วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2564

ประวัติอำเภอในจังหวัดลำปาง (13 อำเภอ)



อำเภอเมืองลำปาง  

เนื่องจากอำเภอนี้เป็นที่ตั้งจังหวัด จึงมีประวัติความเป็นมาเช่นเดียวกับ ประวัติลำปาง

 คำขวัญจังหวัดลำปาง   "ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก"

 

อำเภองาว  



อำเภองาวเดิมชื่อ เมืองเงิน มีเจ้าผู้ครองนครที่เข้มแข็งในการสงคราม และชำนาญในการใช้ง้าวเป็นอาวุธ ได้อาสาปราบปรามข้าศึกจนถึงเขตเมืองเงี้ยว เมืองลื้อ เมืองเขิน ได้รับชัยชนะและเจ้าเมืองนครเขลางค์ได้ประทานง้าวด้ามเงินเป็นบำเหน็จ ชาวเมืองจึงเรียกพระยา ผู้นั้นว่า พระยาง้าวเงิน และเรียกเมืองนั้นว่า เมืองงาวเงิน ซึ่งได้เพี้ยนมาจนเป็น เมืองงาว

ระยะทางห่างจากตัวเมืองลำปาง 83 กิโลเมตร มีท่ารถตรงข้ามวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง

 

คำขวัญ "หนึ่งในสยามคือถ้ำผาไท ศูนย์รวมจิตใจเจ้าพ่อประตูผา เครื่องหนังงามตา ล้ำค่าไม้แกะสลัก อนุรักษ์วัฒนธรรม งามล้ำอำเภองาว"

 

อำเภอแจ้ห่ม  



มีตำนานเล่าว่า มียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า อาฬาวี อาศัยอยู่ที่ดอยอักโขคีรี มีใจหยาบช้า ชอบจับมนุษย์และสัตว์กินเป็นอาหารอยู่เสมอ ต่อมาพระพุทธองค์ได้เสด็จมาโปรด สั่งสอนยักษ์อาฬาวี จนมีดวงจิตสงบพระพุทธองค์พยากรณ์ไว้ว่าต่อไปที่นี่จะกลายเป็นเมืองที่มีชื่อว่า แจ้ห่ม บริเวณเชิงดอยอักโขคีรี มีหนองน้ำใหญ่เล่ากันว่า หนองน้ำนี้เกิดขึ้นเพราะชาวเมืองกินไข่เงือก ทอด จึงเกิดวิกฤติการณ์ร้าย ทำให้เกิดลมพายุพัดบ้านเมืองถล่ม เป็นหนองน้ำใหญ่อยู่หน้าวัดอักโขคีรีชัย มีคนที่รอดมาได้ คือ หญิงหม้ายผู้หนึ่ง ซึ่งไม่ได้กินไข่เงือกทอดนั้น

ระยะทางห่างจากตัวเมืองลำปาง 52 กิโลเมตร มีท่ารถที่ ถ.ทิพวรรณ แยกซอยข้างธนาคารนครหลวง ไทย

 

คำขวัญ "พญาคำลือคู่บ้าน มะขามหวานคู่เมือง เงาพระธาตุลือเลื่อง เมืองน้ำปูดี "

 

อำเภอเถิน  




เดิมเป็นเมืองเก่าแก่ชื่อว่า "อิงคปถรัฐ" เป็นเมืองหน้าด่านของล้านนา และเป็นเส้นทางผ่านของกองทัพ บางคราวก็ตกอยู่ในอำนาจของเชียงใหม่ บางคราวก็ขึ้นอยู่กับพม่า บางคราวก็ต้องยอมให้ทัพอยุธยาเดินผ่าน ชาวเมืองเถินได้รับความเดือดร้อนกับกองทัพที่ผ่าน จึงเป็นเมืองร้างระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสินได้ขับไล่พม่าออกไป และเวลาทำสงครามก็ยกทัพไปทางอื่น ไม่ผ่านเถินอีก จึงทำให้เถินสงบมีคนมากขึ้น

