วันอังคารที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2566

เปิดนโยบายพรรคเพื่อชาติ ภายใต้ชื่อ ‘เพื่อชาติ (นี้) ไม่ต้องรอชาติหน้า’



พรรคเพื่อชาติ นำโดย  "ฮาย" ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช  หัวหน้าพรรค นำเสนอนโยบายสำคัญหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาฝุ่นPM2.5 ปัญหาสุราเสรี ปัญหาเด็กและเยาวชน ฯลฯ   ตามแนวคิด เพื่อชาติ(นี้ )ไม่ต้องรอชาติหน้า   

 

นโยบายสุราเสรีเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย และประชาชน  

1.    ปลดล็อกสุราชุมชน รายย่อยต้องได้รับโอกาส

2. ยกเลิก พรบ ควบคุมการโฆษณามาตรา 32 เปลี่ยนเป็นจัดเก็บภาษีการโฆษณา

ในอัตราก้าวหน้า เพื่อการแข่งขันอย่างเท่าเทียม

3. ยกเลิกประกาศเวลาขายที่ล้าหลัง ส่งเสริมธุรกิจให้เติบโต
4. ส่งเสริมการเรียนรู้ การผลิต ครบวงจรสำหรับ อาชีวะและ กศน
5. เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของพืชผลการเกษตร นำตลาดสุราสู่สากล

 

นโยบายด้านเด็กและเยาวชน

1.ยกเลิกชุดนักเรียน/นักศึกษา ปรับโรงเรียนที่ละเมิดสิทธิเด็ก แก้ไขกฎกระทรวงในเรืองการแต่งกายเพิ่มเติม ให้ทุกโรงเรียนปฏิบัติตามโดยไม่ละเว้นให้ใช้ดุลยพินิจ โดยให้แต่งกายตามเพศสภาวะที่ผู้เรียนต้องการ แต่ให้กำหนดให้แต่งกายสุภาพแทน

2. เพิ่มคุณภาพ เพิ่มงบประมาณอาหารกลางวันเด็ก ใช้งบประมาณที่ได้จากการยกเลิกเงินอุดหนุนชุดนักเรียนมาเพิ่มเป็นเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันเด็กอย่างน้อย 30 บาท/หัว ไม่รวมค่านม เพิ่มเงินเดือนนักโภชนาการประจำ สสจ และให้กำหนดอาหารที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กทุก 6 เดือน และใช้วัตถุดิบท้องถิ่นที่มีความปลอดภัย ไร้สารพิษ เพื่อความยั่งยืนทางอาหาร

3. ลานเด็กเล็ก ปลอดภัยใกล้บ้าน  กำหนดให้ อปท. ปฏิบัติการให้ทุกศูนย์เด็กเล็กมีงานเล่นและมีกิจกรรมการเล่นอย่างน้อย สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง โดยเป็นการเล่นเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ตามศักยภาพของตัวเองและได้ใกล้ชิดธรรมชาติ

          4. โรงเรียนปลอดภัย ไร้ความรุนแรง  กำหนดให้ทุกโรงเรียนมีเช็คลิสต์โรงเรียนปลอดภัยสำหรับนักเรียนที่ต้องปฏิบัติตามก่อนเริ่มปีการศึกษา  ครูและผู้บริหารโรงเรียนร่วมกับตัวแทนจาก พม หรือเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ ประเมินคู่มือเชคลิสต์ ปัจจัยเสี่ยง และสรุปร่วมกันเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ตรงตามเช็คลิสต์ส่งต่อเคส ตามกระบวนการ

5. Family Group Day Care (แฟมิลี่ กรุ๊ป เดย์ แคร์) สร้างพื้นที่รับฝากเลี้ยงลูกปลอดภัยประจำชุมชน สร้างศูนย์รับฝากเลี้ยงเด็ก โดยผู้ใหญ่ซึ่งเป็นคนในชุมชนผลัดเปลี่ยนกันมาดูแลเด็ก ตามความถนัดของตนเอง  และคนที่อาสามาเลี้ยงก็ได้ค่าตอบแทน

6. โรงเรียนเอาตัวรอด สอนทักษะที่จำเป็นนอกโรงเรียน เช่น วิธีเอาตัวรอดเมื่อติดในรถ, CPR, รับมือการโดนล่วงละเมิด ฯลฯ

 

นโยบายเพื่อพนักงานบริการ การเรียนรู้เรื่องเพศ และการให้ความสุขทางเพศ Sex Worker - Sex Creator - Sex Toy มีดังนี้

1. ทำอาชีพพนักงานบริการทางเพศให้ไม่ผิดกฎหมาย คุ้มครองแรงงานภาคบริการ ยกเลิกกฎหมายที่ล้าสมัย

2. ปฏิรูปการเรียนเพศศึกษาใน-นอกโรงเรียน เพื่อลดการตีตรา อคติ เลือกปฏิบัติ และลดความรุนแรงที่มาจากเหตุแห่งเพศ

3. ถึงเวลาแล้วที่อาชีพเซ็กส์ครีเอเตอร์ และ เซ็กส์ทอย ต้องถูกกฎหมาย

 

นโยบายแรงงานแพลตฟอร์ม เพื่อ แรงงานที่ทำงานในแอปพลิเคชันแพลตฟอร์ม ร้านค้า และผู้ใช้บริการ ผลักดัน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานแพลตฟอร์มที่มีเนื้อหาครอบคลุมเพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย   

1. กำหนดค่าแรงขั้นต่ำอย่างชัดเจน โดยไม่นับรวมค่าน้ำมัน ค่าแก๊ส และค่าเสื่อมของเครื่องยนต์

2. ได้รับสิทธิการลาป่วย ลาคลอด พักร้อน และเงินชดเชยอื่นๆ

 

