วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561

งานฤดู...หนาว

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

บรรยากาศของงานฤดูหนาวและกาชาดจังหวัดลำปาง ประจำปี 2562 วันที่ 14-23 ธันวาคม 2561 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปก็ยังคงกลายเป็นตำนาน งานปาโป่งและเรื่องราวของปัญหาการเก็บค่าจอดรถ ทุกปีไม่มีเปลี่ยนแปลง ซึ่งเรื่องหนี้หน่วยงานจังหวัดที่มีอำนาจทั้งงบประมาณและการบริหารจัดการ ก็ยังคงต้องรับหน้าและมึนกับการแก้ปัญหาแบบหูทวนลมกันไปอีกปี

ปัญหาที่น่าตกใจที่ใครอาจไม่คาดคิดคือเรื่องความสะอาด สุขอนามัยของการปรุงอาหารขายภายในงาน เนื่องจากเป็นงานขนาดใหญ่ที่ไม่มีจุดซักล้าง และปรุงอาหารเป็นการเฉพาะเหมือนงานแฟร์อื่นๆที่มีมาตรฐาน โดยผู้ประกอบการร้านค้าอาหาร ก็หาน้ำล้าง และปรุงอาหารกันตามสภาพจะเรียกว่าตามมีตามเกิดก็ไม่น่าผิด  เท่าที่เดินสำรวจดูแต่ละร้านค้าก็น่าตกใจ ว่าเอาเอาน้ำถังที่สั่งซื้อจากบริษัทขายน้ำถังไว้ปรุงอาหาร เพียงแค่ 1-2 ถัง บางรายเห็นเป็นถังน้ำหิ้วแบบแกลลอนขนาดใหญ่ คำถามคือ แล้วน้ำเหล่านั้นคือ น้ำจากไหนที่เขานำมาใช้ปรุงอาหาร

อีกส่วนหนึ่งคือ การใช้สารปรุงแต่งอาหาร แบบผสมสีและวัตถุดิบผสมอาหารนั้นปลอดภัยตามหลักสาธารณสุขแค่ไหน นั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีมาตรฐานในการตรวจสอบ และได้เข้ามาตรวจสอบกันหรือไม่  เพราะเวลามีงานขายสินค้าโอทอป เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจอาหารและตรวจพื้นที่จัดวางทุกกระเบียดนิ้ว แต่ผู้ประกอบการรถเร่ที่มาเป็นคาราวานกับกลุ่มจัดงานตลาดนัดและงานวัด งานฤดูหนาวทั้งหลาย เคยมีใครตรวจสอบบ้างหรือไม่???

ในงานปีนี้มีความไม่น่ารักหลายจุด จนชาวเนตลำปางบ่นกันจนเป็นเรื่องเป็นราวหลายประเด็น แต่เรื่องผลประโยชน์ของการเก็บค่าเช่าพื้นที่ในงานนั้น ดูจะแรงเป็นประเด็นหลัก

จากการสอบถามค่าเช่าร้านเต็นท์รอบสนามกีฬา สนนราคาก็ 30,000 บาท ส่วนรถเข็นเร่ที่จอด ขายลูกชิ้น นกกระทาทอด  ขนมไข่ ผัดไทยทั้งหลายที่มาเป็นราคาวาน เช่าเหมารายละ 3-4 พันบาท ส่วนจะเลือกจอดที่ไหนก็ ตามใจชอบ 

มีร้านรถเข็นบางรายมาจอดแถวใกล้กาชาด โซนนิทรรศการ บังหน้าร้านนิทรรศการหน่วยงานราชการแบบไม่แยแส จอดแทรก เป็นอาหารของทอด มีกระทะชุบแป้ง เตาทอด เลอะเทอะ ติดกันพื้นที่นิทรรศการ ไม่มีใครไปจัดการกับเขาได้เพราะอ้างว่า “ฉันจ่ายค่าที่แล้ว”

สิ่งที่เกิดขึ้นชี้ให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรมของการบริหารเงินและพื้นที่ โดยมีผลประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรม

ในงานฤดูหนาวทั้งงานหาถังขยะจุดทิ้งขยะได้น้อยมาก ระบบจัดการขยะเข้าขั้นแย่ ผลประโยชน์ที่จัดสรรกับบริษัทผู้ประมูลพื้นที่ น่าจะมีกรอบข้อตกลงเรื่องความสะอาด และความเป็นระเบียบแผงลอย ห้ามล้ำแนวเขตที่เหมาะสม เพราะร้านแผงลอยเหล่านี้ล้วนมาจากต่างถิ่น เอาเปรียบร้านค้าคนลำปาง ที่ต้องหลบไปอยู่ในโซนนิทรรศการและโอทอป ทำเลที่กำหนด จะขายสู้ ร้านแผงลอยที่เข็นจอดไปทั่วได้อย่างไร

ระบบการจัดพื้นที่งานที่เอื้อประโยชน์ ให้กับพ่อค้าแผงลอยคาราวานต่างถิ่น มากกว่าร้านค้าของคนลำปาง  อันนี้ต้องกลับมาทบทวนว่า งานนี้เอื้อประโยชน์ใคร ..กันแน่

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1211 วันที่ 28 ธันวาคม 2561 - 10 มกราคม 2562)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์