วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

โรงหมู ไม่หมู สิทธิชุมชนคนแม่ทะ

จำนวนผู้เข้าชม IP Address

ครที่มีโอกาสไปนอนกินลม ชมวิว ที่โรงแรมสวนสามพราน ริเวอร์ไซด์ ริมแม่น้ำท่าจีน แถวอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ไม่ได้แค่กินลม ชมวิว เท่านั้น หากยังได้ดมกลิ่น จากโรงเลี้ยงหมู ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม เต็มปอด เพราะนครปฐมได้ชื่อว่าเป็นนครหลวงของการเลี้ยง ฆ่า บริโภค เจ้าอู๊ดอี๊ดนี้ก็ว่าได้

“ม้าสีหมอก” ไปนอนที่สามพราน ริเวอร์ไซด์ คราวใด ต้องปิดประตูด้านริมน้ำมิดชิด ค่าที่กลิ่นสาบหมูอบอวลไปทั่วบริเวณ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่คนแม่ทะ จังหวัดลำปาง จะลุกขึ้นมายืนยันสิทธิชุมชนของเขา ที่จะไม่ให้สิ่งแปลกปลอม เช่น โรงฆ่าหมูมาตั้งในพื้นที่ของเขา

คนเขาอยู่สงบสุขมาชั่วนาตาปี วันดีคืนดี มีโรงฆ่าหมูมาตั้งใกล้บ้าน มาแย่งทรัพยากร มาแย่งน้ำ แล้วเพิ่มบรรยากาศที่คละคลุ้งไปด้วยกลิ่นหมู ผสมกับมลภาวะจากโรงงานมันสำปะหลังที่ตั้งมาก่อน เป็นใครก็ยอมไม่ได้

สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต ก็ได้ความจริง จากบทความนี้ ที่พูดถึงโรงฆ่าหมู หรือโรงฆ่าสุกร ซึ่งส่งผลต่อผู้คนที่อยู่รายรอบ น่าสนใจ โดยเฉพาะที่เขาพูดถึงน้ำ เรียกว่าเป็นโรงฆ่าสุกร ที่ผลิตน้ำเน่าเสียมากที่สุด สุกรหนึ่งตัวจะเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสีย ระหว่าง 300 – 500 ลิตร

โดยทั่วไปน้ำเสียจากโรงฆ่าสุกรจะมีลักษณะคล้ายๆกัน กล่าวคือจะมีความสกปรกทั้งในรูปของไขมัน น้ำมัน และสารอินทรีย์ปนเปื้อนอยู่ในปริมาณสูง ถ้าหากมีการระบายน้ำเสียที่ยังมิได้ทำการบำบัดความสกปรกเหล่านี้ก่อนลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยตรง ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ และประชาชนที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำนั้นๆอย่างมาก

หรือหากโรงงานมีการบำบัดน้ำเสียที่ไม่เหมาะสม ก็ยังจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นจากระบบบำบัดส่งผลกระทบต่อชุมชนข้างเคียง ขณะเดียวกันปัญหากลิ่นเหม็นอีกส่วนหนึ่งมักเกิดจากการตกค้างของของเสียที่เป็นของแข็ง เช่น ขน เศษหนัง และเศษกระดูก เป็นต้น หรือมีการกำจัดอย่างไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล

โรงฆ่าสุกรทั่วประเทศประมาณ 667 แห่ง มากกว่าร้อยละ 95 เป็นโรงงานที่มีขนาดเล็กที่ยังขาดการจัดการด้านของเสีย และน้ำเสียอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล โรงฆ่าสัตว์เหล่านี้มักก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ผลการสำรวจโรงงานฆ่าสุกรที่ขึ้นทะเบียนกับโรงงานอุตสาหกรรม 3 โรงงานพบว่าโรงงานทั้งหมดดำเนินการฆ่าสุกร มีกำลังผลิตประมาณ 300-400 ตัวต่อวัน ของเสียที่เกิดขึ้นในโรงงานมีทั้งของเสียที่เป็นของแข็ง เช่น มูลสัตว์ เศษเล็บ เศษอาหารในกระเพาะ ขน และเศษหนัง

และของเสียส่วนที่เป็นของเหลว ซึ่งเป็นน้ำเสียจากกระบวนการผลิตทั้งหมด ตั้งแต่ขั้นตอนการรับและการฆ่า การลวกและถอนขน การแยกเครื่องในและการตัดแต่ง รวมทั้งน้ำทิ้งจากการล้างพื้นโรงงาน

ในส่วนของการจัดการของเสียที่เป็นของแข็ง โรงงานยังคงมีปัญหาด้านการกัดขนและเล็บสุกร ซึ่งปัจจุบันไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆได้ ในด้านการจัดการน้ำเสียจะใช้วิธีบำบัดที่ประกอบด้วยการบำบัดน้ำเสียขั้นต้นก่อน โดยใช้ตะแกรงกรองแล้วจึงติดตามด้วยการบำบัดน้ำเสียขั้นทุติยภูมิ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบบ่อหมักติดตามด้วยบ่อเติมอากาศ และบ่อผึ่ง สำหรับการกำจัดน้ำทิ้งที่ผ่านระบวนการบำบัดแล้ว โรงงานส่วนใหญ่จะนำกลับมารดต้นไม้ภายในโรงงาน

จากบทความนี้ เขาพูดถึงปัญหาโรงงานขนาดเล็ก ที่แม่ทะ เป็นโรงงานของ ซีพีเอฟ หรือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ซึ่งซีพีเอฟมีแผนจะทำโรงเชือดหมูทั้งที่ลำปาง และกำแพงเพชรในปีนี้ เงินลงทุนแห่งละราว 100 ล้านบาท ถ้าเป็นซีพีเอฟ คงมีคำอธิบายได้ว่า โรงฆ่าหมูของเขา จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างไร

แต่ก็ไม่ได้แปลว่า เจ้าของพื้นที่จะไม่มีสิทธิที่จะคัดค้าน ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นมาในชุมชนของเขา ถึงแม้โรงฆ่าหมูจะไม่ก่อผลกระทบต่อชุมชนเลยก็ตาม


(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1176 วันที่ 27 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2561)

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์