในปี พ.ศ.2460

 


สถานีรถไฟนครลำปาง ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง สตรีเหล็ก 2 สถานีรถไฟนครลำปาง มีพื้นที่ประมาณ 161ไร่ มีเส้นทางห่างจากสถานีรพไฟกรุงเทพฯ 842.29 กิโลเมตร สร้างขึ้นในราว พ.ศ.2458 และเปิดใช้งานเมื่อครั้งรถไฟหลวงขบวนแรกเดินถึงจังหวัดลำปางในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2459 รองรับขบวนรถรถร่วมพิษณุโลก-ลำปาง และ อุตรดิตถ์-ลำปาง ก่อนมีรถด่วนสายเหนือตรงจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาทำขบวนเมื่อ 1 พฤศจิกายน2465 โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมของสถานีรถไฟนครลำปางเป็นอาคาร 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีปีก 2 ข้าง เชื่อมกับโถงกลาง รูปแบบสถาปัตยกรรมโคโลเนียล มีการใช้โค้ง (arch) และการประดับตกแต่งด้วยไม้ฉลุและปูนปั้น

 


วัดพุทธบาทสุทธาวาส ใช้ถ่ายทำละครเรื่อง หลวงพี่แจ๊ส 4G วัดพุทธบาทสุทธาวาส หรือ วัดเจดีย์ลอยฟ้าหนึ่งเดียวในลำปาง มีชื่อเรียกอีกหลายนาม เช่น วัดพุทธบาทสุทธาวาส หรือชื่อเดิมคือ วัดพระพุทธบาทปู่ผาแดง และ วัดเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยพระบาท อำเภอแจ่ห่ม จังหวัดลำปาง ไฮไลท์ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งนอกจากเจดีย์บนยอดเขาทำให้มองเห็นว่าเจดีย์กำลังลอยอยู่บนท้องฟ้านั่นก็คือ บนยอดเขามีรอยพระบาทพระพุทธเจ้าจารึกไว้บนแผ่นหินขนาดใหญ่ เป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้านแถบนี้มาอย่างยาวนาน

 


วัดพระธาตุดอยพระฌาน ใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำโฆษณารีเจนซี่ วัดพระธาตุดอยพระฌาน ตั้วอยู่บนยอดเขาอันเงียบสงบที่เรียกว่า “ดอยพระฌาน” สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์และทัศนียภาพอันสวยงามของ อ.แม่ทะ เห็นทิวเขาต้นไม้ที่เขียวขจีได้รอบทิศ ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวตอนเช้าสามารถเห็นทะเลหมอดอันงดงาม เมื่อถึงวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน7 (เดือน 9 ของภาคเหนือ) ประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี ตั้งแต่ในอดีตพุทธศาสนิกชนชาวตำบลป่าตัน อ.แม่ทะ และตำบลใกล้เคียงจะพากันเดินขึ้นดอยไปสักการะพระธาตุดอยพระฌาน โดยมีผู้นำของชุมชนที่สำคัญคือ อดีตหลวงพ่อปัญญา วัดนาคตหลวง พระสงฆ์ผู้เป็นศูนย์รวมศรัทธาของพระเณร และสาธุชนทั้งหลายซึ่งมรณภาพไปแล้ว ท่านเป็นน้ำคณะศรัทธาชาวตำบลป่าตันมาสักการะพระธาตุเป็นประเพณีประจำทุกปี มีการจัดบั้งไฟบูชาพระธาตุและการแข่งขันบั้งไฟด้วย ซึ่งได้รับการสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน

 


วัดพระธาตุลำปางหลวง ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง เพื่อนไม่เก่า วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ. 2235 นครลำปางว่างจากผู้ครองนคร และเกิดความวุ่นวายขึ้นสมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แพร่อิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยืดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดครองนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัตพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้นหนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฎรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน และ ณ น่าน

 


