วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2566

ก้าวต่อของแม่เมาะเมืองน่าอยู่ ทุ่มงบอีก 20 ล้าน พัฒนาพื้นที่แม่เมาะต่อเนื่อง



ปีแรกของการขับเคลื่อนโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ (Mae Moh Smart City) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่เมาะให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว โดยเริ่มพัฒนาใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม (Smart Environment)  ด้านการส่งเสริมพลังงานสะอาด ( Smart Energy)  ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจ (Smart Economy)  ถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก  จะเห็นได้ว่าชาวบ้านได้รับโอกาสและการพัฒนาในหลายด้านควบคู่กันไป ซึ่งเป็นเป้าหมายของ กฟผ.แม่เมาะที่ต้องการวางรากฐานไว้ให้กับชุมชน ในยามที่โรงไฟฟ้าต้องหมดอายุการใช้งานไปในปี 2593




จากที่ลานนาโพสต์ได้พูดคุยกับ นางเกษศิรินทร์  แปงเสน  หัวหน้าโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่  ทำให้ทราบว่า ผลงานปีแรกของแม่เมาะเมืองน่าอยู่ มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น  โครงการ  Biomass Co-firing  การรับซื้อเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากชาวบ้านเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล  , โครงการ Nearly  zero  building  การศึกษาอาคารประหยัดพลังงานใกล้เคียงศูนย์  โดยการติดตั้งแผงโซลาร์ใช้แทนพลังงานไฟฟ้า ,   โครงการ EV conversion   รถไฟฟ้าดัดแปลง ได้รับการจดทะเบียน4 คันแรกของไทย , โครงการทดลองการทำเกษตรแนวตั้ง (Vertical Farm) , ยกระดับการจัดงานแม่เมาะฮาล์ฟมาราธอนสู่เวิร์ลคลาส , โครงการ Sensor for All ติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศครอบคลุมทุกชุมชนใน อ.แม่เมาะ  ฯลฯ


ติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ


Vertical Farm

และก้าวต่อไปในปีที่ 2 ของแม่เมาะเมืองน่าอยู่  แน่นอนว่า กฟผ.แม่เมาะยังมีโครงการต่อเนื่อง และโครงการดีๆที่จะส่งเสริมในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น  นางเกษศิรินทร์   กล่าวว่า จะมีการต่อยอดโครงการ   Nearly  zero  building  เพิ่มสถานที่หน่วยงานราชการอีก 10 หน่วยงาน   รวมไปถึงการสร้างพันธมิตร โครงการ EV conversion รถไฟฟ้าดัดแปลง โดย กฟผ.แม่เมาะจะพัฒนาเป็น HUB  รวมเครือข่ายวิทยาลัยเทคนิคเข้าด้วยกัน  และจะเชื่อมโยงส่งต่อให้บริษัทฝึกงานต่างๆ   และ โครงการนำร่องทำ Vertical Farm  ที่ ต.บ้านดง เป็นแห่งแรก  จะส่งเสริมให้ชุมชนได้มีอาชีพ


โครงการ  Nearly  zero  building


แฟ้มภาพ โซลาร์เซล 


สำหรับโครงการใหญ่ที่น่าติดตามคือ การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มบนพื้นที่ 400 ไร่ ในพื้นที่ อ.แม่เมาะ รวมทั้งแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ เชื่อมโยงกับโครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะ มุ่งบริหารจัดการขยะในพื้นที่ อ.แม่เมาะได้ทั้งหมด

ส่วนงบประมาณที่ใช้ดำเนินการ ในปีแรก กฟผ.ได้ใช้งบไปทั้งสิ้น 20 ล้านบาท เพื่อศึกษา หาผู้เชี่ยวชาญและพาร์ทเนอร์ชิพต่างๆเข้ามาทำงานร่วมกัน   และในปี 2566 นี้ หัวหน้าโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่  กล่าวว่า  ยังคงใช้งบประมาณต่อเนื่องอีกราวๆ 20 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เพื่อสานต่องานดังกล่าว  ซึ่ง กฟผ.แม่เมาะจะยังไม่หยุดยั้งเพียงเท่านี้ เนื่องจากต้องการให้เกิดความยั่งยืนในอนาคตที่แท้จริง





 

 

 

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์