วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566

“เอสบี’23 กรุงเทพฯ-จันทบุรี” หวังฟื้นสมดุลคนและธรรมชาติอย่างยั่งยืน

 


เมื่อโลกกำลังหมุนเปลี่ยนไปในทุกทิศทาง จนสร้างผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง ให้กับทุกชีวิตและธรรมชาติอย่างทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การตั้งคำถามกับการดำรงอยู่ของทุกชีวิตบนโลก ไม่ใช่เฉพาะมนุษย์ จึงกลายเป็นความท้าทายใหม่ ที่เราทุกคนต้องช่วยกันหาคำตอบว่าเราจะไปต่อกันอย่างไร และด้วยเหตุนี้ Sustainable Brand (SB) Global จึงเกิดขึ้น เพื่อเป็นชุมชนของนักคิด นักสร้างสรรค์ที่ ตั้งใจสร้างโลกของธุรกิจ ที่สร้างความยั่งยืนสำหรับอนาคตที่เป็นไปได้จริงๆ โดยให้บริการความรู้ การสนทนา การประชุม การจัดการแบรนด์ ผ่านกิจกรรมหลากหลาย ในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับโลก 

 


สำหรับประเทศไทย Sustainable Brand (SB) THAILAND ก่อตั้งขึ้นมาเป็นระยะเวลากว่า 8 ปี ทำงาน สร้างแรงบันดาลใจ สร้างการมีส่วนร่วม และทำงานร่วมกับภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและภาคธุรกิจ ของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถจัดการการทำงานให้เติบโตและยั่งยืนได้ ทั้งในระยะยาว และระยะสั้น และในปี พ..2566 นี้ Sustainable Brand THAILAND มองเห็นถึงวิวัฒนาการที่จําเป็น ของแบรนด์โดยเฉพาะการสร้างความความต่อเนื่องของสถานะที่เป็นอยู่และความสามารถของการไปต่อ ในอนาคตกับมุมมองของ Regenerative Brands แนวคิดที่พยายามจะฟื้นคืน และสร้างมูลค่าให้กับทุกสิ่ง ที่เกิดขึ้น เพื่อส่งมอบคุณค่าที่มากขึ้น ให้แบรนด์เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ท้าทาย สามารถต้านทานและพลิกฟื้น สภาพที่เป็นอยู่ของโลก สังคม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างดีขึ้น ที่สำคัญต้องการให้แบรนด์มองหาการปรับปรุง ระบบวิถีการขับเคลื่อนในแนวทาง regenerative มากขึ้น เพื่อฟื้นคืนสมดุลโลกสร้างอนาคตที่ทุกชีวิต ทั้งคนและธรรมชาติมีความยั่งยืน ร่วมกันได้อย่างแท้จริง


        สำหรับแนวคิดของงานในปีนี้ “Regenerative Food, Regenerative Future” SB ประเทศไทย ครั้งนี้  ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการ SB ประเทศไทย นำแนวคิด Regenerative เข้าไปสู่ชุมชนและปรับให้เข้ากับสังคม ของประเทศไทย โดยเลือกความสำคัญของธุรกิจอาหารซึ่งเป็นหัวใจหลัก  เพราะมั่นใจว่าถ้าระบบอาหาร มีการเปลี่ยนแปลงและแข็งแรงแล้ว เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตได้อย่างเกื้อกูลไปด้วยกันอย่างยั่งยืนได้ ดังนั้น จึงเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไปได้ไกลกว่าเดิม หลังจากที่ Regenerative ได้รับการพูดถึง จากคอนเซ็ปต์ มาสู่การขับเคลื่อนแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมนานกว่า 2 ปี

 

ล่าสุด ในปี 2023 นี้ SB ประเทศไทย จึงเลือกแนวคิดใหม่ Regenerative มานำเสนอกันอย่างจริงจังใน งานประชุมเชิงปฏิบัติการ SB’23 BANGKOK CHANTHABURI: Regenerative Food, Regenerative Future ภายใต้ความร่วมมือกันของSB ประเทศไทย และ SB ประเทศสเปน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เป็น ความร่วมมือระหว่าง SB ทั้ง 2 ประเทศ โดยในงานประชุมจะเต็มไปด้วยกิจกรรมที่จะทำให้ทุกคนรู้จักกับแนวคิด Regenerative ผ่านหัวข้อใหญ่ 2 เรื่องที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาธุรกิจและศักยภาพของประเทศ นั่นคือเรื่อง Food System และ Placemaking โดยจะจัดการเรียนรู้ที่กรุงเทพฯ และลงมือทำการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ (workshop) จริงที่จังหวัดจันทบุรี  นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่เจาะประเด็นทั้ง 2 เรื่องอย่างลงลึก และจะนำ กรณีศึกษาต่างๆ ระดับนานาชาติมาร่วมส่งต่อให้กับคนสร้างแบรนด์ นักธุรกิจ นักคิดและคนทั่วไป ที่มีความใส่ใจให้ชวนกันลุกขึ้นมาเปลี่ยนสังคมด้วยการใช้วิธีการต่างๆ และการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้เกิด regenerative future ได้เป็นจริงในประเทศไทยในอนาคตข้างหน้า