กาดเก๊าจาว ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง กอด ตลาดรัตน์ หรือ กาดเก๊าจาว เป็นตลาดเของชาวลำปางใกล้สถานีรถไฟนครลำปาง มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าร้อยปี เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2453 พ่อค้าแม่ค้าใช้บริเวณลานระหว่างป่าต้นขะจาวและวัดนาก่วมเหนือสำหรับขายสินค้า ให้กับคนงานก่อสร้างทางรถไฟในยุคสมัยนั้น ตลาดแห่งนี้จึงถูกเรียกว่า “กาดเก๊าจาว” นับแต่นั้นมา และถึงแม้เวลาจะล่วงเลยมานานแต่วิถีชีวิตของพ่อค้าแม่ค้ายังคงเหมือนเก่า ยังคงขายพืช ผัก ผลไม้ อาหารสดและอาหารพร้อมกิน รวมถึงดอกไม้และสินค้าอุปโภคบริโภค จนกระทั่งมีการสร้างตลาดขึ้น ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรูปแบบเป็นโครงสร้างไม้มุงหลังคาด้วยใบตองตึง จึงถูกเรียกว่า “กาดตองตึง” ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นเกิดไฟไหม้ สุดท้ายก็ต้องมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์บนห้องแถวไม้สองชั้นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ทั้งนี้ตลาดเก๊าจาวมีชื่อจริงว่า ตลาดรัตน์ ตั้งชื่อตามหลวงเสรีเริงฤทธิ์รัตนยนต์ ผู้ว่าราชการรถไฟ บรรยากาศที่มีตึกเก่า แสดงถึงความงามทางสถาปัตยกรรมล้านนา ที่ยังคงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

 


ปิดท้ายที่ วัดไหล่หินหลวง ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท วัดไหล่หินหลวง หรือ วัดเสลารัตนปัพพตาราม วัดสำคัญเก่าแก่ของจังหวัดลำปางที่มีอายุหลายร้อยปี จากหลักฐานทางด้านโบรารณ จารึกและตำนานต่างๆ ได้กล่าวถึงวัดไหล่หินในอดีตว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญทางศาสนามีหลักฐานว่าในปี พ.ศ.2181 วัดไหล่หินสมัยนั้นยังเป็นอารามเล็กๆ มีพระภิกษุสามเณรมาอาศัยบวชเรียนเป็นจำนวนมาก ในตำนานการสร้างวัดได้กล่าวอ้างถึง “พระมหาป่า” หลายรูปซึ่งเป็นเจ้าอาวาสที่ถือธุดงควัตรเป็นหลักปฏิบัติในการสืบทอดพระศาสนา แต่มีพระมหาป่ารูปหนึ่งที่ชาวบ้านให้ควาเคารพศรัทธาคือ “พระมหาป่าเกสรปัญโญ” (ครูบาศีลธรรมเจ้า) ทั้งนี้ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท ได้มาใช้บริเวณหน้าวัดไหล่หินเป็นฉากที่พระมหาเทวีจิรประภา แห่งเมืองเชียงใหม่ต้อนรับทัพของพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา

 

...อย่างที่บอกไปแล้วในข้างต้นว่า “ลำปาง” ไม่ได้มีดีแค่ชามตราไก่ และรถม้า ถ้ามีโอกาสได้เดินทางแวะเวียนไปเที่ยวเมืองลำปาง อย่าลืมเพิ่มสถานที่ดังกล่าวไว้ในลิสต์ด้วยนะคะ รับรองไม่มีคำว่าผิดหวัง

 

 

กอบแก้ว แผนสท้าน...เรื่อง

ททท.สำนักงานลำปาง..ภาพ

 

ตามรอย“หนัง-โฆษณา-ละคร”ตะลอนปักหมุดโลเคชั่นเมืองลำปาง

 

 “จังหวัดลำปาง” ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองรอง” หรือ “เมืองผ่าน” ผ่านเพื่อไปยังจังหวัดหลักอย่างเชียงใหม่ ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมองเห็นความสวยงามที่ซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบๆ  ทั้งที่เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีของดีไม่น้อยหน้าพื้นที่อื่นใด ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรม ที่สำคัญไม่ได้มีดีแค่ชามตราไก่ และรถม้า อย่างที่บางคนเข้าใจ ซึ่งใครก็ตามหากเป็นแฟนเพจ ททท.สำนักงานลำปาง เมื่อหลายวันก่อนได้เห็นว่า เขานำเสนอโลเคชั่นอันสวยงาม ซึ่งบรรดาผู้จัดละครรวมไปถึงทีมถ่ายโฆษณาชื่อดังต่างพากันมาปักหมุดใช้พื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวของวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต เพื่อถ่ายทอดออกไปสู่สายตาประชาชน ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้นลองตามไปดูกัน

