วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

กี่ปีก็สอบตก O-NETประเทศไทย

จำนวนผู้เข้าชม http://www.hitwebcounter.com/

อบได้เป็นเรื่องตลก สอบตกเป็นเรื่องธรรมชาติ  คำพูดติดตลกที่เราเคยคุยๆกันเมื่อ 20-30 ปีก่อน มาตอนนี้คง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งหลายคงขำไม่ออกเพราะคะแนนเฉลี่ยของแต่ละวิชาที่ออกมาฟ้องว่า“มาตรฐานการศึกษาสอบตก” ระบบที่เปลี่ยนแปลงกลายเป็นวิมานในอากาศที่วาดฝันว่าจะสร้างนักเรียนเยาวชนให้มีความเท่าเทียมและเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้ทั่วถึงกันเป็นแค่การขายฝัน เพราะคะแนนเฉลี่ยที่ฟ้องความล้มเหลวการศึกษาไทย

ย้อนรอยวิเคราะห์ผลสอบวิชาสามัญ 7 วิชา ย้อนหลังของนักเรียนชั้น ม. 6 ที่เดินหน้าสู่การเรียนในระดับอุดมศึกษา จัดการสอบโดย สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. โดยข้อมูลคะแนนสอบย้อนหลัง 5 ปี มีดังนั้น

ปี 2555 (ผลสอบปีการศึกษา 2554)  วิชาสามัญ 7 วิชา มีคะแนนเฉลี่ยดังนี้  สูงสุดคือ ภาษาไทย 54.61 คะแนน สังคม 32.97 คะแนน  ชีววิทยา 32.75  คะแนน  ภาษาอังกฤษ  28.43 คะแนน  เคมี 25.75 คะแนน  ฟิสิกส์ 23.54 คะแนน และต่ำสุดคือ วิชาคณิตศาสตร์ 19.92คะแนน 

ปี 2556 (ผลสอบปีการศึกษา 2555) คะแนนสอบ 7 วิชาสามัญเฉลี่ยใกล้เคียงกับปี2555 โดยวิชาภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ 50.43 คะแนน รองลงมาคือ ชีววิทยา 30.40 คะแนน ภาษาอังกฤษ  30.01 คะแนน  ฟิสิกส์ 29.84 คะแนน  สังคม 29.18 คะแนน  เคมี 25.38 คะแนน และต่ำสุดยังคงเป็นวิชาคณิตศาสตร์เช่นเคย 20.95 คะแนน

ปี 2557 (ผลสอบปีการศึกษา 2556) คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ภาษาไทย 54.35 คะแนน สังคม 39.42 คะแนน ภาษาอังกฤษ  31.05 คะแนน  ชีววิทยา 28.56 คะแนน  ฟิสิกส์ 25.29 คะแนน  เคมี  27.66 คะแนน ต่ำสุดก็ยังคงเป็นวิชาคณิตศาสตร์ 25.39 คะแนน

ปี 2558 (ผลสอบปีการศึกษา 2557)  สูงสุด ภาษาไทย 58.66 คะแนน  สังคมศึกษา 35.99  คะแนน  เคมี 31.16 คะแนน  ภาษาอังกฤษ 29.33 คะแนน  ชีววิทยา  29.05 คะแนน  ฟิสิกส์ 26.73 คะแนน  และต่ำสุดยังคงเป็นวิชาคณิตศาสตร์  20.35 คะแนน 

ปี 2559 (ผลสอบปีการศึกษา 2558) ภาษาไทย 56.65 คะแนน สังคมศึกษา 34.96 คะแนน ภาษาอังกฤษ 30.97 คะแนน คณิตศาสตร์ 28.70 คะแนน ฟิสิกส์ 22.90 เคมี 24.52 คะแนน ชีววิทยา 27.32 คะแนน และวิทยาศาสตร์ทั่วไป คะแนนเฉลี่ย 26.43คะแนน

และล่าสุด ที่นักเรียน ม.6 เพิ่งผ่านสมรภูมิสนามสอบเมื่อวันที่ 18-19 ก.พ. 2560 ซึ่งเป็นการสอบวัดผลประจำปีการศึกษา 2559 จากผู้เข้าสอบเกือบ 3แสน8หมื่นคน  พบว่า ภาษาไทย 52.29 คะแนน สังคมศึกษา 35.89 คะแนน  ภาษาอังกฤษ 27.76 คะแนน  24.88 คะแนน  วิทยาศาสตร์ 31.62 คะแนน

โดยภาพรวมแล้ว ผลการสอบโอเน็ต นักเรียน ม.6 ปีการศึกษา 2559 มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าผลสอบปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 วิชา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาที่เหลือมีคะแนนเฉลี่ยใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

แปลง่ายแบบชาวบ้านคุยกัน ก็ตีความได้ว่า นักเรียนไทย ว่าที่บัณฑิตที่เดินหน้าเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยนั้น สอบตกเกือบทุกวิชา ผ่านแบบปริ่มน้ำแค่วิชาภาษาไทย  และวิชาคณิตศาสตร์ก็ยังครองแชมป์ที่โหล่มาตลอด

ก็ไม่อยากจะคิดว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา การศึกษาไทยไม่ได้มีการพัฒนาเลยหรือ!!!

