วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2566

สสจ.เผยสถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดลำปาง ปีนี้พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า


              สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ประเทศไทย วันที่ 1 มกราคม – 28 สิงหาคม 2566 พบผู้ป่วย โรคไข้เลือดออก จำนวน 79,475 ราย อัตราป่วย 120.10 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 73 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.11 จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูง 5 อันดับแรก ได้แก่ ตราด น่าน จันทบุรี เชียงราย และระยอง

 


              สถานการณ์จังหวัดลำปาง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 4 กันยายน 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 1,168 ราย อัตราป่วย เท่ากับ 163.51 ต่อแสนประชากร อำเภอที่พบอัตราป่วยสูงที่สุด คือ อำเภองาว 269 ราย (516.94 ต่อแสนประชากร) รองลงมา อำเภอวังเหนือ 136 ราย (317.81 ต่อแสนประชากร) และอำเภอสบปราบ  66 ราย (251.74 ต่อแสนประชากร) กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงที่สุด คือ กลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมา คือ กลุ่มอายุ    5 - 9 ปี และกลุ่มอายุ 15 – 24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น จำนวนผู้ป่วย ปี 2566    พบสูงกว่าปีที่ผ่านมา 3.47 เท่า เมื่อเทียบกับ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนพบว่า ลำปางอยู่ลำดับที่ 7 รองจากจังหวัดน่าน เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ พะเยา และแพร่ เมื่อเทียบกับประเทศ ลำปางอยู่ลำดับที่ 27 ของประเทศ

 

จากการประเมินสถานการณ์ พบพื้นที่ที่พบผู้ป่วยต่อเนื่องและไม่สามารถควบคุมโรคให้สงบได้ภายใน 28 วัน จำนวน 5 อำเภอ 22 ตำบล 26 หมู่บ้าน ดังนี้

 


อำเภอเมืองลำปาง จำนวน 9 หมู่บ้าน/ชุมชน ได้แก่

เขตเทศบาลนครลำปาง (ต.เวียงเหนือ, ต.หัวเวียง, ต.สวนดอก ต.สบตุ๋ย, ต.พระบาท, ต.บ่อแฮ้ว)

ม.7 ต.พิชัย, ม.5 ต.บ่อแฮ้ว , ม.3 ต.ต้นธงชัย

อำเภอเกาะคา จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่

ม.2 ต.วังพร้าว, ม.1 และ ม.4 ต.นาแก้ว, ม.7 ต.ท่าผา

อำเภองาว จำนวน 8 หมู่บ้าน ได้แก่

ม.3 และ ม.4 ต.หลวงเหนือ, ม.3 และ ม.4  ต.หลวงใต้, ม.2 ต.บ้านโป่ง, ม.5 ต.บ้านร้อง, ม.4  ต.บ้านแหง, ม.1 ต.แม่ตีบ

อำเภอห้างฉัตร จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ ม.6 ต.เมืองยาว, ม.13 ต.ปงยางคก, ม.4 ต.เวียงตาล, ม.6 ต.วอแก้ว

อำเภอแม่เมาะ จำนวน 1 หมู่บ้าน ได้แก่ ม.3 ต.บ้านดง

  


มาตรการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ

มาตรการในโรงเรียน

              1. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและรอบรั้วโรงเรียน และกำจัดขยะอย่างน้อยทุกสัปดาห์ จนถึงเดือนกันยายน 2566

              2. หลังเลิกเรียน ใช้สเปรย์ฉีดกำจัดยุงตัวแก่ในห้องเรียนทุกห้อง โดยเฉพาะห้องเรียนที่มีนักเรียนป่วย

              3. กำจัดแหล่งเกาะพักของยุงตัวแก่ เช่น ผ้าหรือสิ่งของที่แขวนในจุดอับมืด ถังขยะเปลี่ยนมาใช้ถุงที่มีความสว่างแทนถุงดำ

              4.แนะนำนักเรียน หรือผู้ปกครอง จัดหายาทากันยุง ทาเพื่อป้องกันยุงกัด

 

มาตรการในชุมชน/หน่วยงาน

1.รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พัฒนาสิ่งแวดล้อมและกำจัดขยะ ทุกสัปดาห์ในวันศุกร์ ต่อเนื่อง ถึงเดือนกันยายน 2566

2.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน และป้องกันตนเองจากยุงกัด โดยการใช้ยาทากันยุง สเปรย์กำจัดตัวแก่ นอนในมุ้ง ถึงเดือนกันยายน 2566

3 เมื่อมีอาการไข้ สงสัยป่วยเป็นไข้เลือดออก ควรพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ไม่ควรซื้อยากินเอง โดยเฉพาะยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs

              4.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เตรียมอุปกรณ์การควบคุมโรคให้เพียงพอและพร้อมใช้ ทั้งในวันทำงานและวันหยุด อาทิ พนักงานพ่น เครื่องพ่น น้ำยา น้ำมันเชื้อเพลิง ยาทากันยุง สเปรย์  

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์