วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

กฟผ.แม่เมาะ ร่วมกับมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติและโยธาธิการและผังเมือง จ.ลำปาง ดันโครงการรวมพลังขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา มุ่งสร้างความอุดมสมบูรณ์ที่ทำกินในพื้นที่อพยพ ต.บ้านดง

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 นายนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน                     นางเกษศิรินทร์ แปงเสน หัวหน้าโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  แม่เมาะ ให้การต้อนรับ ดร.วิวัฒน์  ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และ นางสุภาวรัตน์ ฟูฟุ้ง นักวิเคราะห์ผังเมืองชำนาญการพิเศษ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดลำปาง พร้อมบุคลากรในสังกัดในโอกาสลงพื้นที่ร่วมขับเคลื่อน โครงการรวมพลังขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา สืบสานงานของพ่อ



           การขับเคลื่อนสังคมด้วยศาสตร์พระราชา : Social Movement โครงการ“ดินดี คือแหล่งกำเนิดก่อเกิดอาหาร” พื้นที่อพยพบ้านดง โดยได้เข้ารับฟังข้อมูลด้านภูมิศาสตร์พื้นที่ชุมชนอพยพตำบลบ้านดง ณ อาคารประชาสัมพันธ์แม่เมาะ กฟผ.แม่เมาะ และเดินทางไปพื้นที่อพยพฯเพื่อพบปะชุมชนพร้อม ปาฐกถา ดินดีคือแหล่งกำเนิด ก่อเกิดอาหาร หยุดการชะล้างพังทลายของดินด้วยศาสตร์พระราชา โดยมี นายธีรพล บุญตัน ปลัดอาวุโสอำเภอแม่เมาะ ว่าที่ร้อยตรี ธนพงษ์พันธ์ เกี๋ยงแก้ว กำนันตำบลบ้านดง ส่วนราชการท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ให้การต้อนรับและรับฟังการปาฐกถาฯ  

จากนั้น วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 คณะฯได้สำรวจพื้นที่แปลงรวมชุมชนอพยพฯ ตำบลบ้านดง จำนวน 20 ไร่ เพื่อออกแบบสร้างแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้ชุมชนมีแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในชุมชนได้อย่างยั่งยืน พร้อมเยี่ยมชมแปลงตัวอย่างการขับเคลื่อนสังคม ณ ชุมชนอพยพบ้านหัวฝายหล่ายทุ่ง ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง



สำหรับโครงการ“ดินดี คือแหล่งกำเนิดก่อเกิดอาหาร” เป็นโครงการนำร่องที่ กฟผ.แม่เมาะ ร่วมกับมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ, สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดลำปาง, ทีมงานพัฒนาธุรกิจลีโอนาไดต์ เหมืองแม่เมาะ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดลำปาง  และชุมชนพื้นที่อพยพ ต.บ้านดง ในการปรับปรุงพื้นที่อพยพให้มีความอุดมสมบูรณ์และสร้างปัจจัยให้พื้นที่เป็นแหล่งผลิตอาหารหล่อเลี้ยงชุมชนได้ ซึ่งปัจจุบันสภาพดินในพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหินกรวดที่มีความเป็นกรดสูง และขาดธาตุอาหาร หลักในการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ยังขาดแหล่งน้ำสำหรับการทำเกษตรกรรม จึงเกิดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนให้เข้ามาเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกัน โดยใช้หลักกสิกรรมธรรมชาติมาต่อยอด ในการสร้างแหล่งน้ำและเพิ่มธาตุอาหารในดิน โดยได้เริ่มดำเนินการที่แปลงต้นแบบพื้นที่อพยพฯ ของนางพิกุล ศรีสงัด ราษฎรชุมชนอพยพบ้านหัวฝายหล่ายทุ่ง ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรโคก หนอง นา โมเดล วิถีใหม่ รุ่นที่ 2 โดยมีเป้าหมายขยายผลไปยังครัวเรือนอื่นๆในพื้นที่อพยพฯให้พร้อมต่อการขับเคลื่อนสร้างชุมชนให้มีความความอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งอาหารหล่อเลี้ยงชุมชนได้ในอนาคต




Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์