หลังจากที่ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ได้เดินทางจากประเทศศรีลังกา
มาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2566 และต้องเข้ากักตัวที่ศูนย์วิจัยและควบคุมเฝ้าระวังโรคสถาบันคชบาลแห่งชาติ
ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดลำปาง (ส.คช.) และครบกำหนดกักตัว
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566
และย้ายเข้ามาตรวจรักษาอาการป่วย บาดเจ็บ ที่โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย
สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดลำปาง
สุขภาพในช่วงแรกพบว่า
ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ มีอาการเจ็บป่วยจากภายนอกและภายในร่างกาย ได้แก่
ตาด้านขวามีอาการคล้ายต้อกระจก ขาหน้าด้านซ้ายมีอาการเหยียดตึงและผิดรูป
และมีการทำงานของไตบกพร่อง โดยที่ผ่านมามีการรักษาทั้งฉายรังสีเอ๊กซเรย์
การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง อัลตร้าซาวด์ การตรวจวัดการเดิน
ทั้งใช้เครื่องมือและดูด้วยตาเปล่า เพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิผลของการรักษามาอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกับให้ช้างออกกำลังกายเบาด้วยการเดินทางตรง การว่ายน้ำ
และการประคบร้อนด้วยลูกประคบหรือการใช้เครื่องมือ เช่น
เครื่องนวดด้วยคลื่นความถี่สูง, เลเซอร์ (Laser
therapy) และ Magnetic shock wave
โดยทีม สัตวแพทย์จากสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นผู้แทนคณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผู้แทนคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผู้แทนคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ผู้แทนคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ผู้แทนคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้แทนกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และผู้แทนจากองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย
ปัจจุบันครบรอบ
1 ปีแล้ว
พบว่าการรักษาต่างๆนั้นเป็นที่น่าพอใจและช้างสามารถปรับตัวและรับฟังคำสั่งจากควาญช้างเป็นภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
อาการป่วยของช้างยังมีอาการขาหน้าด้านซ้าย
ที่เหยียดตึงและผิดรูป เนื่องจากขาดังกล่าวมีความผิดปกติเรื้อรังมานาน และยังไม่ทราบว่าเกิดความผิดปกติที่ส่วนใด
ซึ่งจะได้หาทางเยียวยารักษากันอย่างต่อเนื่อง
สพ.ญ.วรางคณา
ลังการ์พินธุ์ หัวหน้างานโรงพยาบาลช้างลำปางฯ เปิดเผยว่าหลังจากรับตัวพลายศักดิ์สุรินทร์เข้ามาดูแล
ได้ให้ช้างได้ปรับตัวจนกระทั่งเข้ากับควาญและสัตว์แพทย์ได้ จึงเริ่มทำการรักษาได้จริงจัง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม
66
อย่างต่อเนื่องจนสุขภาพพลายศักดิ์สุรินทร์ดีขึ้นตามลำดับ
จะมีเพียงขาหน้าที่ยังงอไม่ได้ แต่หลังจากได้ทำกายภาพบำบัดอาการก็ดีขึ้นมาก
จากนั้นช้างเข้าหลักตกมันอยู่ประมาณ 6 เดือน เพิ่งออกมาเมื่อเดือนมิถุนายน
67 ที่ผ่านมา ช้างก็เริ่มไม่ค่อยงอขา
เพราะไม่ได้ทำกายภาพมานาน ต้องได้มาเริ่มทำกายภาพใหม่อาการก็ดีขึ้นเรื่อยๆ
แต่ยังไม่ดีเท่าช่วงก่อนเข้าหลักตกมัน
สำหรับการดูแล
ช่วงเช้าจะเข้าไปอาบน้ำให้ และพาเดินออกมากายภาพบำบัด การเดินข้ามสิ่งกีดขวาง และใช้เครื่องนวดกระตุ้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนช่วงบ่ายจะนำไปที่จุดโชว์ตัว ตั้งแต่ 14.00-16.00 น. และนำขึ้นไปพักที่หลักด้านบนโรงเรือน
พลายศักดิ์สุรินทร์สามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดี
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น