 

วัดศรีรองเมือง ใช้ถ่ายทำละครเรื่อง รากนครา (ช่อง3) โดย วัดศรีรองเมือง นับเป็นหนึ่งในวัดพม่าที่สวยงามของจังหวัดลำปาง วิหารศรีรองเมืองเป็นอาคาร 2 ชั้น มีหลังคาซ้อนกันแบบพม่า ส่วนที่เป็นชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ส่วนบนทำด้วยไม้พระพุทธรูปประธานประดิษฐานอยู่ที่เรือนยอด ซึ่งตั้งอยู่ตรงกึ่งกลางของอาคาร ภายในประดับตกแต่งด้วยลายไม้แกะสลักและปูนปั้นลงรักปิดทองประดับด้วยกระจกสีสงยงาม วิหารไม้แบบไทใหญ่ของวัดศรีรองเมืองแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.2524

 

หอศิลป์ลำปาง ใช้ถ่ายทำละครเรื่อง สองนรี (ช่อง7) สำหรับ หอศิลป์ลำปาง เป็นเรือนไทยทรงล้านนาประยุกต์ 32ปี แห่งความสง่างาม สร้างสรรค์โดยการนำงานไม้ที่รื้อถอนจากอาคารเดิมที่มีอายุเกือบ 1 ศตวรรษ อนุรักษ์เชิงสงวนรักษาใหม่ โดยมูลนิธินิยม ปัทมะเสวี ซึ่งยังคงรักษากลิ่นอายความเก่าแก่และเปี่ยมเอกลักษณ์ไว้อย่างครบถ้วนในฐานะที่เคยได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2550 ประเภทอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนา โดยกรรมาธิการสถาปนิกสยามล้านนา เพื่อเปิดเป็นหอศิลป์ลำปาง มูลนิธินิยม ปัทมะเสวี ในเดือนมกราคม 2553

 

วัดปงสนุก ใช้ถ่ายทำละครเรื่อง เพลิงพรางเทียน (ช่อง3) วัดปงสนุก ตั้งอยู่ในเขตเมืองเขลางค์รุ่นที่ 2 ประกอบด้วยวัดแฝด 2 วัดคู่กัน ได้แก่ วัดปงสนุกด้านเหนือ กับ วัดปงสนุกด้านใต้ และเนินสูงเป็นที่ตั้งของเจดีย์มณฑปปราสาทและพุทธไสยาสน์ สำหรับมณฑปวัดปงสนุกมีลักษณะเป็นมณฑปหลังคาซ้อน 3ชั้น มีการผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนา พม่า จีน ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นฝีมือช่างชาวเชียงแสน เลียนแบบ หอคำเมืองเซียงเกี๋ยง (เชียงเจิ๋ง) ในสิบสองปันนา ประเทศจีน

 

บ้านป่องนัก ใช้ถ่ายทำละครเรื่อง หนึ่งในทรวง (ช่อง3) บ้านป่องนัก หรือ พิพิธภัณฑ์มณฑลทหารบกที่ 32 เป็นบ้านในค่ายสุรศักดิ์มนตรี ตั้งอยู่ในเขตตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2468 โดยกรมยุทธการทหารบก และควบคุมการก่อสร้างโดย พันโท พระมหาณรงค์เรืองเดช ผู้บังคับกองทัพที่ 1 กรมทหารราบที่ 17 ซึ่งใช้งบประมาณในการก่อสร้างไปกว่า 16,000 บาท เป็นบ้านที่มีหน้าต่างจำนวนมากถึง 469 บาน หน้าต่างในภาษาคำเมือง เรียกว่า “ป่อง” บ้านหลังนี้จึงถูกเรียกว่าบ้านป่องนัก ที่นี่เคยใช้เป็นพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมณฑลพายัพ ในเดือนมกราคม พ.ศ.2469 และต่อมาเดือนมีนาคม พ.ศ.2501 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมราษฎรในภาคเหนือ ได้จัดให้เป็นพลับพลาที่ประทับอีกครั้ง ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของมณฑลทหารบกที่ 32 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี

