ชาวไทยลื้อสิบสองปันนาใน
ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลําปาง นักบุญกว่า 1,000
คน แห่ร่วมงานแน่นลานวัด นับเป็นการจัดอย่างยิ่งใหญ่ในรอบ 10 ปี แม้ฤดูกาลปีนี้ฟ้าฝนจะแล้งหนักแต่ชาวบ้านไม่หวั่น
เน้นเป็นประเพณีหลักหมู่บ้านวัฒนธรรมไทยลื้อ ตําบลกล้วยแพะ เป็นหนึ่งเดียวของ
จ.ลําปาง ที่มีชาวไทยลื้อเชื้อสายสิบสองปันนา อาศัยอยู่ 5 หมู่บ้านคือ
บ้านกล้วยหัวฝาย บ้านกล้วยแพะ บ้านกล้วยหลวง บ้านกล้วยม่วง และบ้านกล้วยกลาง
เมื่อวันที่
7 ต.ค.2566 ที่ผ่านชาว บ้านห้วฝาย ซึ่งเป็นชุมชนชาวไทยลื้อขนาดใหญ่มีจํานวนกว่า 500
หลังคาเรือน ได้จ้ดงานสลากภัตประจําปี 2566 ซึ่งได้ว่างเว้นจัดงานสลากมาร่วม 7 ปีแล้ว
โดยมีศรัทธาหัววัดจาก อ.แม่ทะ อ.เกาะคา อ.เมืองลำปาง มาร่วมงาน มีพระและเณรมาร่วมพิธีนี้จํานวน
149 รูป
ประเพณีสลากภัตเป็นประเพณีที่ถือว่าสนุกสนาน ทั้งพระสงฆ์ สามเณร และชาวบ้านทั่วไปมีส่วนอ่านเส้นเอาทั้งเงินและสิ่งของได้ เพราะเส้นสลากภัตพระสงฆ์ได้อุปโลกน์ คืออนุญาตให้ชาวบ้านเอาปัจจัยได้โดยไม่เป็นบาปนั่นเอง สําหรับเส้นสลากของวัดบัานห้วฝายในครั้งนี้ ผู้ใจบุญได้นําเส้นมาถวายทั้งหมดจํานวน 2,168 เส้น เฉลี่ยแล้วพระและเณรจะได้รูปละ ประมาณ 12 เส้น
นอกนั้นอาจเป็นเส้นเข้าวัด ในจํานวนมีทั้งเส้นยัดหรือเส้นจองให้พระรูปใดรูปหนึ่งด้วย
คือครอบครัวหลังนั้นต้องการถวายเส้นให้พระที่ตนนับถือ เป็นการส่วนตัวได้โดยไม่ผิด คือการเอาเส้นไปถวายกันเอง
พระบางรูปพอมาถึงงานเห็นเส้นหงส์ห้อยบินว่อนเต็มลานวัด แต่พอกรรมการแจกจ่ายเส้นปรากฏว่า
กรรมการวัดล็อกเส้นหงส์เอาเงินเข้าว้ดหมดอย่างนี้ก็มี พระเณรจึงได้แต่กะละมัง ถังเปล
กลับวัด
งานสลากภัตจึงถือเป็นงานบุญที่สนุกสนาน หลังงานเสร็จทั้งพระสงฆ์ ทั้งสามเณรจะโทรหากันว่าคนนั้นคนนี้ได้เท่าไหร่เป็นที่สนุกสนาน ซึ่งงานสลากภ้ตของชาวลื้อโด่งด้งในเรื่องจัดหนักเรื่องปัจจัย ทั้งพระทั้งเณรจึงใฝ่ฝันกัน อยากมาร่วมงานที่แห่งนี้ด้วยเหตุผลนี้
โดยเฉพาะเส้นสลากหากมีขึ้นต้นด้วยภาษาบาลีว่า
สุตินัง หมายถึงเส้นใหญ่คือเส้นหงษ์ที่ลูกหลานอุทิศส่วนบุญไปหาบุพการีที่ล่วงล้บไปแล้ว
เมื่อพระสงฆ์มารับต้องมีการหยาดน้ำอธิษฐานไปให้ลูกหลานก็มั่นใจว่าส่วนบุญทั้งหมดผู้ล่วงลับได้ร้บแล้ว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น