สภาองค์กรของผู้บริโภค เผยข้อมูลกู้ยืมเงินเกิน
2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีสัญญาการกู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษร
และต้องมีลายเซ็นผู้กู้ในสัญญา หากไม่มีหลักฐานหรือสัญญา
จะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ แม้ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายก็ตาม
ดอกเบี้ยเงินกู้ต้องไม่เกินร้อยละ
15 ต่อปี หรือร้อยละ 1.25 ต่อเดือน หากเจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15
ต่อปี ให้ถือว่าดอกเบี้ยนั้นตกเป็นโมฆะ
ยกเว้นกรณีเป็นสถาบันการเงินหรือธนาคารที่กฎหมายให้อำนาจเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าอัตราร้อยละ
15 ต่อปีได้ แต่ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
สิ่งที่ต้องระบุในสัญญากู้ยืมเงิน
ได้แก่
1.
วันที่ที่ทำสัญญากู้เงิน
2. ชื่อ – นามสกุล ผู้ขอกู้เงินและผู้ให้กู้เงิน
3. จำนวนเงินที่กู้
(ต้องเขียนจำนวนเงินเป็นตัวหนังสือกำกับไว้ด้วย)
4. กำหนดการชำระคืน
5.
ดอกเบี้ยต่อเดือน/ต่อปี (ถ้ามี)
6.
ลายมือชื่อผู้กู้ยืม
7.
ลายมือชื่อผู้ให้กู้ (มีหรือไม่มีก็ได้)
8. อื่นๆ เช่น
สถานที่ทำสัญญา ผลของการผิดสัญญา พยานในการทำสัญญา เป็นต้น
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน
1. ตรวจสอบจำนวนเงิน
และทำความเข้าใจเนื้อหาในสัญญาก่อนเซ็นสัญญาทุกครั้ง
2.
ห้ามลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าเด็ดขาด หรือสัญญาที่มีการเว้นเว้นช่องว่างผิดปกติ
เนื่องจากผู้ให้กู้อาจจะเติมข้อความหรือเนื้อหาอื่นๆ
ในสัญญาหลังจากที่เราเซ็นชื่อไปแล้ว ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญญาในอนาคตได้
3. ไม่ควรนำโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับการทำประโยชน์ในที่ดิน
(น.ส.3) ไปให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน
4.
สัญญาต้องทำอย่างน้อย 2 ฉบับ โดยให้ผู้กู้ยืมถือไว้ด้วย 1 ฉบับ
5.
ในสัญญาควรมีลายเซ็นพยานฝ่ายผู้กู้ยืมอย่างน้อย 1 คน
6.
การชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ต้องขอรับใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับเงินซึ่งมีลายมือชื่อผู้ให้กู้ยืมลงกำกับด้วยทุกครั้ง
เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าได้ชำระหนี้แล้ว
7.
เมื่อชำระหนี้ทั้งหมดต้องขอสัญญากู้คืนจากผู้ให้กู้ยืมด้วย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น