ระยะทางห่างจากตัวเมืองลำปาง 96 กิโลเมตร มีท่ารถตรงข้ามศาลจังหวัด ด้านประตูชัย

 

คำขวัญ "ส้มเกลี้ยงฉ่ำ น้ำตกงาม โป่งข่ามขลัง วังหินอ่อน"

 

อำเภอวังเหนือ  



เดิมชื่อว่า "เมืองวัง"หรือ "เวียงวัง" เป็นเมืองเล็กๆอยู่เหนือสุดต่อกับแจ้ห่ม และอยู่ในการปกครองของพวกลอมหรือขอมดำ เจ้าผู้ครองนครมีตำแหน่งเป็นพระยาวัง บางครั้งก็เป็น เมืองร้าง บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับพะเยา เดิมเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นอยู่กับอำเภอแจ้ห่ม ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ.2501

ระยะทางห่างจากตัวเมืองลำปาง 107 กิโลเมตร มีท่ารถที่ ถ.ทิพวรรณ แยกซอยข้างธนาคารนคร หลวงไทย

 

คำขวัญ "พญาวังเรืองนาม พระธาตุงามเรื่องชื่อ น้ำตกสวยเลื่องลือ นามนี้คือวังเหนื"

 

 

อำเภอห้างฉัตร  



มีตำนานเล่าว่า เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาสร้างพระธาตุลำปางหลวง ได้ใช้เส้นทางห้างฉัตรเป็นทางติดต่อ เมื่อเดินทางถึงห้วยแม่ตาลได้หยุดพักพลที่นี้ บรรดาชาวเมือง จึงตกแต่งที่ประดับด้วยราชวัตรฉัตรอันงดงาม ภายหลังที่แห่งนั้นเป็นเมืองขึ้นมา จึงเรียกว่า เมืองห้างฉัตร แต่ชาวบ้านออกเสียงเพี้ยนเป็น หางสัตว์ เมื่อ พ.ศ. 2483 ทางราชการจึงประกาศนามอำเภอนี้ว่าห้างฉัตร ให้ถูกต้องตามความหมายเดิม

ระยะทางห่างจากตัวเมืองลำปาง 16 กิโลเมตร มีท่ารถที่่ห้าแยกหอนาฬิกา

 

คำขวัญ "ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เกรียงไกรเจ้าพ่อขุนตาล ตำนานวิหารจามเทวี ของดีตลาดทุ่งเกวียน"

 

อำเภอเกาะคา  



เดิมชื่อว่า อำเภอสบยาว พ.ศ. 2459 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนชื่อ เป็นอำเภอเกาะคา มีผู้สันนิษฐานว่า เหตุที่ชื่อเกาะคา ก็เพราะชื่อเดิมที่ตั้งหมู่บ้านมีแม่น้ำยาว ไหลผ่าน ต่อมาแม่น้ำเปลี่ยนเส้นทางเดินบริเวณที่เป็นร่องน้ำ จึงกลายสภาพเป็นเกาะ และมี หญ้าคาขึ้นเต็ม ต่อมามีคนมาอาศัยอยู่ จึงเรียกบริเวณนั้นว่าบ้านเกาะคา อำเภอนี้มี ปูชนียะสถานคู่เมืองลำปาง คือ เจดีย์พระธาตุลำปางหลวง ฉ,ธ พระธาตุจอมปิง

ระยะทางห่างจากตัวเมืองลำปาง 15 กิโลเมตร มีท่ารถที่ ถ.รอบเวียง ใกล้ธนาคารกสิกรไทย

 

คำขวัญ "พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ แหล่งผลิตน้ำตาลทราย ลวดลายงามเครื่องปั้น จักสานเครื่องใช้ อุ่นไอบ่อน้ำร้อน  ลือกระฉ่อนมนุษย์เกาะคา"

 