 


ดร. ศิริกุล เลากัยกุล กล่าวถึงรายละเอียดว่า งานประชุม SB’23 BANGKOK CHANTHABURI จะนำ เสนองานประชุมที่ผสานการเรียนรู้ และการปฏิบัติจริงบนพื้นที่จริง ที่จังหวัดจันทบุรี โดยกิจกรรมในงานประชุม จะช่วยนำพาให้ทุกคนรู้จักกับแนวคิด Regenerative ผ่านระบบการเกษตร ระบบอาหาร (food system) และการฟื้นฟูและสร้างพื้นที่สร้างสถานที่ให้กลับมาสมบูรณ์ (placemaking) เพื่อให้เป็นระบบเชื่อมต่อ ที่จะผสานการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา (resilience) นำสิ่งที่หายไป กลับมา (restore) และสร้างอนาคต ที่ทุกชีวิตทั้งคนและธรรมชาติ มีความยั่งยืนร่วมกันได้อย่างจริงแท้ (regenerate) ทั้งในประเทศไทย และในโลกใบนี้และเพราะประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นครัวและคลังอาหารของโลก และ จันทบุรีก็เป็นจังหวัด ที่มีความอุดมสมบูรณ์ หลากหลายทั้งในเรื่อง อาหาร วัตถุดิบการเกษตร และ สถานที่อันอุดมสมบูรณ์ด้วย ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ยังคงสืบทอดกันอยู่ เราจึงเลือกจัดงานครั้งนี้ ที่ทั้งกรุงเทพฯ และจันทบุรี และขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พูดคุยถึงความเป็นไปได้ และสิ่งที่ควรจะทำให้เกิดขึ้น ภายใต้วิถีแนวทางของ Regenerative ผ่านกิจกรรมที่คัดสรร โดยมีนักคิดระดับโลก 2 ท่าน คือ Marc Buckley และ Jenny Andersson มาร่วมแบ่งปันความรู้ พร้อมนำการทำเวิร์คช็อปด้วยตนเอง ในช่วงระหว่างวันที่ 3-5 พฤศจิกายน 2566

            กิจกรรมทั้งหมดนี้เพื่อให้การค้นหาวิธีการดำเนินการสร้าง Regenerative เกิดขึ้นเป็นจริงได้ ในการสร้างแบรนด์ สร้างธุรกิจ และ ดำเนินชีวิตควบคู่ โอบอุ้มไปด้วยกันได้อย่างเป็นจริง ยิ่งไปกว่านั้น อยากจะชักชวนผู้เข้าร่วมงานมาสนุกสนานกับการเห็นจากของจริง และจับจ่ายอย่างยั่งยืน กับตลาด Sustainable Market, พอแล้วดี Market รวมถึงการออกร้านจากแบรนด์ทรงคุณค่าของประเทศไทย และสเปน ที่จะมานำเสนอ Regenerative Products ให้ได้สนุกสนาน และมองเห็นว่าแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่ใกล้แบบทำได้จริง จนเราทุกคนสามารถเรียนรู้และสามารถปรับใช้กับตัวเอง ครอบครัว ชุมชน องค์กร หรือประเทศชาติได้จริงอย่างไม่ยากเกินไป เพียงแค่คิดที่จะเริ่มทำก็มีแนวทางให้ทำทันที

 


มาร์ค บัคลีย์ (Marc Buckley) นักคิดและนักปฏิบัติการด้านอาหารและตัวแทนความยั่งยืนจาก UN SDG กล่าวเสริมว่า หากเราไม่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับอนาคตของเรา เราจะไม่สามารถย้ายข้ามผ่าน วิกฤตต่างๆไปได้ เพราะมนุษย์เราได้เดินทางผ่านไปหลายยุคของอารยธรรมแล้ว บางสิ่งบางอย่าง ก็สูญพันธ์ไปตามกาลเวลา และกาลเวลาก็คือหนึ่งในเหตุผลหลักที่นำไปสู่ความล่มสลาย ของอีกหลาย อารยธรรมด้วย และเมื่อการปฏิวัติทางดิจิทัลเข้ามาเปลี่ยนแปลงมนุษย์และโลก มันทำให้เกิด เปลี่ยนแปลงเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปด้วย ย้อนกลับไป 7 ปีที่แล้ว มนุษย์ได้ทำการวิจัย เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนายั่งยืน และเราพบว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง ต่อชีววิทยามากเกินกว่าที่เราจะคิดออก คิดได้ ดังนั้นเมื่อเราประสานการใช้เทคโนโลยีกับระบบชีวิต และธรรมชาติอย่างเคารพในวิถีของทุกสิ่งภายใต้แนวคิด regenerative ผลลัพธ์ที่เราได้รับจะเป็นผลลัพธ์ ที่เป็นคำตอบที่สุดยอด (super exponential)

 

สำหรับผู้สนใจสามารถซื้อบัตรเข้าร่วมงานได้ที่ www.sbthailand.com หรือติดต่อคุณดรุณี โทร. 081-817-0453 เวลา 09.00-18.00 . ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ตุลาคม 2566

กอบแก้ว แผนสท้าน..เรื่อง

 

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์