วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566

จ.ลำปาง ปฏิบัติการบินสำรวจติดตามสถานการณ์น้ำท่วม บริเวณลุ่มน้ำปิงและลุ่มน้ำวัง เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลำน้ำลำห้วยสาขาแม่น้ำวัง หาทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมช่วงฤดูน้ำหลาก



วันที่ 16 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 น. ที่ท่าอากาศยานลำปาง สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลและอากาศยาน สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 2 สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 1 ได้สำรวจวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ และกำหนดให้มีการปฏิบัติการบินสำรวจติดตามสถานการณ์น้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำปิงและลุ่มน้ำวัง เฝ้าระวังและแจ้งเตือนประชาชน






ซึ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำวัง นำโดยนายสุรชัย แสงสิริ ผอ.สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ลำปาง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จาก สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 2 ลำปาง เจ้าหน้าที่สำนักทรัพยากรน้ำที่ 1 พร้อมกับนักบินและช่างเครื่องประจำ อากาศยานปีกตรึงหมายเลขทรัพยากร 3116 เข้ามาประชุมวางแผนระบุเส้นทางการบินสำรวจ ที่ห้องประชุมรับรอง ท่าอากาศยานลำปาง โดยจุดเริ่มต้นจะเริ่มที่เขื่อนกิ่วลม อำเภอเมืองลำปาง ไปสิ้นสุด ที่แม่น้ำวังไหลบรรจบกับแม่น้ำปิง พื้นที่ อ.บ้านตาก จ.ตาก เพื่อสำรวจเส้นทางน้ำที่ไหลผ่านรวมไปถึงลำน้ำสาข่างต่างของแม่น้ำวังและแม่น้ำปิง  รวบรวมข้อมูลต่างมาวิเคราะห์วางป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


สะพานพัฒนาภาคเหนือ อ.เมืองลำปาง

สะพานดำ ต.สบตุ๋ย อ.เมืองลำปาง 


จากการบินสำรวจ พบร่องรอยน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ต่างๆของสองฝั่งแม่น้ำวัง รวมไปถึงพบจุดที่มีน้ำเอ่อท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะในพื้นที่บรรจบกันของแม่น้ำทั้ง 2 สาย แม่น้ำปิง และแม่น้ำวัง ที่ อ.บ้านตาก จ.ตาก ซึ่งจะต้องหาทางร่วมมือร่วมใจกันบริหารจัดการน้ำให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุดต่อไป

เขื่อนกิ่วลม 

อ่างเก็บน้ำกิ่วลม



          สำหรับการสำรวจครั้งนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) และปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายจตุพร บุรุษพัฒน์) มีความห่วงใยและสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงบูรณาการให้ความช่วยเหลือประชาชนและผู้ประสบภัย และเตรียมการรับมือพร้อมเฝ้าระวังผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากเหตุอุทกภัย โดยเฉพาะน้ำเน่าเสียจากบ่อขยะ รวมทั้งเร่งสำรวจพื้นที่เสี่ยงธรณีพิบัติภัยดินโคลนถล่ม และน้ำป่าไหลหลาก เพื่อเฝ้าระวังและแจ้งเตือนประชาชน



เขต อ.เกาะคา 


Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์