อำเภอแม่ทะ  



ห่างจากเมืองไปทางทิศใต้ 25 กิโลเมตร เดิมที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านป่าตัน ตำบลป่าตัน แต่ทางคมนาคมติดต่อกับจังหวัดไม่สะดวก เมื่อมีการสร้างทางรถไฟ สายเหนือแล้ว จึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านแม่ทะ ตำบลแม่ทะ แต่ไม่เป็นศูนย์กลางอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2497 จึงย้ายมาอยู่ที่ตำบลนาครัว มีปูชนียะสถานที่น่าสนใจ คือ วัดดอยม่วงคำ

 

ระยะทางห่างจากตัวเมืองลำปาง 27 กิโลเมตร มีท่ารถที่ ถ.ทิพวรรณ สี่แยกศรีชุม

 

คำขวัญ "ลำน้ำจางหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ พุทธรูปศักดิ์สิทธิ์พระไม้แก่นจันทร์ สินแร่สำคัญถ่านหินดินขาว  อาชีพยืนยาวไม้แกะสลัก แหล่งประจักษ์ธรรมถ้ำพระสบาย"

 

อำเภอแม่พริก 



เป็นอำเภอที่เล็กที่สุด มีพลเมืองน้อยที่สุด และอยู่ใต้สุดของจังหวัดลำปาง เดิมแม่พริกมีฐานะเป็นด่านขึ้นอยู่กับจังหวัดตาก พ.ศ. 2445 ได้รับฐานะเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเถิน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2501 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ

ระยะทางห่างจากตัวเมืองลำปาง 125 กิโลเมตร มีท่ารถที่ ถ.บุญวาทย์ ข้างศาลากลางจังหวัดหลังเก่า

 

คำขวัญ "สวนส้มเกลี้ยงลือไกล ถิ่นลำไยไร้สารพิษ ถ้ำน้ำผ่างามวิจิตร เมืองเศรษฐกิจชุมชน"

 

อำเภอสบปราบ  



เดิมเป็นกิ่งอำเภอขึ้นอยู่กับอำเภอเกาะคา ต่อมาได้รับฐานะเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2496

ระยะทางห่างจากตัวเมืองลำปาง 54 กิโลเมตร มีท่ารถที่ตรงข้ามศาลจังหวัดด้านประตูชัย

 

คำขวัญ "อุทยานดอยจง มั่นคงวัฒนธรรม งามล้ำน้ำตกแม่ไซงู เชิดชูบ่อน้ำทิพย์ อ่างนับสิบรอบเมือง ฟูเฟื่องเรื่องดินขาว พร่างพราวปลาหลากพันธุ์"

 

อำเภอเสริมงาม  



อยู่ทางทิศตระวันตกของอำเภอเกาะคา เดิมเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเกาะคา ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอ

ระยะทางห่างจากตัวเมืองลำปาง 39 กิโลเมตร มีท่ารถที่ ถ.สนามบินข้างโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย

 เมื่อสมัยโบราณเมืองเสริมแห่งนี้ได้มีชนชาติหนึ่งอาศัยอยู่ ต่อมาได้มี คนไตหรือ คนไทย”  ได้อพยพมาจากแคว้นหนองแส  ได้แก่  เมืองยู  เมืองยอง  ตอนใต้ของประเทศจีน  ซึ่งถูกพวกจีนรุกรานได้อพยพถอยร่นมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเมืองเสริมแห่งนี้เพิ่มมาขึ้น  เมื่อมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้น  จึงได้เกิดมีผู้นำเป็นเจ้าพระยาปกครองเมือง  เมื่อมีเจ้าเมืองปกครองแล้วจึงได้ช่วยกันสร้างเมืองเล็กๆ ขึ้นเมืองหนึ่ง  เรียกว่า เมืองเสริมและต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น  เสริมงาม

 

คำขวัญ "ศูนย์ศิลปาชีพบ้านแม่ต๋ำ เลิศล้ำถ้ำผากาน คู่บ้านวัดนางอย งามชดช้อยผ้าทอ เพียงพอเกษตรกรรมน้ำใจงามคนเมืองเสริม"

 

