วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าสู่หมู่บ้านปางมะโอ กลางดึกโชคดีในพื้นที่มีความพร้อม พบดินโคลนไหลทับ และเข้าโรงเพาะเห็ดหอมได้รับความเสียหายบางส่วน



               หลังจากที่ในพื้นที่จังหวัดลำปาง เกิดฝนตกตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม 2566 เป็นต้นมา และจากการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่เสี่ยงน้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่ม ในพื้นที่ จังหวัดลำปาง โดยกรมทรัพยากรน้ำ โดยส่วนอุทกวิทยาที่ 1 เชียงใหม่ สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 1 ได้รับรายงานปริมาณน้ำฝนจากสถานีเตือนภัยล่วงหน้า บ้านปางมะโอ ม.1 ต.วังเงิน อ.แม่ทะ จ.ลำปาง เมื่อคืนวันที่ 2 กรกฏาคม 2566 เวลา 22.24 น.มีปริมาณน้ำฝนสะสม 12 ชั่วโมง เท่ากับ 122.5 มิลลิเมตร (สัญญาณไฟสีเหลือง)อาจเกิดน้ำป่าไหลหลากพื้นที่หมู่บ้านลุ่มต่ำหมู่บ้านนท้ายน้ำ จึงแจ้งเตือนไปในส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จ.ลำปาง 






             ส่งผลให้ช่วงกลางดึกคืนที่ผ่านมาเกิดน้ำป่าไหลหลากในหมู่บ้านปางมะโอ เข้าท่วมถนนในหมู่บ้านและโรงเพาะเห็ดหอมของชาวบ้านบางส่วน ก่อนจะไหลลงทุ่งนาและแห้งลงอย่างรวดเร็ว   

             โดยช่วงเช้าวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 จากการตรวจสอบพบว่า ถนนในหมู่บ้านปางมะโอ ม.1 ต.วังเงินได้รับผลกระทบมีเศษดินโคลนและเศษหินบางส่วน ปิดทับเส้นทางถนนในหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ ร่วมใจกันเร่งตักเศษดินโคลนเข้าข้างถนน เพื่อเปิดให้รถจักรยานยนต์ที่ชาวบ้านใช้สัญจรส่งลูกหลานไปโรงเรียน รวมไปถึงรถรับส่งนักเรียนที่สัญจรรับส่งนักเรียนในหมู่บ้านได้สัญจรชั่วคราวไปก่อนล




            นอกจากนี้ยังพบว่าที่บริเวณเนินเขาข้างกุฏิวัดบ้านปางมะโอ เกิดดินสไลด์ทางยาวกว่า 20  เมตร ลงมาปิดถนนไป 1 ช่องทาง แต่ยังสัญจรเข้าออกหมู่บ้านได้ ส่วนลำห้วยแม่มาย ที่ไหลผ่านหลางหมู่บ้านพบว่า มีเพียงร่องรอยน้ำป่าไหลหลาก สภาพน้ำในลำห้วยไหลกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ยังไม่ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนชาวบ้านแต่อย่างใด มีเพียงโรงเรือนเพาะเห็ดหอม ที่ได้รับผลกระทบบางส่วนนั้นที่ปลูกติดลำห้วยแม่มาย

           เบื้องต้นได้มีการประสาน เจ้าหน้าที่ อบต.วังเงินเพื่อที่จะเร่งนำรถไถมาไถเศษดินที่ทับถมถนนในหมู่บ้านและเร่งสำรวจเพื่อให้การช่วยเหลือแล้ว ส่วนน้ำในลำห้วยแม่ม่ายได้ไหลหลงสู่หมู่บ้านถัดไปคือบ้าน มาย ม.7 ต.วังเงิน พบว่าน้ำได้ล้นตลิ่งแนวป้องกันน้ำท่วมเข้าท่วมถนนที่ติดลำห้วย และพื้นที่ชาวบ้านบางส่วนจะมีเศษโคลนทับถมเล็กน้อย ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ส่วนระดับมวลน้ำทั้งหมดพบว่าไหลลงสู่แปลงนาข้าวชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้มีการเตรียมหว่านเมล็ดข้าว เพื่อรอน้ำในการเพาะปลูกกระจายหายไปทั่วพื้นที่แล้วส่งผลดีไปทางหนึ่ง


Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์