วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

กฟผ.พร้อมเดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนฯ ควบคู่การดำเนินการตาม EHIA อย่างเคร่งครัด


เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 นายจรัญ คำเงิน ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)แม่เมาะ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการพิจารณาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8-9 (Mae Moh Power Plant Unit 8-9 Replacement Project : MMRP2) ว่า ในประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ได้เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก่อสร้างและติดตั้งโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9  เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินแห่งสุดท้ายของประเทศไทย โดย กฟผ. ได้รับทราบและเตรียมเดินหน้าก่อสร้าง MMRP2 ภายใต้มาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ หรือ EHIA อย่างเคร่งครัด  ซึ่งตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Revision 1) โรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 (MMRP2) มีกำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการในปี 2569 จะทำให้ในปี 2569 เป็นต้นไป โรงไฟฟ้าแม่เมาะเหลือกำลัง การผลิตติดตั้งเพียง 1,315 เมกะวัตต์ และดำเนินการผลิตไฟฟ้าไปจนกว่าเหมืองแม่เมาะจะหยุดดำเนินการขุดถ่านหินตามแผนแม่บทเหมืองแม่เมาะในปี 2593

 สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 มีกำลังการผลิตติดตั้ง 660 เมกะวัตต์ ใช้เทคโนโลยี   อัลตราซุปเปอร์คริติคอลซึ่งเป็นเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้ลดการใช้ทรัพยากร และลดปริมาณมลสารที่ปล่อยสู่บรรยากาศ ตลอดจนติดตั้งระบบควบคุมมลสารที่ปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าทั้งด้านอากาศ น้ำทิ้ง และเถ้าถ่านหิน ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของไนโตรเจน (Selective Catalytic Reduction:SCR) เครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator: ESP) และเครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulfurization : FGD) 

ทั้งนี้ กฟผ. ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าในระยะก่อสร้าง MMRP2 ในอัตรา 50,000 บาทต่อเมกะวัตต์ติดตั้งต่อปี คิดเป็นเงินรวมปีละ 33 ล้านบาท โดย กฟผ. จะนำเงินส่งเข้ากองทุนเมื่อได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า ส่วนในระยะดำเนินการ กฟผ. ต้องนำส่งเงินตามปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าในแต่ละเดือนในอัตรา 2 สตางค์ต่อหน่วยผลิตไฟฟ้าที่ขายเข้าระบบตลอดอายุโรงไฟฟ้า คิดเป็นเงินประมาณปีละ 89.35 ล้านบาท  นอกจากนั้นระหว่างการก่อสร้าง MMRP2 จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งอัตราการจ้างงานและการหมุนเวียนของการใช้จ่ายต่างๆ ใน อ.แม่เมาะ และ จ.ลำปาง อีกด้วย
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์