อำเภอแม่เมาะ  



มีประวัติเบื้องต้นเป็นตำนานเล่าว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ธุดงค์โปรดสัตว์ผ่านมาในเขตนี้ได้พบแต่ความกันดารแห้งแล้งมาตลอดทาง วันหนึ่งได้ภิกษาจารมาพบแม่น้ำสายหนึ่ง สะอาด มีต้นไม้ให้ความร่มรื่นชุ่มชื่นดี จึงได้กล่าวกับราษฎรแถบนี้ว่า แม่น้ำสายนี้เหมาะที่จะพักอาศัยเพราะมีแต่ความร่มเย็น และนับแต่นั้นมา ราษฎรแถบนี้จึงเรียกขานแม่น้ำสายนั้นว่า "แม่น้ำเหมาะ" แล้วจึงเรียกเพี้ยนเป็น "แม่น้ำเมาะ" มาจนถึงปัจจุบัน รวมตัวกันเป็นหมู่บ้านเก่าแก่เป็นเวลานับร้อยปี ดังนั้นราษฎรที่อำเภอแม่เมาะนี้ จึงมีคนหลายเชื้อสาย ทั้งคนพื้นเมือง (คนเมือง) คนพื้นเมืองผสมพม่า คนพื้นเมืองผสมเงี้ยว(ไทยใหญ่) แต่โดยสภาพแล้ว จะเป็นคนพื้นเมืองเสียส่วนมาก

 

เดิมอำเภอแม่เมาะขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองลำปาง และเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2519 ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ และต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2527 ได้รับการยกฐานะอีกเป็นอำเภอ

ระยะทางห่างจากตัวเมืองลำปาง 40 กิโลเมตร มีท่ารถที่ ถ.ทิพวรรณ สี่แยกร้านขายยาไทยโอสถ

 

คำขวัญ "ถ้ำอินทร์เนรมิต แหล่งผลิตไฟฟ้า ถ่านหินล้ำค่า เจ้าพ่อประตูผา สวนป่าสักทอง"

 

อำเภอเมืองปาน  



มีตำนานเล่าขานกันว่า มีนายบ้านคนหนึ่งไม่ปรากฏชื่อ แต่เป็นผู้มีความ กล้าหาญ เข้มแข็ง อดทนเด็ดเดี่ยวและเสียสละ ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกเข้าต่อสู้กับข้าศึกที่เข้า มารุกราน ได้รับชัยชนะหลายครั้งจนข้าศึกศัตรูไม่กล้ามารบกวนอีก ต่อมานายบ้านผู้นี้ได้สร้างเครื่องส่งสัญญาณในการแจ้งเหตุแก่ลูกบ้านและเป็น สัญญาณนัด หมาย เพื่อร่วมมือกัน ต่อสู้ข้าศึกศัตรูโดยร่วมกันใช้ทองคำมาหลอมทำเป็น "ปาน" (ลักษณะคล้าย ฆ้องใหญ่แต่โหนกที่ตีเล็กกว่า) ชาวบ้านเรียกว่า "ปานคำ" นายบ้านผู้นี้เป็นผู้ทำ ปานเป็นเครื่องมือ สัญญาณแจ้งเหตุต่างๆ แก่ลูกบ้าน จนได้รับการขนานนามจากชาวเมืองปานว่า "เจ้าพ่อขุนจเรปาน" และเมืองแห่งนี้ได้ชื่อว่า "เมืองเจ้าพ่อจเรปาน" ซึ่งต่อมาได้เพี้ยนและเหลือเพียง "เมืองปาน" อำเภอเมืองปาน แต่เดิมรวมอยู่ในเขตท้องที่อำเภอแจ้ห่ม ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เมืองปาน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2524 และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมืองปาน ตามพระราช กฤษฎีกาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2535

ระยะทางห่างจากตัวเมืองลำปาง 69 กิโลเมตร มีท่ารถที่ ถ.บุญวาทย์

 

คำขวัญ  "แหล่งต้นน้ำลำธาร อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน บ่อน้ำร้อนลือนาม สามต้นสักใหญ่ ไหว้พระธาตุดอยซาง"

 

ข้อมูล : จังหวัดลำปาง

http://www.lampang.go.th/menu_lamp1.php

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์