วันที่
15 ก.ค. 66 กรมอุตุนิยมวิทยา
ได้อัพเดทเส้นทางพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน (ข้อมูลจาก RSMC โตเกียว
ญี่ปุ่น) คาดว่าจะทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อนได้ในวันนี้ หากเป็นพายุโซนร้อน
จะได้ชื่อว่า "ตาลิม (TALIM) หมายถึง คม (คมมีด" ตั้งชื่อโดยประเทศฟิลิปปินส์)
เมื่อยังอยู่ในทะเลคาดว่าจะเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือไปทางเกาะไหลหลำ
ประเทศจีน และจะขึ้นฝั่งรอยต่อระหว่างประเทศจีนตอนใต้และเวียดนามตอนบน
หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณ
สปป.ลาว และอาจจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ บริเวณ จ.น่าน และภาคเหนือของไทย
ซึ่งตามแนวเส้นทางของพายุฯ
จะส่งผลให้ ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน มีฝนตกหนักได้
และอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้
ต้องเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด
นอกจากติดตามพายุแล้วยังต้องตามมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
วันนี้เริ่มมีกำลังแรงขึ้น และร่องมรสุม
(ร่องความกดอากาศต่ำ)เลื่อนลงมาพาดผ่านประเทศไทยตอนบน
จึงทำให้ในสัปดาห์หน้านี้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น
ช่วงที่ฝนตกเตรียมตัวรับมือทั้งฝนตกหนัก และฝนสะสม ต้องระวัง และเป็นโอกาสดีที่จะได้สำรองน้ำฝนไว้ใช้
พร้อมกันนี้
ได้ออกประกาศแจ้งเตือน เรื่อง พายุดีเปรสชั่น ฉบับที่ 2 (188/2566)มีผลกระทบ
ตั้งแต่วันที่ 16-20 กรกฎาคม 2566 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน
มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 18.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 118.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนทางเหนือ ด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีแนวโน้มทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน
คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำและขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 18-19 ก.ค. 66
ในช่วงวันที่
16-20
ก.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน
ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้
และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก
และภาคใต้
ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม
รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น