 

สะพานรัษฎาภิเศก ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง สตรีเหล็ก 1 สะพานรัษฎาภิเศก เป็นสะพานคอนกรีตอายุร้อยกว่าปีคู่นครลำปาง สร้างขึ้นครั้งแรกในรูปแบบสะพานไม้ สมัยเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตย์ ผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 สะพานมีความยาว 120 เมตร และชื่อ “รัษฎาภิเศก” มีที่มาจากการสร้างสะพานเพื่อน้อมเกล้า ถวายเป็นที่ระลึกในงานพระราชพิธีรัชดาภิเษกรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ท่านได้รับพระราชทานนาม “รัษฎาภิเศก” ให้กับสะพานแห่งนี้ และได้เปลี่ยนรูปแบบไปสู่สะพานไม้เสริมเหล็กและสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กในปี พ.ศ.2460

 

สถานีรถไฟนครลำปาง ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง สตรีเหล็ก 2 สถานีรถไฟนครลำปาง มีพื้นที่ประมาณ 161ไร่ มีเส้นทางห่างจากสถานีรพไฟกรุงเทพฯ 842.29 กิโลเมตร สร้างขึ้นในราว พ.ศ.2458 และเปิดใช้งานเมื่อครั้งรถไฟหลวงขบวนแรกเดินถึงจังหวัดลำปางในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2459 รองรับขบวนรถรถร่วมพิษณุโลก-ลำปาง และ อุตรดิตถ์-ลำปาง ก่อนมีรถด่วนสายเหนือตรงจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาทำขบวนเมื่อ 1 พฤศจิกายน2465 โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมของสถานีรถไฟนครลำปางเป็นอาคาร 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีปีก 2 ข้าง เชื่อมกับโถงกลาง รูปแบบสถาปัตยกรรมโคโลเนียล มีการใช้โค้ง (arch) และการประดับตกแต่งด้วยไม้ฉลุและปูนปั้น

 

วัดพุทธบาทสุทธาวาส ใช้ถ่ายทำละครเรื่อง หลวงพี่แจ๊ส 4G วัดพุทธบาทสุทธาวาส หรือ วัดเจดีย์ลอยฟ้าหนึ่งเดียวในลำปาง มีชื่อเรียกอีกหลายนาม เช่น วัดพุทธบาทสุทธาวาส หรือชื่อเดิมคือ วัดพระพุทธบาทปู่ผาแดง และ วัดเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยพระบาท อำเภอแจ่ห่ม จังหวัดลำปาง ไฮไลท์ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งนอกจากเจดีย์บนยอดเขาทำให้มองเห็นว่าเจดีย์กำลังลอยอยู่บนท้องฟ้านั่นก็คือ บนยอดเขามีรอยพระบาทพระพุทธเจ้าจารึกไว้บนแผ่นหินขนาดใหญ่ เป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้านแถบนี้มาอย่างยาวนาน

 

วัดพระธาตุดอยพระฌาน ใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำโฆษณารีเจนซี่ วัดพระธาตุดอยพระฌาน ตั้วอยู่บนยอดเขาอันเงียบสงบที่เรียกว่า “ดอยพระฌาน” สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์และทัศนียภาพอันสวยงามของ อ.แม่ทะ เห็นทิวเขาต้นไม้ที่เขียวขจีได้รอบทิศ ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวตอนเช้าสามารถเห็นทะเลหมอดอันงดงาม เมื่อถึงวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน7 (เดือน 9 ของภาคเหนือ) ประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี ตั้งแต่ในอดีตพุทธศาสนิกชนชาวตำบลป่าตัน อ.แม่ทะ และตำบลใกล้เคียงจะพากันเดินขึ้นดอยไปสักการะพระธาตุดอยพระฌาน โดยมีผู้นำของชุมชนที่สำคัญคือ อดีตหลวงพ่อปัญญา วัดนาคตหลวง พระสงฆ์ผู้เป็นศูนย์รวมศรัทธาของพระเณร และสาธุชนทั้งหลายซึ่งมรณภาพไปแล้ว ท่านเป็นน้ำคณะศรัทธาชาวตำบลป่าตันมาสักการะพระธาตุเป็นประเพณีประจำทุกปี มีการจัดบั้งไฟบูชาพระธาตุและการแข่งขันบั้งไฟด้วย ซึ่งได้รับการสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน

