วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565

กรมชลประทาน เปิดเวทีปัจฉิมนิเทศ นำเสนอผลการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม อ่างเก็บน้ำน้ำงาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ



          วันที่ 7 เม.ย. 2565 ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภองาว นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง มอบหมายให้ นายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานการประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ อ่างเก็บน้ำน้ำงาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ลำปาง ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปปรับปรุงผลการศึกษาโครงการให้มีความครบถ้วน สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน



          โดยการประชุมได้มีคณะวิทยากรนำเสนอข้อมูลโครงการ สรุปผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการ  รวมทั้งนำเสนอร่างรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และผลการประชาสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของประชาชน  และร่วมตอบข้อซักถาม



          สำหรับ โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำงาว มีแผนก่อสร้างในพื้นที่บ้านข่อย ม.4 และบ้านท่าเจริญ หมู่ 6 ต.บ้านร้อง อ.งาว เก็บกักน้ำต้นทุนในลำน้ำงาวประมาณ 13.53   ล้านลูกบาศก์เมตร เก็บกักสูงสุดได้ถึง 15.71 ล้านลูกบาศก์เมตร   โครงการที่มีพื้นที่ 730.19 ไร่ มีพื้นที่รับน้ำ จำนวน 251.47 ตร.กม. จะมีการส่งเสริมทั้งทางด้านการเกษตร สามารถส่งน้ำในพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่โครงการชลประทานปัจจุบัน ฤดูฝน 8,477 ไร่  ฤดูแล้ง 7,724 ไร่ (ต.บ้านร้อง ต.ปงเตา ต.หลวงเหนือ ต.หลวงใต้ ต.บ้านโป่ง) จำนวน 20,086 ครัวเรือน มีน้ำอุปโภคบริโภคครอบคลุมพื้นที่ อ.งาว เป็นต้นทุนให้การประปาส่วนภูมิภาค ช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ 67,467 บาท/ครัวเรือน/ปี หรือประมาณ 5,600 บาท/เดือน



ได้เริ่มศึกษาเพื่อการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 2561  โดยมอบให้กรมชลประทาน เข้าดำเนินการตามแผนงาน และเปิดให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการ เพื่อรับฟังความคิดเห็น และเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ โดยใช้เวลาสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านถึง 3 ปีด้วยกัน




จากการเปิดรับฟังและหารือร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในครั้งที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เห็นด้วยในการพัฒนาโครงการ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งของอำเภองาว แม้ว่าจะมีประชาชนบางกลุ่มได้รับผลกระทบในพื้นที่ทำกิน กรมชลประทาน จึงได้เร่งดำเนินการ สร้างความเข้าใจ ทั้งในด้านความแข็งแรงของโครงสร้างอ่างเก็บน้ำ แผนการพัฒนาแนวทางการสร้างรายได้ และความชัดเจนในการจ่ายค่าชดเชยที่ดินและทรัพย์สิน หากทุกฝ่ายเห็นชอบ จะนำไปสู่การพัฒนาโครงการดังกล่าว ที่คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างได้ในปี 2568


แฟ้มภาพ รองอธิบดีติดตามความก้าวหน้า เมื่อเดือนกันยายน 64 


รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าอ่างเก็บน้ำน้ำงาว เมื่อเดือนกันยายน 64

รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าอ่างเก็บน้ำน้ำงาว เมื่อเดือนกันยายน 64

 

 

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์