ผลการสอบที่มาจากคะแนนเฉลี่ยของเด็ก ม.6 หลักแสนคน ย่อมเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่า OUTPUT ของ ระบบการศึกษาไทยอยู่ในขั้นโคม่า เพราะผลการสอบ O-NET ทั้ง 6 รอบ สะท้อนให้เห็นชัดว่ามาตรฐานการศึกษาไทยไม่มีคุณภาพมากพอที่จะจัดให้ทุกโรงเรียนมีคุณภาพการสอนให้มีคุณภาพเท่าเทียมกันได้ทั้งที่เด็กนักเรียนเรียนกันจนหัวฟูตัวบาน แต่ผลสัมฤทธิ์กลับไม่ดี

ผลการสอบของนักเรียนชั้น ม.6 ตลอดครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา คงจะมากพอที่จะประจานความล้มเหลวของการศึกษาไทยที่มีแต่นโยบายสวยหรู แต่สุดท้ายนโยบายเหล่านั้นก็กลายเป็นแค่ วิมานในอากาศ ที่ละลายงบประมาณมหาศาล ผลพวงของการสอบของนักเรียน ม.6 อาจทำให้เราต้องย้อนกลับไปดูที่ต้นทางนั่นคือการสอนตั้งแต่ระดับประถมที่เป็นรากเหง้าของการศึกษา สอนการคิดเป็นระบบตั้งแต่เด็กหาใช่การติวเข้มเร่งสอนอัดเนื้อหากันแค่ตอนใกล้สอบ ผลก็จะออกมาเป็นเช่นนี้

และหากโรงเรียนยังมองนักเรียนเป็นลูกค้า เรียกรับเงินแป๊ะเจี๊ยะ ค่าคอมพิวเตอร์สารพัดเงินพิเศษ และหากครูผู้สอนไร้จรรยาบรรณสักแต่ว่าสอนไปวันๆใครอยากได้ความรู้แน่นๆก็ต้องไปเรียนพิเศษไม่เต็มที่กับการสอนในโรงเรียน และหากพ่อแม่ไม่มีเวลาใส่ใจการเรียนของลูกเพราะมัวแต่ตั้งหน้าตั้งตาหาเงินและหากเด็กไทยยังไม่ตื่นที่จะรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ในการเรียนให้ดี

สอบ O-NET อีกร้อยปี  เรา...ก็ไม่มีวันดีขึ้น และคงไม่ต้องคาดหวังอะไรอีก โดยเฉพาะครูยุคใหม่ ที่เห็นเงินตาโต ลูกศิษย์จะฉลาดหรือโง่ ก็เป็นเรื่องบุญเรื่องกรรมไป

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ 1124 วันที่ 7-20 เมษายน 2560)
Share:

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอขอบคุณผู้เขียนมาก เห็นด้วยกับข้อเขียน ข้อมูลของท่านครับ บทความแบบนี้ผู้ใหญ่ผู้โตไม่ชอบอ่านนะครับ จึงยังไม่มีใคร ผู้บริหารตั้งแต่ครูใหญ่(ในอดีต) จนถึง ผู้อำนวยการ รัฐมนตรีท่านใดจะสนใจจริงจัง เขาคงเห็นการศึกษาของชาติเป็นเรื่องเล่น ๆ ประเทศไทยจึงต้องเผชิญผลกรรมหนัก รับจ้างชาติอื่นผลิตสินค้าและเป็นลูกค้าชาติอื่นมาเป็นศตวรรษแล้ว และในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาคนไทยต้องขมขื่นกับถูกคนต่างชาติมาครอบงำ เป็นเจ้าของธุรกิจใหญ่ ๆ มากมาย แม้แต่เจ้าของธุรกิจเล็ก ๆ ในกาดสดก็เป็นของชาวต่างชาติ สินค้าสดก็มาจากต่างชาติ ไม่เชื่อไปดูที่เขตผ่านแดนที่เชียงราย ตาก แม่ฮ่องสอนและภาคอีสานอีกมากมาย

    ตอบลบ

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์