3. บริษัทเจ้าของแอปพลิเคชันต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อการทำงานให้กับแรงงาน​ โดยมีข้อกำหนดแนวทาง (guidelines) ด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และนโยบายที่ต่อต้านการคุกคามทุกรูปแบบ

4. แรงงานที่ทำงานในแพลตฟอร์มต้องได้รับสิทธิในการเรียกร้องค่าแรงที่เป็นธรรม

5. คุ้มครองแรงงานจากการถูกพัก หรือให้ออกจากงานในกรณีที่มีการแจ้งเบาะแสใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน และผู้ใช้บริการ

6. มีคณะกรรมการสอบสวนอิสระเพื่อสอบสวนปัญหา ในกรณีที่แรงงานถูกละเมิดสิทธิ

7. บริษัทแอปพลิเคชันต้องจัดหาประกันให้กับแรงงานอย่างเหมาะสม

8. บริษัทแอปพลิเคชันต้องทำการอบรมและช่วยเหลือแรงงานอย่างเหมาะสม

9. อนุญาตให้แรงงานสามารถรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมได้

10. บริษัทแอปพลิเคชันต้องเปิดเผยวิธีการคิคคำนวณ ค่ารอบ ค่าGP ค่าโบนัส ฯลฯ อย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

 

นโยบายเพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรเพื่อรับมือเมื่อเกิดวิกฤตฝุ่นควันได้ รวมทั้งการปฏิบัติการที่จะทำให้ประชาชนได้มีอากาศสะอาดหายใจตลอดทั้งปี

1.สนับสนุน พ.ร.บ.อากาศสะอาด ซึ่งผ่านการพิจารณาและพัฒนาร่วม โดยภาคประชาสังคม ประชาชน นักวิชาการ ตัวแทนจากกลุ่มและองค์กรต่างๆ ที่ใส่ใจในสิทธิการหายใจ

2. รัฐบาลต้องมีระบบแจ้งเตือนเมื่อฝุ่นควันมีค่าเกินมาตรฐานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากฝุ่น ผ่านทาง SMS ไปยังโทรศัพท์ของทุกคนที่อยู่ในพื้นที่

3. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อค่าฝุ่น AQI เกิน 200 ให้เป็นภัยพิบัติของพื้นที่ โดยรัฐมีหน้าที่สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันภัยทางสุขภาพ ต้องแจกหน้ากากที่มีประสิทธิภาพให้แก่ประชาชน

4. จัดให้มีห้องปลอดฝุ่นอย่างน้อย 1 ห้องในทุกโรงเรียนและชุมชน เป็นห้องที่มีการปิดซีลอย่างถูกต้อง มีเครื่องกรองฝุ่นที่มีประสิทธิภาพ ตรวจวัดค่าฝุ่นได้ไม่เกินมาตรฐานที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

5. สนับสนุนเครื่องกรองฝุ่นให้มีราคาถูก โดยรัฐเป็นผู้จัดสรรการผลิตร่วมกับสถาบันการศึกษาในประเทศ เพื่อให้ได้เครื่องกรองฝุ่นที่มีมาตรฐานในราคาที่ประชาชนเข้าถึงได้ รวมทั้งสนับสนุนไส้กรองของเครื่องกรองฝุ่นด้วย

6. กำหนดให้ทุกหน่วยงานองค์กรมีเครื่องกรองฝุ่นในพื้นที่ทำงานพร้อมจัดการสภาพแวดล้อมภายในอาคารให้มีคุณภาพอากาศในระดับมาตรฐาน และให้ทางเลือกแก่พนักงานให้สามารถทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ได้ในวันที่ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน

7. สนับสนุนสวัสดิการและประกันชีวิตแก่นักดับไฟ เพื่อให้คนที่ทำหน้าที่ดับไฟมีสวัสดิการแลกกับการทำงานด่านหน้าที่อันตราย

8. ดูแลควบคุมพื้นที่เกษตรที่จำเป็นต้องเผา กระจายอำนาจให้เป็นการกำหนดร่วมโดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อใช้ข้อมูลและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับภูมิปัญญาการเพาะปลูกพืชในท้องถิ่น ระหว่างเกษตรกร ชุมชน รัฐ ฯลฯ ในการออกแบบรูปแบบการเผาอย่างเหมาะกับสภาพพื้นที่และความจำเป็น

9. ออกกฎห้ามนำเข้าผลิตผลทางการเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านที่ที่มีการจุดไฟเผาในแปลงเกษตร ไม่ว่าจะเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เกษตรหรือเพื่อกำจัดซากจากการเกษตรโดยตรวจสอบจากจุดความร้อนย้อนหลังด้วยข้อมูลบันทึกผ่านดาวเทียม

10. สนับสนุนการเฝ้าระวัง และออกกฎเข้มข้นเพื่องดเว้นการเผาป่า เฉพาะป่าเต็งรังที่ต้องมีการเผาตามรอบธรรมชาติเพื่อผลัดเปลี่ยนรุ่นของพืชให้เป็นการออกแบบวิธี และช่วงเวลาการเผาโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้อง เช่น นักวนศาสตร์ ชุมชนที่อยู่ร่วมกับป่า เป็นต้น

11. จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจที่มีตัวแทนจากหลายกระทรวง องค์กร และภาคประชาสังคม เพื่อทำงานร่วมกันแนวราบ (Flat Organization) โดยเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การปฏิบัติการเพื่อหยุดต้นตอของการเกิดฝุ่นควัน การทำงานส่งเสริมสุขภาพของประชาชน และการกระจายข้อมูลที่เป็นจริง เป็นประโยชน์ และทันเวลา แก่ประชาชนไปพร้อมกัน

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์