วันที่ 25 กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. ดร.ปิยนุช วุฒิสอน ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นประธานเปิดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้การขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลในระดับจังหวัดและอำเภอ ภายใต้หัวข้อ A Good Digital Citizen “ก้าวไปสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพไปด้วยกัน” ครั้งที่ 4 โดยมีนางสาวนิติยา พงษ์พาณิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวต้อนรับ และ นายจำลอง เก่งตรง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมฯ พร้อมกันนี้ยังมี หัวหน้าส่วนราชการ เครือข่ายหน่วยงานภาคีในระดับจังหวัด ประชาชนทั่วไป สื่อมวลชน เข้าร่วมกิจกรรมฯ ที่ลานลำปางหนาชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลลำปาง
ดร.ปิยนุช วุฒิสอน ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยว่า คุณสมบัติของการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพต้องใช้เทคโนโลยีในเชิงสร้างสรรค์
มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองในโลกออนไลน์
ปฏิบัติต่อผู้อื่นในโลกออนไลน์ด้วยความเคารพ ปกป้องข้อส่วนบุคคลของตนเองและ เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น
มีจริยธรรม ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์นำผลงานของคนอื่นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต และต้องรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล
ผลของการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพจะสามารถทำให้มีแหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ที่จะช่วยให้เราเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
และพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ช่วยให้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ
เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน
แต่หากเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ไม่มีคุณภาพ อาจเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคามทางไซเบอร์และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
เนื่องจากเกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี
ดร.ปิยนุช วุฒิสอน
กล่าวเพิ่มเติมว่า เหตุที่เลือกจัดจังหวัดลำปาง
เพราะมีความโดดเด่นเฉพาะตัวในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตเซรามิกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและมีคุณภาพสูงรวมถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรม
วิถีชีวิตที่ยังคงความเป็นชุมชนพร้อมทั้งสนับสนุนสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการดิจิทัลรุ่นใหม่ในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนานวัตกรรมและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่
ๆ ในด้านการเกษตร การท่องเที่ยว
และอุตสาหกรรมท้องถิ่นจังหวัดลำปางเป็นจังหวัดสุดท้ายในกิจกรรมสัญจรระดับภูมิภาคของ
ปีนี้ซึ่งเราได้ลงพื้นที่ครบทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านดิจิทัลให้กับประชาชน
อย่างไรก็ตามกิจกรรมดี ๆ แบบนี้จะไม่ได้หยุดเพียงแค่นี้
เรามีแผนที่จะขยายการจัดกิจกรรมไปยังจังหวัดอื่นๆ
ทั้งนี้เรายังเตรียมแผนพัฒนาเนื้อหาการอบรมให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี และภัยไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้จะมีการร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน
เพื่อให้กิจกรรมตอบโจทย์ความต้องการและเข้าถึงประชาชนในแต่ละพื้นที่มากยิ่งขึ้น
ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน
ภัยทางเทคโนโลยีที่น่ากังวลและต้องเร่งแก้ไขมากที่สุดคือภัยจากการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล
และการหลอกลวงทางออนไลน์ซึ่งเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปัจจุบันประชาชนจำนวนมากยังขาดความรู้ในการป้องกันตัวจากการโจมตีประเภทนี้จึงกลายเป็นเป้าหมายของกลุ่มมิจฉาชีพได้ง่ายเราจำเป็นต้องเสริมสร้างความตระหนักรู้และทักษะทางดิจิทัลให้กับประชาชนโดยเฉพาะเรื่องการระมัดระวังการแชร์ข้อมูลส่วนตัวการรู้จักสังเกตสัญญาณของการหลอกลวงทางออนไลน์
และการใช้เครื่องมือดิจิทัลอย่างปลอดภัยการอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันภัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่เร่งด่วนที่สุดในการปกป้องประชาชนจากการตกเป็นเหยื่อของภัยเทคโนโลยี
สุดท้ายนี้
ขอฝากถึงประชาชนทุกคนว่าในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันเราทุกคนควรให้ความสำคัญกับการป้องกันตัวเองจากภัยทางเทคโนโลยี
โดยเริ่มต้นจากการตระหนักรู้และระมัดระวัง
ในการใช้อินเทอร์เน็ตและแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น
รหัสผ่าน
หรือเลขบัตรประจำตัวประชาชนผ่านช่องทางที่ไม่น่าเชื่อถือควรตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลหรือการติดต่อที่ได้รับ
หากไม่แน่ใจให้หลีกเลี่ยงการตอบสนองทันที
นอกจากนี้
แนะนำใช้ซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันที่มีความปลอดภัย
และหมั่นอัพเดตระบบอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งสร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย
อย่าใช้รหัสผ่านที่ง่ายต่อการคาดเดาและอย่าคลิกหรือดาวน์โหลดไฟล์จากอีเมลหรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
การป้องกันตัวจากภัยทางเทคโนโลยีเริ่มจากการใส่ใจและเรียนรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงต่าง
ๆ เพื่อปกป้องตัวเองและครอบครัวอย่าให้ตกเป็นเหยื่อของการล่อลวง
ขอให้ทุกคนมีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย เป้าหมายสุดท้ายเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีทักษะดิจิทัล
และเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีร่วมกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น