 

วัดพระธาตุลำปางหลวง ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง เพื่อนไม่เก่า วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ. 2235 นครลำปางว่างจากผู้ครองนคร และเกิดความวุ่นวายขึ้นสมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แพร่อิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยืดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดครองนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัตพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้นหนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฎรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน และ ณ น่าน

 

กาดเก๊าจาว ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง กอด ตลาดรัตน์ หรือ กาดเก๊าจาว เป็นตลาดเของชาวลำปางใกล้สถานีรถไฟนครลำปาง มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าร้อยปี เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2453 พ่อค้าแม่ค้าใช้บริเวณลานระหว่างป่าต้นขะจาวและวัดนาก่วมเหนือสำหรับขายสินค้า ให้กับคนงานก่อสร้างทางรถไฟในยุคสมัยนั้น ตลาดแห่งนี้จึงถูกเรียกว่า “กาดเก๊าจาว” นับแต่นั้นมา และถึงแม้เวลาจะล่วงเลยมานานแต่วิถีชีวิตของพ่อค้าแม่ค้ายังคงเหมือนเก่า ยังคงขายพืช ผัก ผลไม้ อาหารสดและอาหารพร้อมกิน รวมถึงดอกไม้และสินค้าอุปโภคบริโภค จนกระทั่งมีการสร้างตลาดขึ้น ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรูปแบบเป็นโครงสร้างไม้มุงหลังคาด้วยใบตองตึง จึงถูกเรียกว่า “กาดตองตึง” ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นเกิดไฟไหม้ สุดท้ายก็ต้องมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์บนห้องแถวไม้สองชั้นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ทั้งนี้ตลาดเก๊าจาวมีชื่อจริงว่า ตลาดรัตน์ ตั้งชื่อตามหลวงเสรีเริงฤทธิ์รัตนยนต์ ผู้ว่าราชการรถไฟ บรรยากาศที่มีตึกเก่า แสดงถึงความงามทางสถาปัตยกรรมล้านนา ที่ยังคงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

 

ปิดท้ายที่ วัดไหล่หินหลวง ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท วัดไหล่หินหลวง หรือ วัดเสลารัตนปัพพตาราม วัดสำคัญเก่าแก่ของจังหวัดลำปางที่มีอายุหลายร้อยปี จากหลักฐานทางด้านโบรารณ จารึกและตำนานต่างๆ ได้กล่าวถึงวัดไหล่หินในอดีตว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญทางศาสนามีหลักฐานว่าในปี พ.ศ.2181 วัดไหล่หินสมัยนั้นยังเป็นอารามเล็กๆ มีพระภิกษุสามเณรมาอาศัยบวชเรียนเป็นจำนวนมาก ในตำนานการสร้างวัดได้กล่าวอ้างถึง “พระมหาป่า” หลายรูปซึ่งเป็นเจ้าอาวาสที่ถือธุดงควัตรเป็นหลักปฏิบัติในการสืบทอดพระศาสนา แต่มีพระมหาป่ารูปหนึ่งที่ชาวบ้านให้ควาเคารพศรัทธาคือ “พระมหาป่าเกสรปัญโญ” (ครูบาศีลธรรมเจ้า) ทั้งนี้ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท ได้มาใช้บริเวณหน้าวัดไหล่หินเป็นฉากที่พระมหาเทวีจิรประภา แห่งเมืองเชียงใหม่ต้อนรับทัพของพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา

 

...อย่างที่บอกไปแล้วในข้างต้นว่า “ลำปาง” ไม่ได้มีดีแค่ชามตราไก่ และรถม้า ถ้ามีโอกาสได้เดินทางแวะเวียนไปเที่ยวเมืองลำปาง อย่าลืมเพิ่มสถานที่ดังกล่าวไว้ในลิสต์ด้วยนะคะ รับรองไม่มีคำว่าผิดหวัง

 

 

กอบแก้ว แผนสท้าน...เรื่อง

ททท.สำนักงานลำปาง..ภาพ

 

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์