วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ระดมทีมสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก 12 หน่วยงาน ร่วมผ่าตัดช้างพังสยาม รักษาอาการกระดูกขาหน้าซ้ายหัก

 


ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ อ.อ.ป. ระดมสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก  12 หน่วยงาน ร่วมผ่าตัดช้างพังสยาม รักษาอาการกระดูกขาหน้าซ้ายหัก เพื่อเร่งช่วยเหลือและรักษาอาการให้ดีขึ้นโดยเร็ว

วันที่  10 มิถุนายน 2566 ที่บริเวณลานหน้าโรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ (ส.คช.) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จังหวัดลำปาง สัตว์แพทย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสาขาต่างๆจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชนจำนวน 12 หน่วยงาน ประกอบกด้วย สัตว์แพทย์โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ (ส.คช.) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จังหวัดลำปาง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์, มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม,มูลนิธิโกลเด้น ไทรแองเกิ้ล เอเชียน เอเลเฟนท์, มูลนิธิเพื่อนช้างจังหวัดลำปาง, มูลนิธิเซาท์เทิร์นไทยแลนด์ เอเลเฟนท์ ฟาวน์เดชัน, Elephant Jungle Sanctuary , บริษัท เอเลเฟนท์ ฮิลส์ จำกัด และทีมงานสมาคมสมาพันธุ์ช้างไทย กว่า 30 นาย  ร่วมกันประชุมวางแผนในการรักษาอาการบาดเจ็บของช้างพังสยาม เป็นช้างจากปางช้างแห่งหนึ่งใน จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับเจ็บจากอุบัติเหตุช้างเหยียบกัน ขณะลงเล่นน้ำจนขาหน้าข้างซ้ายหัก เหตุเกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา





 หลังจากเกิดเหตุ ทางสมาคมสหพันธ์ช้างไทยได้เข้าไปรับตัว ช้างเพศเมีย พังสยาม มาเข้ารับการดูแลรักษาที่ โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ (ส.คช.) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จังหวัดลำปาง อำนวยการ โดยนายสุรัตน์ชัย อินทร์วิเศษ ผู้อำนวยการสำนักสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์  องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จ.ลำปาง  แจ้งประสานงาน น.สพ. ดร.ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ (ส.คช.) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จ.ลำปาง ร่วมประชุมวางแผนในวันนี้ด้วย ซึ่งเป็นการรักษาแบบเต็มรูปแบบเป็นครั้งที่ 5 แล้ว




ในครั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลรักษาช้างชื่อดัง เช่น  รองศาสตรจารย์นายแพทย์เทอดชัย ชีวะเกตุ  นายสัตวแพทย์ปรีชา พวงคำ มาเป็นที่ปรึกษาในการรักษาช้างพังสยาม เนื่องจากทั้ง 2 ท่านนี้มีประสบการณ์มากมายในการดูแลรักษาช้างและประดิษฐ์วัสดุต่างๆในการช่วยพยุงหากช้างพิการ เพื่อให้การดูแลรักษาช้างเชือกนี้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ก่อนดำเนินการได้มีการประชุมวางแผนแบ่งทีมงานผู้เชียวชาญด้านต่างๆให้ทำงานร่วมกันดูแลรักษาช้างพังสยาม อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เพราะการจะผ่าตัดหรือการล้างแผลให้ช้างแต่ละครั้งต้องใช้ความระมัดระวังให้มากที่สุดเพราะช้างเป็นสัตว์ใหญ่หากมีเลือดออกมาก็จะส่งผลกระทบทันที และหากไม่เร่งรักษาบาดแผลจะเสียหายมากยิ่งขึ้น  




โดยได้ทำการเอกซเรย์บาดแผล ทำการผ่าแล้วตัดเอาเนื้อที่ตายออกรวมไปถึงเศษกระดูกที่ยังหลงเหลือ ทำตามขั้นตอนต่างๆ จากนั้นและใส่เฝือกให้ช้างอีกครั้ง เพื่อที่จะช่วยเหลือในการค้ำยันพยุงตัวช้างอีกทางหนึ่ง  

รศ.นพ.เทอดชัย ชีวะเกตุ  ที่ปรึกษาในการรักษาช้างพังสยาม กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลายภาคส่วน ร่วมใจกันมาช่วยเหลือช้างพังสยามถือว่าเป็นเรื่องที่ดีและเชื่อมันว่าการรักษาช้างเชือกนี้จะผ่านพ้นไปด้วยดี

 

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์