เมื่อวันที่ 20 ก.ย.65 พระอาจารย์สาธิต ธีรปฺญโญ ประธานสภาผู้บริโภคภาคประชาชน จ.ลำปาง ได้กล่าวเปิดเวทีสาธารณะเฝ้ารังและเตือนภัยให้ผู้บริโภค
จ.ลำปาง ที่โรงแรมบุษย์น้ำทอง ต.ชมพู
อ.เมืองลำปาง ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดลำปาง
สภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน นำมาปรับใช้ในการช่วยเหลือผู้บริโภค
พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไป พร้อมกับรายงานผลการดำเนินการตลอดระยะเวลา
1 ปีที่ผ่านมา
นายสมศักดิ์ ชมพูบุตร หัวหน้าหน่วยงานประจำจังหวัดลำปาง ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค จังหวัดลำปาง กล่าวว่า ปีที่ผ่านมาได้ดำเนินการร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในระดับจังหวัด
เกี่ยวกับการคุ้มโครงผู้บริโภคหลายเรื่องด้วยกัน โดยขับเคลื่อนหลัก 3 เรื่องคือ ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญปลอดภัย การจำหน่ายยาสามัญประจำบ้าน และรถรับส่งนักเรียน
ซึ่งเรื่องตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญนั้นได้มีการลงนามความร่วมมือกับ
เทศบาล 9 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลนครลำปาง เทศบาลเมืองเขลางค์นคร
เทศบาลเมือง พิชัย อ.เมืองลำปาง , เทศบาลเมืองล้อมแรด อ.เถิน , เทศบาลตำบล
แม่เมาะ อ.แม่เมาะ , เทศบาลตำบลเกาะคา เทศบาลตำบลศาลา เทศบาลตำบลนาแก้ว อ.เกาะคา และเทศบาลตำบล
บ้านสา อ.แจ้ห่ม เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.64
ที่ผ่านมา
และบรรลุวัตถุประสงค์มีการออกเป็นเทศบัญญัติในเทศบาล 3 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนครลำปาง เทศบาลเมืองเขลางค์นคร และเทศบาลตำบลเกาะคา
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า การตรวจสอบ ติดตาม
เฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสินค้าและบริการ แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารหรือเตือนภัยฯ ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ดำเนินการโครงการ เฝ้าระวัง ยา,อาหาร ,ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในชุมชน
โดยการสำรวจร้านชำในพื้นที่เป้าหมาย 472 ร้าน ซึ่งพบว่ามีการจำหน่ายยาที่ห้ามขายในร้านชำ เช่น ยาชุด, ทิฟฟี่, ดีคอลเจน,ยาแก้อักเสบแบบกระปุก(ดำ-แดง),ยากระเพาะโอมีฟราโซน,อะม๊อกชี่,ไดพี่ลินป๊อก,กาโน้,ยาถ่ายพยาธิ,ยาคุมกำเนิด,ยาน้ำสมุนไพร,
เมื่อสอบถามเหตุผลทราบว่าคนในชุมชนเรียกร้องให้นำมาจำหน่าย
และไม่ทราบว่ามีกฎหมายห้ามจำหน่ายยาดังกล่าว
ส่วนการพัฒนา
ระบบรถรับ-ส่ง นักเรียนที่ปลอดภัย ได้ดำเนินการร่วมกับ 6 โรงเรียนใหญ่ ในพื้นที่ อ.เมืองลำปาง อ.งาว และอ.สบปราบ พัฒนาจุดรับส่งที่ปลอดภัย รวมถึงแกนนำนักเรียนพี่ดูแลน้องในรถ และผู้ประกอบการที่จะต้องเฝ้าระวังและมีความรับผิดชอบให้เด็กมีความปลอดภัย
เป็นต้น
นอกจากนั้นยังได้สนับสนุนการรวมตัวและช่วยเหลือองค์กรของผู้บริโภคภายในจังหวัด เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้บริโภค โดยมีองค์กรสมาชิกจำนวน 20 องค์กร ครอบคลุม 11อำเภอ ซึ่งมีการรับเรื่องร้องเรียนตั้งแต่ช่วงเดือน ต.ค.64 ถึงเดือน ส.ค. 65 มากกว่า 250 เรื่อง โดยเฉพาะด้านบริการสุขภาพ เช่น สิทธิการรักษาพยาบาล การชดเชยเยียวยาโควิด รองลงมาคือ เรื่องอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีความไม่ปลอดภัย ไม่มีมาตรฐาน มีสารปนเปื้อน และด้านการเงินการธนาคาร เช่น เรื่องประกันภัยโควิด ประกันอุบัติเหตุ สินเชื่อส่วนบุคคลฯลฯ
ซึ่งทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค
มีการให้คำปรึกษา ด้านกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กรณีถูกละเมิดสิทธิ ,ไกล่เกลี่ย,ประณีประนอม,ดำเนินคดีผู้บริโภค โดยมีทนายความประจำหน่วยงานคอยให้คำปรึกษาและช่วยเหลืออยู่
4 ท่านด้วยกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น