วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2566

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ ให้ความรู้ด้านพลังงานทดแทนกับชาวบ้าน พร้อมเข้าตรวจเยี่ยมบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ลำปาง ที่ได้ปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

 



วันที่ 23 มิ.ย. 66 ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)  เปิดเผยว่า  พพ.ได้ร่วมกับ มูลนิธิณัฐภูมิ จัดกิจกรรม "พลังงานสร้างสุข สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน"สร้างความ.

รู้ความเข้าใจ  การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ณ มูลนิธิณัฐภูมิ เพื่อรณรงค์ให้ความรู้ ชเรื่องการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน  สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคนอย่างยั่งยืน โดยมีประชาชนกว่า 100 คน เข้าร่วมกิจกรรม ภายในงานได้มีการบรรยายสร้างความรู้ให้แก่ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม โดย ศูนย์บริการวิชาการที่ 7 (จ.เชียงใหม่) กองถ่ายทอดและเผยแพร่ เทคโนโลยี พพ. ,นิทรรศการสาธิตการทำงานของระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ,“การสร้างและเทคนิคการเผาถ่านจากเตาถ่าน 200 ลิตรบรรยายโดย นายวรเชษฐ์  ศรีวงศ์พันธ์ ปราชญ์ชาวบ้าน อีกด้วย





นอกจากนั้น ดร.ประเสริฐ และคณะ ได้เข้าเยี่ยมชมบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดย พพ. ได้สนันสนุนเงินลงทุนในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรในสัดส่วนร้อยละ 20 ของเงินลงทุนทั้งหมด  แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท





          ทั้งนี้ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด เป็นบริษัทในเครือเอสซีจี มีกำลังการผลิต 2.1 ล้านตัน ซึ่งธุรกิจซีเมนต์  ถือเป็นกลุ่มธุรกิจแรกของ SCG เดิมบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด มีเครื่องอัดอากาศ (air compressor) ในไลน์การผลิตปูนของโรงงานที่มีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างนาน และมีประสิทธิภาพต่ำ ดังนั้นจึงได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องอัดอากาศ ชนิด VSD screw air compressor พิกัด 110 กิโลวัตต์ จำนวน 5 ชุด ทดแทนชุดเดิมเพื่อลดการใช้พลังงาน จากผลการดำเนินงานในมาตรการ การใช้เครื่องอัดอากาศประสิทธิภาพสูงทดแทนชุดเดิมนั้น ทางบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ใช้งบประมาณลงทุนไป 5,008,659.65 บาท ได้รับเงินสนับสนุนจากโครงการฯ จำนวน 1,001,731.93 บาท เกิดผลประหยัดพลังงานไม่น้อยกว่า 1,718,530.16 หน่วยต่อปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 5,052,478.68 บาทต่อปี และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 859.09 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่าต่อปี





          ดร.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันโครงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ปี 2564 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน  มีผู้ประกอบการได้รับการสนับสนุนจำนวน 381 ราย รวมวงเงินที่สนับสนุน 288.63 ล้านบาท ก่อให้เกิดการลงทุนในระบบเศรษฐกิจของประเทศประมาณ 1,309.42 ล้านบาท มีผลประหยัดพลังงานเทียบเท่าน้ำมันดิบไม่น้อยกว่า 14 พันตันต่อปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 121,110 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่าต่อปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 463.47 ล้านบาทต่อปี 




โดยมาตรการที่ได้รับความนิยมในการขอรับสนับสนุน อาทิ มาตรการเปลี่ยนเครื่องอัดอากาศ,มาตรการเปลี่ยนเครื่องทำน้ำเย็น Chiller ,มาตรการเปลี่ยนอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบ VSD ,มาตรการเปลี่ยนมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง และมาตรการเปลี่ยน เครื่องฉีดพลาสติก นับได้ว่าโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยจากนี้จะนำไปเป็นกรณีตัวอย่างมาตรการอนุรักษ์พลังงานนำไปเผยแพร่ขยายผลต่อไป




Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์