วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ทำบุญตักบาตร พร้อมเปิดป้ายอาคารเรียนประวติศาสตร์ 95 ปี ร.ร.ชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา อ.เมือง จ.ลำปาง



วันที่ 13 ก.ค.66  ที่โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา ม.2 ต.ชุมพู อ.เมือง จ.ลำปาง ได้จัดพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง  และเปิดอาคารเรียนประวัติศาสตร์ 95 ปี (อาคาร 1 จามจุรี) โดยได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 9 รูป ประกอบพิธีทางศาสนาและทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง และทำการเปิดป้ายอาคารเรียนอยางเป็นทางการ สำหรับอาคารแห่งนี้ ก่อนหน้านี้ ทาง โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา ได้จัดพิธีกรรมเข้ารุกขมูล ระหว่างวันที่ 1-30 ธ.ค.65 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหางบประมาณปรับปรุงซ่อมแซม อาคารเรียนประวัติศาสตร์ 95 ปี (อาคาร 1 จามจุรี) และการปรับปรุงซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อย ในวันนี้จึงได้จัดพิธีทำบุญฉลองอาคารเรียน เพื่อความเป็นสิริมงคล ท่ามกลางแขกผู้มีเกีรยติ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน คณะครู อาจารย์ และประชาชน ชาวบ้านในพื้นที่เข้าร่วมงาน





ปัจจุบัน โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา เปิดสอนตั้งแต่ระดับ อนุบาล ถึงมัธยมตอนต้น มีนักเรียนทั้งหมด 562 คน บุคลากรของโรงเรียน 38 ท่าน ถือว่าเป็นโรงเรียนเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในพื้นที่แห่งนี้ โดยก่อตั้ง โรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2471  มีอายุ 95 ปี

           โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่  1  มีนาคม  พ.ศ.2471 โดย ร.ต.อ.หลวงพิชิตชนบท  นายอำเภอเมืองลำปางก่อตั้ง  โดยใช้ชื่อว่า  โรงเรียนประชาบาล1 (บ้านฟ่อน)ใช้ศาลาวัดบ้านฟ่อนเป็นสถานที่เรียน  เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4   มีนักเรียนชาย  70 คน นักเรียนหญิง  72 คน  รวมทั้งสิ้น 142  คน  มีครู  2 คน  ครูใหญ่คนแรกชื่อ  นายโล๊ะ  จารุวิจิตร

  




        ต่อมาในปี  พ.ศ.2473  ชาวบ้านได้อุทิศที่ดินให้เป็นสมบัติของโรงเรียนมีเนื้อที่  2  ไร่ 1 งาน  69  ตารางวา  โรงเรียนจึงได้ย้ายออกจากศาลาวัดมาอยู่ ณ ที่แห่งใหม่  โดยได้รับงบประมาณจากทางราชการสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1   ขนาด 2 x 24  เมตร  จำนวน 1 หลัง  อาจารย์เต้า    ฉกรรจ์แดง  ชาวบ้านฟ่อน ได้เล่าว่า  ในช่วงระยะที่กำลังก่อสร้างอาคารเรียนนี้  จำเป็นต้องใช้ศาลาวัดเป็นสถานที่เก็บอุปกรณ์ก่อสร้างทุกอย่าง  ทำให้เกะกะกีดขวางไม่สะดวกในการเรียนการสอน  จึงย้ายสถานที่เรียนชั่วคราวไปเรียนที่วัดชมพูหลวง   เมื่อสร้างอาคารเรียนเสร็จแล้วจึงย้ายกับมาเรียนที่เดิมคือ  บริเวณโรงเรียนในปัจจุบันนี้” (นายเต้า    ฉกรรจ์แดง, 2543 : สัมภาษณ์) ต่อมาโรงเรียนได้ขยายบริเวณและสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมอีกหลายหลังมาจนถึงทุกวันนี้






 

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์