วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2566

รู้หรือไม่? มันสำปะหลัง-หน่อไม้สด มี “ไซยาไนด์”



ไซยาไนด์ (Cyanides) สารพิษอันตรายที่หลายคนทราบถึงอันตรายและพิษร้ายแรงเฉียบพลันของมัน ซึ่ง จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 หากครอบครอง โดยมิได้รับอนุญาตมีโทษทั้งจำและปรับ โดยที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางคือ โพแทสเซียมไซยาไนด์ (Potassium cyanide) ที่มีลักษณะเป็นก้อนผลึก หรือผงสีขาว เมื่อเป็นของเหลวจะใสไม่มี หรือแก๊สที่ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน และเป็นพิษอย่างรุนแรงเมื่อเผาไหม้ 

อาจทำให้ระคายเคืองเมื่อสูดดม และอาจทำให้เกิดอาการ เช่น หายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ ภาวะหัวใจหยุดเต้น สมองบวม ชัก และหมดสติ และอาจเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

ไซยาไนด์มีในธรรมชาติ

ไซยาไนด์ ที่พบในพืช จะอยู่ในรูปของ ไกลโคไซต์ ที่เป็นพิษ (Cyanogenenic glycosides) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีความเป็นพิษที่พบตาม ธรรมชาติในพืชบางชนิด อาทิ มันสำปะหลัง ข้าวชนิดต่างๆ เช่น มันสำปะหลัง สบู่ดำ หน่อไม้สด ถั่วลิมา อัลมอนด์ชนิดขม

·        มันสำปะหลัง พบในรูปลินามาริน (linamarin) และ โลทอสตราลิน (lotaustralin) ร้อยละ 80-90 และ ที่เหลือพบในรูปของไซยาไนด์อิสระหรือไฮโดรเจน ไซยาไนด์ หากรับประทานมันสำปะหลังดิบ ในส่วนหัว ราก ใบ จะมีพิษทำให้ถึงตายได้ มีฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและทางเดินโลหิต ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่เซลล์สมองน้อยลง ถ้ากินพืชที่มีสารนี้สด ๆ จะอาเจียน หายใจขัด ชักกระตุก กล้ามเนื้อไม่มีแรง หายใจลำบาก อาการรุนแรงมาก ลมหายใจมีกลิ่นไซยาไนด์ ทำให้เสียชีวิตได้ พบอาการพิษแบบฉับพลันคือ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน และอุจจาระร่วง 

·         หน่อไม้สด มีคุณค่าทางอาหารสูง แต่ควรหลีกเลี่ยงการกินหน่อไม้ดิบหรือหน่อไม้ที่ยังปรุงไม่สุกเพราะหน่อไม้ดิบมีสารซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์มีพิษต่อร่างกาย และทำให้เกิดอันตรายกับร่างกายได้ ซึ่งกลไกของร่างกายหากรับในปริมาณที่น้อยก็สามารถขับออกมาได้ทางปัสสาวะได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมาก อาจเข้าไปจับตัวกับสารในเม็ดเลือดแดงแทนที่ออกซิเจนจะทำให้เกิดอาการขาด ออกซิเจน หมดสติและเสียชีวิต ข้อแนะนำในต้มหน่อไม้ ไม่ว่าจะเป็นหน่อไม้ดองหรือหน่อไม้ปี๊บ โดยเฉพาะหน่อไม้สด ฉะนั้นควรต้มน้ำให้เดือดอย่างน้อย 10 นาที ลดไซยาไนด์ได้ 90.5%

อย่างไรก็ตามไม่ใช่เรื่องน่ากังวล ในการรับประทานพืชผัก ผลไม้เหล่านี้ หากมีการล้างให้สะอาดและปรุงสุดผ่านความร้อน ไม่ว่าจะเป็นการต้ม อบ หรือ ทอด เผา อบแห้ง ก็สามารถบริโภคได้ตามปกติ ขณะที่ แป้งมันสำปะหลังเองก็ก็ผ่านกระบวนการผลิตอย่างการโม่หลังจากกระเทาะเปลือกแล้ว ทำให้ไซยาไนด์ให้มีปริมาณลดลงจนถึงระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อการบริโภค  

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมอนามัย,กรมควบคุมโรคและpobpad

 

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์